งานแถลงผลโครงการวิจัย ผลการใช้เครื่องมือ EF Guideline ต่อทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จในเด็กปฐมวัย และการวิจัยเชิงปฏิบัติการวิพากษ์เพื่อการพัฒนาทักษะการสอนของครูปฐมวัยด้วยเครื่องมือ EF Guideline

โดย | 17 มีนาคม 2018 | News

ทักษะสมอง EF- Executive Functions คือ กระบวนการทำงานของ สมองระดับสูง ที่ประมวล ประสบการณ์ในอดีต และ สถานการณ์ในปัจจุบัน มาประเมิน วิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผน เริ่มลงมือทำ ตรวจสอบตนเอง และแก้ไขปัญหา ตลอดจนควบคุมอารมณ์ บริหารเวลา จัดความสำคัญ กำกับตนเอง และมุ่งมั่นทำ จนบรรลุ เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ (Goal – Directed Behavior) (Thanasetkorn P., 2012)

EF เป็นศักยภาพที่มนุษย์ทุกคนมีมาแต่กำเนิด แต่ต้องได้รับการฝึกฝนต่อเนื่อง จนพัฒนาก่อรูปเป็นโครงสร้างกระบวนการทำงานในสมอง ซึ่งจะคงอยู่จนเป็นบุคลิกภาพของบุคคลนั้นไปตลอดชีวิต และช่วงเวลาที่ดีที่สุดช่วงหนึ่งในการฝึกฝน EF คือช่วงปฐมวัยโดยเฉพาะวัย 3-6 ปี

 

การส่งเสริม EF ที่ได้ผล คือการดูแลให้เด็กได้รับโภชนาการ การนอนหลับพักผ่อน และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับความต้องการของวัยเพื่อสร้างสภาวะของสมองที่แข็งแรงสมบูรณ์ และได้รับโอกาสฝึกฝนเรียนรู้ในประสบการณ์ของชีวิตประจำวัน ที่บ้าน ที่โรงเรียน ด้วยการให้เด็กได้เรียนรู้แบบ Active Learning ได้เรียนรู้อยู่กับเพื่อนและสังคม ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลต่อภาวะจิตใจที่เบิกบาน เกื้อกูลต่อการคิดค้นสงสัยใคร่รู้ โดยมีสัมพันธภาพเชิงบวกระหว่างเด็กกับผู้ดูแล ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ครู หรือผู้ดูแลอื่นๆ เป็นภาวะแวดล้อมพื้นฐานที่สร้างความผูกพันที่ไว้วางใจ


ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม คลิก

Related Posts: