สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ความรู้ชุด : ความผูกพันไว้ใจ #5

ความเอาใจใส่สม่ำเสมอสร้างความรู้สึกปลอดภัย

ความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอของพ่อแม่ที่เด็กได้รับครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกปลอดภัยในหนังสือเรื่อง “พลังแห่งการปรากฏตัว” (The Power Of Showing Up) ของ แดเนียล เจ. ซีเกล และ ทีน่า เพน ไบร์สัน (Daniel J Siegel & Tina Payne Bryson) ได้เปรียบเทียบ ความรู้สึกปลอดภัยว่า เหมือนเรา มีหมวกกันน็อคและสนับเข่าในเวลาที่เล่นสเก็ตบอร์ด หมวกกันน็อคและสนับเข่าเป็นอุปกรณ์ป้องกันให้เรารู้สึก ปลอดภัย และมีความมั่นใจมากขึ้นในการเล่นสเก็ตบอร์ด ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะล้มได้เสมอ

การที่เด็กได้รับประสบการณ์ว่า “พ่อแม่มีอยู่จริง”ใน สถานการณ์ต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยเฉพาะในยาม ที่ตนเองเป็นเด็กเล็กที่ยังทำอะไรด้วยตนเองได้ไม่มาก ทำให้เด็กได้ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย มีความมั่นคงทางใจมากขึ้น

เมื่อต้องออกจากอกพ่อแม่ไปเผชิญโลกด้วยตนเอง ความรู้สึกปลอดภัยและเชื่อมั่นว่าท้ายที่สุด ปัญหาที่ตน เผชิญจะได้รับการแก้ไขนี้ จะส่งผลต่อสมองให้มีความสามารถยืดหยุ่น รอคอย ปรับเปลี่ยนวิธีได้อย่างผู้ที่มี ประสบการณ์ดี  ว่ามีคนที่รักและสนับสนุน มีความสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ไม่ได้เป็นคนที่โดดเดี่ยว เดียวดายในโลก ทำให้สามารถเอาชนะความเครียดที่ชีวิตจะต้องเผชิญ เรียนรู้เติบโตต่อไปได้เสมอ

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่พ่อแม่ต้องออมความสัมพันธ์กับลูก ด้วยการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ให้ความสนใจ ใส่ใจ ในทุกช่วงเวลาที่ลูกๆต้องการ ในทุกวันได้ฟังความในใจที่ลูกอยากเล่า ออกไปอยู่กับลูกและให้กำลังใจเวลาที่ ลูกต้องการ เช่น เมื่อลูกต้องไปโรงเรียนครั้งแรก เมื่อลูกต้องออกไปแสดงต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรก แล้วรู้สึก ประหม่า หรือ แม้แต่เมื่อลูกเป็นวัยรุ่นแล้วต้องรับมือกับอาการอกหัก รวมไปถึงช่วงเวลาที่พ่อแม่เองเป็นต้นเหตุ ทำให้ลูกไม่พอใจ ( ซึ่งมักเกิดขึ้นมากในช่วงเวลาที่ลูกเป็นวัยรุ่น) ทุกครั้งที่มีพ่อแม่อยู่เคียงข้าง เป็น เพื่อนที่ “วางใจได้” (ลองคิดถึงเพื่อนที่วางใจได้ของเรา ว่าเป็นคนแบบไหน เราจะเข้าใจลูกมากขึ้น) ให้ลูกรู้สึกได้ว่า ตนได้ รับความรักและการสนับสนุนจากพ่อแม่เสมอ

ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยนี้เองที่ช่วยให้เด็กๆเติบโตขึ้นมา ด้วยความพร้อมที่จะก้าวออกไปสู่โลกเพื่อสำรวจ และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยความมั่นใจ ว่าตนจะมีคนคอยช่วยเหลือเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น หากเจอกับสถานการณ์ ใหม่และเด็กจัดการได้เอง เด็กจะมีความมั่นใจและก้าวไปต่อ และหากเจอสถานการณ์ใหม่ๆแล้วไม่มั่นใจว่า ทำได้ หรือประสบความล้มเหลว เด็กก็ยังพบหนทางที่จะกลับเข้ามาพักพิงอยู่ในอ้อมแขนของพ่อแม่ได้เสมอ จนถึงวันที่ สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง

การที่จะทำให้ความผูกพันไว้ใจเกิดขึ้นกับลูก จนลูกรู้สึกได้ว่า “พ่อแม่พร้อมสำหรับลูกเสมอ” ในยามที่ลูก ยังเล็กนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่พ่อแม่ต้องพยายามรู้จักลูกของตนทั้งภายใน และภายนอก เพื่อตอบสนองความ ต้องการและลักษณะเฉพาะที่เด็กแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน พ่อแม่จำนวนไม่น้อยมักมีความหวังดีที่เริ่มจากความคิด ของตัวเองที่ต้องการปั้นลูกให้ประสบความสำเร็จตามแนวทางที่ตนเองเห็นว่าดี  ความปรารถนานี้ หากเริ่มจาก มุมมองของพ่อแม่เพียงอย่างเดียว จะกลายเป็นสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้พ่อแม่ได้รู้จักกับตัวตนของลูกจริงๆ และอาจจะ ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเด็กได้

