วิธีช่วยเหลือเด็กให้ลดอารมณ์และการแสดงออกที่ก้าวร้าวรุนแรง

โดย | 25 มกราคม 2018 | EF สำหรับพ่อ-แม่

เด็กเล็กๆ ยังไม่มีทักษะในการจัดการอารมณ์ตนเอง จึงแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่สร้างปัญหาให้กับตนเองและผู้อื่น ผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมเด็ก ไม่ว่าพ่อแม่หรือคุณครูมีบทบาทในการสอนเด็กให้รู้จักควบคุมอารมณ์และแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม
เด็กเล็กๆ ยังไม่มีทักษะในการจัดการอารมณ์ตนเอง จึงแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่สร้างปัญหาให้กับตนเองและผู้อื่น
ผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมเด็ก ไม่ว่าพ่อแม่หรือคุณครู มีบทบาทในการสอนเด็ก ให้รู้จักควบคุมอารมณ์ และแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ที่คุณครูค่อยๆ ช่วยเหลือเด็กให้ลดอารมณ์และการแสดงออกที่รุนแรง มีการควบคุมอารมณ์และกำกับตนเองดีขึ้น [vc_single_image image=”9687″ img_size=”full”] เด็กชายวัยอนุบาลคนหนึ่งเป็นเด็กที่ชอบเล่นแรงๆ ทำอะไรรุนแรง จนเพื่อนไม่อยากเล่น คบหาด้วย ซึ่งเด็กก็ไม่รู้ตัวว่าตนทำอะไรผิด คุณครูจึงช่วยเหลือ ด้วยการฝึกเด็กคนนี้ให้มีบทบาทเป็นผู้ให้ โดยในช่วงกลางวันทุกวัน ให้เด็กช่วยคุณครูยกตะกร้าแก้ว จัดจานข้าว ถ้วยน้ำซุป แก้วน้ำวางบนโต๊ะอาหารของเพื่อนๆ ทั้งหมด ระหว่างที่เขาช่วยเหลือคุณครู มีความใกล้ชิดกับคุณครู คุณครูก็ฉวยโอกาสคอยบอกคอยสอนเด็กให้ทำอย่างประณีต ใจเย็น วางข้าวของเบาๆ พอช่วงบ่ายก็ให้หยิบกระเป๋าในตะกร้าให้เพื่อน โดยให้หยิบ
ทีละใบ และคอยบอกให้ทำอย่างช้าๆ ใจเย็นๆ เพื่อช่วยฝึกอารมณ์เขาให้อ่อนโยนขึ้นและคอยสอนให้พูดจาอ่อนโยนมากขึ้น คอยชื่นชมเมื่อเขาได้ทำงานช่วยเหลือผู้อื่นและทำดี
การฝึกนี้ได้ทำควบคู่ไปกับการฝึกที่บ้าน ซึ่งคุณครูได้ขอความร่วมมือให้ฝึกในทำนองเดียวกัน ในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไป เด็กคนนี้ก็มีการแสดงออกทางอารมณ์และบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป มีอารมณ์เย็นลง มีความนุ่มนวลมากขึ้น ทุกครั้งที่ทำผิด ก็เริ่มมีสีหน้าที่สำนึกผิด
ที่จริงไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่เด็กวัยนี้ จะมีอารมณ์และพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง เพราะเป็นวัยที่เด็กต้องการแสดงออกทางอารมณ์ และความรู้สึกนึกคิดอย่างอิสระ รวมทั้งอาจได้แบบอย่างมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น สื่อต่างๆ ซึ่งพ่อแม่มักปล่อยให้ลูกอยู่กับสื่อมากเกินไปคุณพ่อคุณแม่ ควรเบี่ยงเบนลูกให้ไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่มีความสุนทรีย์และอยู่กับธรรมชาติ เช่น ให้วาดรูป เล่นดนตรี ฟังเพลงร้องเพลง ปลูกต้นไม้ เล่นออกกำลังกายกลางแจ้ง เป็นต้น จะช่วยปรับอารมณ์ลูกให้อ่อนโยนขึ้นได้

เด็กเล็กๆ ยังไม่มีทักษะในการจัดการอารมณ์ตนเอง จึงแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่สร้างปัญหาให้กับตนเองและผู้อื่น ผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมเด็กไม่ว่าพ่อแม่หรือคุณครูมีบทบาทในการสอนเด็กให้รู้จักควบคุมอารมณ์และแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม