สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ความรู้ชุด : ความผูกพันไว้ใจ #3

คุณภาพความผูกพันส่งผลจนตลอดชีวิต

ประสบการณ์แรกในชีวิต เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กจะรับรู้และเรียนรู้ว่า ชีวิตเป็นอย่างไร โลกนี้เป็น อย่างไร เด็กที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่ หรือยิ่งไปกว่านั้นคือ พ่อแม่กลายเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัย ด้วยการ แสดงอาการก้าวร้าว ไม่ว่าจะเป็นทางกาย ทางวาจา หรือ แม้กระทั่งแสดงออกทางสีหน้าและภาษากายที่ทำให้เด็ก รู้สึกกลัว และไม่ปลอดภัย เด็กก็จะพัฒนารูปแบบของความผูกพันที่ไม่ปลอดภัยกับพ่อแม่และผู้คนรอบข้าง

ความรู้สึกไม่ปลอดภัยที่ติดอยู่ในใจเด็ก นำไปสู่พฤติกรรมที่มักก่อปัญหาตามมา เช่น การไม่สามารถระงับ ความต้องการหรืออารมณ์ของตนได้ แสดงออกอย่างรุนแรงหรือก้าวร้าวเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ หรือ เพื่อให้มั่นใจว่า ความต้องการของตนมีคนใส่ใจ มีความวิตกกังวลไม่ว่าพ่อแม่จะอยู่หรือไม่ หรือ แม้แต่กลัวพ่อแม่ กลัวผู้คนหรือกลัวทุกสิ่ง ความรู้สึกไม่มั่นคงและรูปแบบความผูกพันที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งได้รับตั้งแต่เล็กจะติดตามเราไปตลอดจนเป็น ผู้ใหญ่ ทำให้เราไม่ไว้วางใจคน รู้สึกว่าการมีชีวิตอยู่ในโลกใบนี้ไม่ปลอดภัย วิตกกังวล ระแวง ทำให้ยากที่จะมี ความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น ซึ่งรวมไปถึงความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกๆ ของตนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

ในการศึกษาประสบการณ์ในวัยเด็กที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2538 ถึง 2540 โดยศูนย์ควบ คุมและป้องกันโรค และบริษัทดูแลสุขภาพ Kaiser Permanente ได้สัมภาษณ์คน จำนวนกว่า 15,000 คนเกี่ยว กับ ประสบการณ์ในวัยเด็ก เช่น การถูกละเลย ถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์และทางร่างกาย และอาศัยอยู่ในบ้านที่มี ปัญหา  การสัมภาษณ์ในงานวิจัยครั้งนี้เผยให้เห็นว่า คนที่สัมผัสประสบการณ์เชิงลบในวัยเด็ก มีความสามารถใน การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยกว่า คนเหล่านี้รับมือกับความท้าทายได้ยาก มีปัญหาสุขภาพมากกว่าและอายุขัย

สั้นกว่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประสบการณ์ในวัยเด็กที่เลวร้าย

ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจและตระหนัก ในความสำคัญของความผูกพันไว้ใจที่จะต้องสร้างให้กับเด็ก ตั้งแต่แรกเกิด จะช่วยให้พ่อแม่และผู้ใหญ่สามารถปกป้องเด็กจากภัยคุกคาม ทั้งทางร่างกายและทางอารมณ์ ความ สัมพันธ์ที่ดีจนเป็นความผูกพันไว้ใจ จึงไม่ใช่ประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องการอยู่ดีมีสุขของเด็กในวันที่เด็กยังเล็กเท่านั้น แต่ความรู้ ความเข้าใจและการเลี้ยงดูลูกหลานอย่างเข้าใจ ยังส่งผลกระทบถึงพัฒนาการตลอดช่วงชีวิตที่จะเกิดขึ้น กับเด็กในอนาคตด้วย

ในทางกลับกัน เด็กที่ผูกพันแน่นแฟ้นกับพ่อแม่ รู้สึกว่าตนเองเป็นที่รัก ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ ผู้ปกครอง จะเติบโตขึ้นด้วยประสบการณ์และการเรียนรู้ที่มีคุณค่า และเรียนรู้การสื่อสารที่ดี เด็กจะเรียนรู้จาก สิ่งที่ตนได้รับจากพ่อแม่  ความรักที่ได้รับและความเอาใจใส่ที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงให้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เด็กเกิด ความเชื่อมั่นว่า ความเดือดร้อนหรือความต้องการ (พื้นฐาน) ของตนมีคนได้ยิน และจะได้รับการตอบสนอง ความ ไว้เนื้อเชื่อใจจะทำให้เด็กสามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ รอคอยได้ ทำให้สมองได้เรียนรู้และได้พัฒนา ทักษะยับยั้ง ชั่งใจ พัฒนาความเข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สร้าง ครอบครัวและมีลูก ก็มีทักษะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกๆ ของตนได้ง่ายขึ้นมาก

เราแต่ละคนถูกเลี้ยงมาไม่เหมือนกัน บางคนเกิดมาแล้วได้รับความรักและความเอาใจใส่อย่างถูกต้องเต็มที่ แต่เราหลายคนอาจถูกเลี้ยงมาอีกแบบ จากสภาพครอบครัวที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประสบการณ์ใน วัยเด็กที่เราแต่ละคนได้รับมา อาจเป็นประสบการณ์ที่ไม่ดี เพราะเราถูกเลี้ยงดูมาแบบปล่อยปละละเลย แต่ก็ไม่ได้ หมายความว่าประสบการณ์ที่ได้รับนั้น จะเป็นตัวกำหนดชี้ชะตาเสมอไปว่า เราจะต้องเป็นพ่อแม่ที่ไม่ดีไปด้วย  ด้วย เหตุผลที่ว่า พ่อแม่ผู้ปกครองและทุกคนที่ดูแลเด็กสามารถเรียนรู้ธรรมชาติความต้องการ การเรียนรู้ พฤติกรรมของ เด็ก รวมถึงวิธีการและขั้นตอนต่างๆ เพื่อเริ่มสร้างสภาพแวดล้อม ที่สามารถพัฒนาสายสัมพันธ์อันมั่นคงกับลูกๆ ของเรา หรือเด็กๆที่เราดูแลได้

อ้างอิง
• Daniel J Siegel & Tina Payne Bryson, The Power of Showing Up: How Parent Presence Shapes Who Our Kids Become and How Their Brains Get Wired, Random House USA Inc, New York, United States, Jan 5,2021
• Louise Newman, Attachment and early brain development – neuroprotective interventions in infant–caregiver therapy, https://www.tandfonline.com/doi/full/10.3402/tdp.v3.28647, Dec 21 ,2015
• Yoo Cha Hong and Jae Sun Park, Impact of attachment, temperament and parenting on human development, https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3534157/, Dec 20,2012

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...