ถอดบทเรียนความสำเร็จ อาจารย์ราชภัฏ สอนนักศึกษาปี 1 วิชา “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” ครั้งแรก เบิกบานทั้งอาจารย์และศิษย์

โดย | 23 กันยายน 2019 | ข่าว มรภ.

วันที่ 11-13 กันยายน 2562 ณ รอยัล  ริเวอร์แคว์ รีสอร์ท แอนด์สปา จ.กาญจนบุรี สถาบัน RLG ร่วมกับสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยการสนับสนุนของ สำนัก 4 สสส. ร่วมจัดกิจกรรมถอดบทเรียนความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนรายวิชา “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1ปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา มีตัวแทนอาจารย์จากคณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏจากภูมิภาคต่างๆ เข้าร่วมจำนวน  22  คน จาก 12 สถาบัน บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ ระหว่างคณาจารย์ และนักวิชาการปฐมวัยจากสถาบัน RLG และภาคี Thailand EF Partnership เป็นไปอย่างมีพลังและเบิกบาน สอนแบบใหม่ ใช้หลักการส่งเสริม EF ได้ผลลัพธ์เกินคาด

          อาจารย์ราชภัฏเปลี่ยนเป็น Active Teacher เกิดความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดี และมีทักษะ รวมทั้งมีความมั่นใจที่จะนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดต่อแก่นักศึกษาครูที่เรียนในรายวิชาของตน

อาจารย์ที่เข้าร่วมการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเรื่องทักษะสมองอีเอฟและหลักการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยก่อนการอบรม 94% ของอาจารย์ มีคะแนนความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด ถึงปานกลาง แต่หลังการอบรม 96% ของอาจารย์มีคะแนนความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับปานกลาง ถึง มากที่สุด

ในด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองแบ่งออกเป็นสามมิติ มิติที่หนึ่ง คือ ความเชื่อมั่นในความรู้ของตนเองเรื่องทักษะสมองอีเอฟและหลักการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง พบว่า ก่อนการอบรม 94% ของอาจารย์มีคะแนนด้านความเชื่อมั่นในความรู้ของตนเองอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง แต่หลังจากอบรมพบว่า 100% ของอาจารย์มีความเชื่อมั่นในความรู้ของตนเองอยู่ในระดับปานกลางไปถึงมาก และพบว่าไม่มีอาจารย์ท่านใดอยู่ในระดับน้อยเลย

ในมิติด้านความเชื่อมั่นในตนเองที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนในห้องเรียนตามหลักการบูรณาการสมองและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงพบว่า ก่อนการอบรม 60% ของอาจารย์คิดว่าตัวเองสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ในระดับน้อยจนถึงปานกลางแต่หลังจากการอบรมพบว่า 90% ของอาจารย์มีความเชื่อมั่นว่าตัวเองสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนได้อยู่ในระดับมาก

ในมิติที่สามคือการมองเห็นความสำคัญของวิชาชีพและความมุ่งมั่นที่จะฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพบว่าก่อนการอบรม 60% ของอาจารย์มีความมุ่งมั่นอยู่ในระดับน้อยจนถึงปานกลาง แต่หลังจากการอบรมพบว่า 91% ของอาจารย์มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก [vc_single_image image=”13854″ img_size=”full”]
กระบวนการสอนเปลี่ยน จาก Teacher Centered เป็น Child Centered ไม่ใช่ “ครูจะสอนอะไร แต่ใส่ใจว่านักศึกษาจะเรียนรู้อะไร” จากมุ่งสอนเนื้อหา เปลี่ยนเป็นมุ่งสร้างเจตคติ ให้เห็นคุณค่าตนเอง สิ่งที่เรียนรู้และผลที่จะเกิดกับเด็กปฐมวัย เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบ Active learning เปิดโอกาสให้นักศึกษาเป็นผู้เลือก มีส่วนร่วมในการสอน ให้ได้สะท้อน
นักศึกษาเปลี่ยน ได้พัฒนาคุณลักษณะ Active Learner เห็นความตื่นตัวในการเรียนรู้อย่างชัดเจน จากการได้คิด ได้วิเคราะห์ ได้มีส่วนร่วม มีความสุขในการเรียน ไม่สาย ไม่ขาด กระตือรือร้น กล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าสะท้อนความคิด กล้าทำ กล้าลอง-ไม่กลัวผิด มีเจตคติต่อตัวเองดีขึ้น เชื่อมั่นในตัวเอง เห็นศักยภาพ เห็นคุณค่าในวิชาชีพครู
ห้องเรียนเปลี่ยน เป็นห้องเรียนที่มีความสุขและมีวินัยที่เกิดจากตัวผู้เรียนเอง สอนได้ง่ายขึ้น กระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียนไหลลื่น
เครือข่ายปฐมวัยเข้มแข็ง ในสาขาการศึกษาปฐมวัยของสถาบันราชภัฏส่วนใหญ่ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น ทีมเวิร์คเข้มแข็ง สอนไปในทิศทางเดียวกัน มีการจัดการความรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่อเนื่อง  ผู้บริหารและครูในโรงเรียนเครือข่ายสนใจและมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา EF มากขึ้น ได้ตัวอย่างสื่อและกิจกรรมที่นักศึกษานำไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี
“สรุปได้ว่า เริ่มเกิดวิถี EF ขึ้นในระบบการผลิตครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏส่วนใหญ่แล้ว” [vc_row][vc_column width=”1/2″][vc_single_image image=”13856″ img_size=”large”] [vc_single_image image=”13855″ img_size=”large”]

Related Posts: