ข้อควรรู้ที่สำคัญในการพัฒนาทักษะ EF

การศึกษาวิจัยกระบวนการพัฒนาทักษะ EF ในเด็กด้วยวิธีการต่างๆ 6 แบบ ได้แก่ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับเกมต่างๆ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ศิลปะการต่อสู้ การฝึกสมาธิ และวิธีการมอนเตสซอรี พบประเด็นสำคัญในการพัฒนาทักษะ EF หลายประการ
จากการศึกษาวิจัยกระบวนการพัฒนาทักษะ EF ในเด็กของ Dr.Adele Diamonds และ Kathleen Lee ด้วยวิธีการต่างๆ 6 แบบได้แก่ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับเกมต่างๆ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ศิลปะการต่อสู้ การฝึกสมาธิและวิธีการมอนเตสซอรี พบประเด็นสำคัญในการพัฒนาทักษะ EF หลายประการ ดังนี้ กิจกรรมที่ใช้พัฒนาทักษะ EF ต้องมีความท้าทายต่อเนื่องเพื่อให้เห็นการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น
ทักษะ EF สามารถพัฒนาได้แม้ในเด็กเล็กวัยเพียง 4-5 ปี โดยคุณครูที่ดูแลชั้นเรียนของเด็กและไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์แพงๆ.
การฝึกฝนทักษะ EF ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เหมาะกับเด็กวัย 8-12 ปีมากกว่ากับเด็ก 4-5 ปี
การฝึกทักษะ EF ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เห็นได้ชัดว่าจะช่วยพัฒนาความจำ Working Memory กับการใช้เหตุผลแต่ไม่ชัดว่าช่วยเรื่องการยับยั้งชั่งใจ (Inhibitory Control)
การออกกำลังกายทั่วไปไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะพัฒนาทักษะ EF นอกเสียจากจะเป็นการออกกำลังกายที่ใช้สมาธิจดจ่อ

หัวใจสำคัญของการฝึกทักษะ EF ให้เด็ก อยู่ที่เด็กจะต้องเต็มใจฝึก ตั้งใจจริงกับกิจกรรมฝึกนั้นมีการฝึกซ้ำๆ สม่ำเสมอจึงจะให้ผลดี ต้องไม่คาดหวังว่าเด็กเล็กๆจะนั่งทำกิจกรรมนั้นๆ ได้เป็นเวลานาน เพราะไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก และจะสร้างความเครียดให้ทั้งเด็กและครู
พบว่าในห้องเรียนที่มีการจัดการอย่างเหมาะสม เด็กและครูมีความสุข สนุกด้วยกัน มีสัมพันธภาพที่ดีในห้องเรียน จะส่งผลดีต่อการพัฒนา EF รวมทั้งผลการเรียนด้วย

 “การฝึกฝนทักษะ EF ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เหมาะกับเด็กวัย 8-12 ปีมากกว่ากับเด็ก 4-5 ปี”