ปฐมวัย วัยทองของการพัฒนาทักษะ EF

โดย | 24 มกราคม 2018 | EF สำหรับพ่อ-แม่

ในช่วงปฐมวัย(แรกเกิด-6 ปี)เป็นวัยทองของการพัฒนาทักษะ EF ที่พ่อแม่และครูอนุบาลจะต้องช่วยเด็กในวัยนี้ให้พัฒนาทักษะ EF เพื่อให้เด็กมีความพร้อมกับการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป

“มีงานวิจัยจากการประเมินผลของโครงการ Chicago School Readiness ชี้ว่า ทักษะ EF ของเด็กที่พัฒนาในช่วงวัยอนุบาล สามารถทำนายถึงความสำเร็จในวิชาคณิตศาสตร์และการอ่านในเวลาอีก 3 ปีต่อมา ยิ่งไปกว่านั้น ทักษะ EF ยังแสดงถึงความพร้อมในการเข้าเรียนได้ดีกว่าการวัด IQ ของเด็ก

ทักษะ EFในเด็ก ไม่ว่าการมีสมาธิจดจ่อในงานที่ผู้ใหญ่มอบหมายให้ การวางแผน การจัดการทำงาน
ให้เสร็จ การยับยั้งชั่งใจ ในเด็กล้วนเป็นทักษะชุดเดียวกับที่ผู้ใหญ่เราใช้ในอาชีพการทำงาน การดำเนินความสัมพันธ์ในชีวิตให้เป็นสุข และการจัดการกับความเครียด

จากงานวิจัยหลากหลาย ทำให้เป็นที่ยอมรับกันว่า ทักษะ EF หรือExecutive function–เป็นทักษะการบริหารจัดการชีวิต ที่เป็นรากฐานสำคัญในการเตรียมเด็กให้มีความพร้อมก่อนเข้าเรียน และเกี่ยวข้องกับผลการเรียนในโรงเรียนระดับประถมรวมทั้งช่วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดียิ่งกว่าการมี
ไอคิวสูง เพราะเด็กจะเรียนรู้สิ่งที่คุณครูต้องการให้เรียนรู้ได้ดี เด็กต้องนั่งนิ่งๆ เป็น และตั้งใจฟังคุณครู ซึ่งตรงนี้สำคัญกว่าไอคิว เพราะถ้าเด็กนั่งนิ่งไม่ได้ และไม่ตั้งใจฟังครู แม้จะมีไอคิวสูงก็ไม่ช่วย
ให้เกิดการเรียนรู้ได้”

Ref : , Diana MendleyRauner, Make ‘executive function’ a priority in early education policy / May 30, 2012, catalyst-chicago.org ,Catalyst::Indenpendent Reporting on Urban SchoolsCatalyst Chicago

“ปฐมวัย(แรกเกิด-6 ปี)วัยทองของการพัฒนาทักษะ EF”