อีกทั้งความคิดเห็นต่างๆที่พ่อแม่มีต่อลูก ล้วนมีอิทธิพลทำให้ลูกมีความคิดเห็นและมุมมองต่อตนเองที่อาจ บิดเบี้ยวไป เช่น การที่เด็กถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ เกิดอาการเบื่อหน่าย ไม่อยากทำ ทำแล้วผลงานออกมา ไม่ดี หรือทำออกมาแล้วได้คะแนนไม่ดี เมื่อถูกพ่อแม่ตำหนิ ว่าเกียจคร้านหรือไม่เก่ง  มีความเป็นไปได้สูงที่เด็ก จะมองตนเองเป็นเหมือนเช่นที่พ่อแม่บอก คือ คิดว่าตนเป็นคนขี้เกียจหรือไม่เก่ง

เพื่อให้เข้าใจลูกได้ดีขึ้นและมีความละเอียดอ่อนต่อความต้องการของลูกมากขึ้น พ่อแม่ควรใส่ใจ และใช้ เวลาในการสังเกตลูก และเมื่อทำการสังเกตเห็นอะไร ควรหลีกเลี่ยง “การตัดสิน” ว่าลูกเป็น อย่างนั้นหรือเป็น อย่างนี้ทันที ตามความรู้หรือตามสิ่งที่ได้ยินมา เพราะอาจจะทำให้พลาดโอกาสสำคัญในการเข้าใจลูกอย่างถูกต้อง และสนับสนุนศักยภาพที่ลูกมีอยู่อย่างเต็มที่

การสังเกตลูก เป็นเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่จะได้รับข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า สังเกตลูกให้ลึกลงไป และถามตัวเอง ว่า “ทำไม” ลูกของเราแสดงอาการแบบนี้ ทำแบบนี้ หรือมีพฤติกรรมแบบนั้น” แล้ว ค่อยๆหาคำตอบว่า “ลูกต้อง การอะไร” โดยไม่รีบตัดสินลูกว่า ดี หรือ ไม่ดี การเห็นและเข้าใจเด็ก อย่างแท้จริง ช่วยให้ตอบสนองต่อความ ต้องการ และช่วยให้ลูกรู้จักตนเองได้ง่ายขึ้น

การให้โอกาสลูกได้แสดงออกและได้เล่าให้พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ได้ฟังสิ่งที่ตนคิด จะช่วยพ่อแม่เป็นอย่างมาก ในการเรียนรู้บุคลิก ลักษณะ และโลกภายในของเด็ก ดังนั้น ในชีวิตแต่ละวันของทุกครอบครัวจำเป็นต้องมีการ จัดสรรเวลาในการพูดคุยกัน ไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ เล่าเรื่องราวที่สมาชิกแต่ละคนในบ้านได้ไปพบเจอมา ซักถาม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นกัน สร้างให้บ้านมีพื้นที่และเวลาในการคุยกัน อาจเป็นเวลาก่อนนอน ระหว่างทางไปรับลูกจากโรงเรียนกลับบ้าน หรือระหว่างทานอาหารเย็นด้วยกัน เป็นการสร้างโอกาสให้พ่อแม่ ได้เริ่มเข้าใจลูกๆ และเรียนรู้วิธีสนับสนุนเด็กๆให้ดีที่สุด และยังเป็นโอกาสให้พ่อแม่ได้ระแคะระคายเรื่องลึกๆ ที่ลูก ไม่อยากพูดในวง เพื่อนำไปสู่การปรึกษาหารือเป็นการส่วนตัวต่อไป การปลอบโยนเด็กที่อยู่ในความทุกข์ เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ถึงวิธีจัดการกับประสบการณ์ เชิงลบและอารมณ์ในอนาคต เด็กเล็กวัยเตาะแตะที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวหรือร้องไห้ หากถูกพ่อแม่หรือคนเลี้ยงลงโทษ ดุให้หยุดร้องหรือให้หยุดงอแง เด็กมักยิ่งอารมณ์เสียมากขึ้น และมักมีความคับข้องใจหรือความโกรธที่ตามมา ภายหลังอีก การปลอบโยนในยามที่อารมณ์ของลูกปะทุออกมา เป็นการบอกลูกว่าพ่อแม่ “แคร์” ความรู้สึกที่เกิด ขึ้น และเอาใจใส่ต่อความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจของลูก การปลอบโยนทำให้อารมณ์ของเด็กสงบลง ผ่อนคลายขึ้น ช่วยให้เด็กปรับตัว ได้ดีขึ้นและสามารถจัดการกับความทุกข์ของตนได้ดีขึ้นด้วย ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป ความรุนแรง ความยาว และความถี่ของการระเบิดอารมณ์จะลดลงเมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะปลอบตัวเอง

อ้างอิง
Daniel J Siegel & Tina Payne Bryson, The Power of Showing Up: How Parent Presence Shapes Who Our Kids Become and How Their Brains Get Wired, Random House USA Inc, New York, United States, Jan 5,2021
Hoffman et al, Robert Karen, Becoming Attached: First Relationships and how They Shape Our Capacity of love, Oxford University Press, April 23,1998
•Cory Turner, How To Help A Child Struggling With Anxiety, https://www.npr.org/2019/10/23/772789491/how-to-help-a-child-struggling-with-anxiety, Oct 29,2019

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...