ขาดทักษะ EF ชีวิตขาดคุณภาพและอายุสั้น

โดย | 24 มกราคม 2018 | EF สำหรับพ่อ-แม่

[vc_row][vc_column][vc_column_text]งานวิจัยที่ชี้ว่า คุณภาพชีวิต สุขอนามัย อายุขัย ฯลฯ ของคนเราล้วนเป็นผลมาจากระดับทักษะ EF ในด้านการกำกับควบคุมตัวเอง (Self-Regulation) ทั้งสิ้น 

ดร.รัสเซล เอ บาร์กเลย์ (Russell A. Barkley) นักจิตวิทยาได้ชี้ว่า ความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขอนามัย สาธารณสุข ฯลฯ ทำให้มนุษยชาติมีอายุยืนยาวนานนั้น ล้วนเป็นการพัฒนาที่ต้องอาศัยทักษะ EF ในด้านการกำกับควบคุมตัวเอง (Self-Regulation) ทั้งสิ้น

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขอนามัย การเจ็บไข้ได้ป่วย อุบัติเหตุ ฯลฯ ทำให้ผู้คนตัดสินใจเลือกได้ว่าจะมีวิถีชีวิตแบบไหน จะสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เสพยา ไม่ออกกำลังกาย กินอาหารตามใจปาก ขับรถแบบไม่บันยะบันยัง ใช้ชีวิตแบบเสี่ยงหรือไม่ ซึ่งการคิดไตร่ตรองก็ดี การตัดสินใจเลือกใช้ชีวิตก็ดี รวมถึงความเข้าใจในผลที่จะตามมาก็ดี ต้องใช้ทักษะความสามารถในการกำกับควบคุมตนเอง ซึ่งทักษะนี้จะส่งผลต่อสุขภาพและอายุขัยของคนเรา[/vc_column_text][vc_single_image image=”9662″ img_size=”full”][vc_column_text]Barkley ยังชี้ให้เห็นว่า ทักษะความสามารถ EF นั้นสัมพันธ์โดยตรงกับการมีจิตสำนึก สติรู้ตัว รู้จักพิจารณาไตร่ตรองถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่นก่อนลงมือทำโดยมีงานวิจัยที่เขายกมาสนับสนุนดังนี้

ระดับการมีจิตสำนึก สติรู้ตัวสำนึกรู้ตัว ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพและอายุขัยของคนเรา (Friedman et al.,1995)
ผู้ใหญ่ที่เป็นสมาธิสั้นซึ่ง EF บกพร่องอย่างเห็นได้ชัด มีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากกว่าคนธรรมดาถึง 2 เท่า (Swensen et al.,2004)
เด็กที่ขาดการยับยั้งชั่งใจสูง (ที่มีปัญหาพฤติกรรมด้วย) มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตและมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าเด็กที่มีการยับยั้งชั่งใจสูงถึง 1 เท่าตัว (Jokela, Ferrie, & Kivimaki, 2009)
มีการทำวิจัยติดตามเด็กที่มีสติปัญญาดีมากไปตลอดช่วงชีวิตของเด็กเหล่านั้น และพบว่า การมีสติรู้ตัวต่ำในช่วงวัยเด็กมีผลให้อายุสั้น งานวิจัยระยะยาวนี้ (Friedman et al.,1995) ชี้ได้ว่า บุคคลที่ถูกระบุว่าอยู่ในกลุ่มที่มีความยับยั้งชั่งใจต่ำมากในวัยเด็ก จะมีอายุสั้นกว่าเด็กที่มีความยับยั้งชั่งใจสูงโดยเฉลี่ย 8 ปี การเสียชีวิตในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ โรคหลอดเลือดหัวใจหรือมะเร็ง เนื่องจากคนที่ขาดจิตสำนึกสติรู้ตัว ขาดการยับยั้งชั่งใจ จะปล่อยให้วิถีชีวิตของตนเองเป็นไปตามความอยากหรือแรงกระตุ้นเร้า คนกลุ่มนี้จึงมักมีพฤติกรรมติดเหล้า สูบบุหรี่ ไม่คุมน้ำหนัก ไม่ออกกำลังกาย ไม่จัดการกับโคเลสเตอรอล เป็นต้น ทั้งๆ คนกลุ่มนี้เป็นเด็กที่มีสติปัญญาดีมาก และมาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมดี

Ref : Barkley, 2011a; Barkley & Fischer, 2011; Barkley & Murphy,2010,2011[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]

“คนที่มีสติรู้ตัวในช่วงวัยเด็กต่ำมักจะมีอายุสั้น แม้ว่าเด็กคนนั้นจะมีสติปัญญาดีมาก และมาจากครอบครัวที่มีฐานะดีก็ตาม”

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]