ทักษะสมอง EF คือ พื้นฐานของ “ทักษะในศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills)

โดย | 23 มกราคม 2018 | เกี่ยวกับ EF

คนรุ่นใหม่จะอยู่รอดและประสบความสำเร็จได้ ต้องมี ”ทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)  แต่เด็กๆ ของเราจะพัฒนาทักษะชุดนี้ขึ้นมาในตัวได้ ต้องมีทักษะสมอง EF ที่แข็งแรงเป็นพื้นฐาน

คนรุ่นใหม่ที่จะอยู่รอดและประสบความสำเร็จในยุคนี้จะต้องมีทักษะและความรู้สำคัญที่เรียกว่า “ทักษะในศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) อันประกอบไปด้วยทักษะพื้นฐาน 3Rs ทักษะในการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม 4Cs ทักษะด้านสารสนเทศ ทักษะชีวิตและทักษะทำงาน

การสร้างทักษะดังกล่าวให้แข็งแรงได้จะต้องมีกระบวนวิธีพัฒนาที่ดีมาตั้งแต่ต้นและตลอดช่วงอายุ 0-6 ปี เด็กต้องฝึกตั้งแต่เล็กอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นทักษะ

การท่องจำ จดแล้วสอบ แบบที่ว่า “จดแล้วท่อง ท่องแล้วจำ จำแล้วสอบ สอบแล้วลืม” ไม่สามารถสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้แข็งแรงได้ การฝึกฝนทักษะสมอง EF เช่น การฝึกความยั้งคิด ไตร่ตรอง การฝึกความอดทนอดกลั้น การฝึกความมุ่งมั่นพากเพียร หรือควบคุมอารมณ์ ล้วนเป็นพื้นฐานเพื่อการสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ทั้งสิ้น
ทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ประกอบไปด้วย
ทักษะพื้นฐาน 3Rs ได้แก่ การอ่านออก (Reading) เขียนได้ (Writing) คิดเลขเป็น (Arithmetic)
ทักษะในการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม 4Cs ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking Skill) เข้าใจความซับซ้อนอย่างเป็นระบบ หาทางแก้ไขได้การสื่อสาร (Communication Skill) สามารถสร้างการสื่อสารและสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น การร่วมมือ (Collaboration Skill) รู้จักเอื้อเฟื้อ รู้นำ-รู้ตามเคารพคนอื่น การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity skill) ต้องอาศัยความคิดใหม่ๆ หรือการคิดนอกกรอบ
ทักษะด้านสารสนเทศ (Information Skill) สามารถแยกแยะและเข้าถึงข้อมูล ประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อ (Media Skill) รู้เท่าทันสื่อ แยกแยะและใช้ประโยชน์ และสื่อสารของตนเองออกไปได้ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Technology Skill) สามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างชำนาญและเหมาะสม [vc_single_image image=”9597″ img_size=”full”] ทักษะชีวิตและทักษะทำงาน มีความยืดหยุ่นและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ รู้จักพลิกแพลง หาทางใหม่ไม่ยึดวิธีเดิมๆ ริเริ่มลงมือและการกำกับทิศทางตนเอง เมื่อคิดแล้วต้องกล้าริเริ่ม ลงมือทำเลยแม้จะไม่เคยทำมาก่อน  มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและข้ามวัฒนธรรม สามารถเปิดใจกว้าง ยอมรับและอดทนกับความแตกต่างได้ สร้างผลิตภาพและตรวจสอบได้ ทำงานมีประสิทธิภาพโปร่งใส มีภาวะผู้นำและความรับผิดชอบกล้านำกล้าตาม [vc_single_image image=”9598″ img_size=”full”] การจะสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้แข็งแรงได้ เด็กต้องฝึกอย่างต่อเนื่อง เช่น จะมีทักษะ “ร่วมมือ” กับผู้อื่นได้ดี ต้องเคยทำกิจกรรมกับผู้อื่น มีประสบการณ์ร่วมกัน เช่น แก้ปัญหา ทะเลาะขัดแย้งและคืนดีกันได้ ถ้าเด็กๆ ได้รับโอกาสเรียนรู้ทักษะ EF รอบด้านตั้งแต่เด็ก จะมี “ทักษะเพื่อศตวรรษที่ 21” แน่นอน

Reference : P21, the Partnership for 21st Century Learning,www.p21.org

จดแล้วท่อง ท่องแล้วจำ จำแล้วสอบ สอบแล้วลืม” ไม่ช่วยให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น