สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกห่างไกลสิ่งเสพติด

งานวิจัยชี้ว่าสมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ทำหน้าที่ยับยั้งการเข้าหายาเสพติดโดยควบคุมความคิดและการกระทำ (Cognitive Control) ยับยั้งไม่ให้ตอบสนองออกไปตามความต้องการ รู้จักคิดว่าสิ่งไหนไม่ดี ยับยั้งไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดี
การที่คนเราจะติดสิ่งเสพติดต่างๆ ไม่ว่า เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ติดเกม ฯลฯ เป็นเพราะไม่สามารถต้านทานสิ่งเร้านั้นๆ ไม่สามารถยับยั้งความอยาก ความต้องการที่จะทำสิ่งนั้นซ้ำๆ ได้ ทั้งๆ ที่ทุกคนรู้ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี ทำไมบางคนถึงห้ามใจไม่ลองไม่แตะได้ และทำไมบางคนถึงหักห้ามใจไม่ได้
รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้าน Executive Functions จากศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดลชี้ว่า เป็นเพราะสมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ของแต่ละคนทำงานไม่เท่ากันสมองส่วนนี้ทำหน้าที่ยับยั้งการเข้าหายาเสพติด โดยควบคุมความคิดและการกระทำ (Cognitive Control) ยับยั้งไม่ให้ตอบสนองออกไปตามความต้องการ รู้จักคิดว่าสิ่งไหนไม่ดี ยับยั้งไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดี

จากการรวบรวมผลวิจัยจากต่างประเทศ รศ.ดร. นวลจันทร์ พบว่า

การศึกษาจากภาพถ่ายสมองและอาการทางคลินิก แสดงให้เห็นว่ามีความบกพร่องในการทำงานของสมองส่วนหน้าในผู้ที่ติดยาเสพติด
ความบกพร่องในการทำงานของสมองส่วนหน้าทำให้ไม่สามารถยับยั้งความคิดและการกระทำ (Inhibition) ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกขั้นตอนของการติดยาเสพติด ตั้งแต่ทำให้ตนเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ทดลองใช้ยา ใช้ซ้ำจนติด รวมทั้งการกลับไปใช้ใหม่
ความบกพร่องของ EF ด้านนี้เป็นสาเหตุของการติดสารเสพติด

หากคุณพ่อคุณแม่ส่งเสริมให้ลูกมีทักษะ EF มีความยับยั้งชั่งใจตั้งแต่เล็กๆ จึงเท่ากับเป็นการสร้างเกราะคุ้มกันลูกจากสิ่งเสพติดทั้งหลายได้อย่างดีที่สุด

ความบกพร่องในการทำงานของสมองส่วนหน้าทำให้คนเราไม่สามารถยับยั้งความคิดและการกระทำ ทำให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการติดยาเสพติดตั้งแต่เข้าไปอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ทดลองใช้ยา ใช้ซ้ำจนติด รวมทั้งการกลับไปใช้ใหม่