สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ความรู้ชุด: สมองเด็กและเยาวชนกับการเสพติด #5

โปรแกรมป้องกันฯ แบ่งตามประเภทของระดับการเจาะเข้าหากลุ่มเป้าหมาย 

โปรแกรมครอบจักรวาล Universal programs: ออกแบบมาเพื่อประชากรทั่วไป เช่น สำหรับเด็กทุกคนในโรงเรียน

โปรแกรมคัดเลือก Selective programs:  ออกแบบเพื่อเจาะจงไปที่กลุ่มที่มีความเสี่ยง หรือเป็นส่วนหนึ่งของประชากรเสี่ยง เช่น เด็กในครอบครัวผู้ใช้ยา หรือเด็กนักเรียนที่มีผลการเรียนดีแต่ยากจน

โปรแกรมเจาะจง  Indicated programs: ออกแบบเพื่อคนที่มีประสบการณ์การใช้ยาโดยตรง

ส่วนโปรแกรมแบบที่เรียกว่า Tiered programs เป็นการรวมเอาทุกระดับมาไว้ในโปรแกรมเดียวกัน

ในครอบครัว

โปรแกรมป้องกันอาจจะเสริมพลังปัจจัยป้องกันแก่เด็กเล็ก  โดยการสอนให้ผู้ปกครองมีทักษะการสื่อสารที่ดีขึ้น  มีทักษะการสร้างวินัยที่เหมาะสมกับพัฒนาการแต่ละวัยของเด็ก และมีการบังคับใช้ที่หนักแน่นสม่ำเสมอ รวมทั้งมีทักษะการบริหารจัดการครอบครัว  ผู้ปกครองอาจมีการเรียนรู้เพื่อเพิ่มการสนับสนุนด้านอารมณ์จิตใจ สังคม การเรียนรู้และด้านวัตถุตามความเหมาะสมให้แก่ลูกๆ เช่น ดูแลด้านการเงิน การเดินทาง สุขภาพ และการบ้าน เป็นต้น  งานวิจัยยืนยันหนักแน่นว่า การที่ผู้ปกครองมีบทบาทใส่ใจกระตือรือร้นมากขึ้นในชีวิตของลูกจะเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่  โดยการพูดคุยกับลูกเรื่องยาเสพติด  คอยสนับสนุนการทำกิจกรรมของลูก รู้จักเพื่อนของลุก เข้าใจปัญหาของลูกและใส่ใจในปัญหาเหล่านั้น  วางวินัยและกฎกติกาที่เสมอต้นเสมอปลาย  และเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ละการศึกษาของลูก

ตัวอย่างของโปรแกรมป้องกันในครอบครัวแบบ universal family-based program เช่น  โครงการ Strengthening Families Program For Parents and Youth, 10–14, ซึ่งช่วยให้พ่อแม่ผู้ปกครองในชนบทมีทักษะในการจัดการครอบครัวและการสื่อสาร สนับสนุนทางการเรียน และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก อย่างไรก็ตามนักวิจัยตระหนักดีว่า มันเป็นเรื่องยากเหมือนกันที่จะเชิญชวนให้พ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วม  นักวิจัยจึงช่วยกำหนดตารางเวลาและสถานที่ที่ยืดหยุ่น  สนับสนุนความสะดวกต่างๆแก่พ่อแม่ผู้ปกครอง เช่น จัดหาคนดูแลลูกแทนถ้าพ่อแม่ต้องมาประชุม  สนับสนุนเรื่องรถรับส่งมาประชุม รวมถึงการสนับสนุนอาหาร  ช่วยให้พ่อแม่ในชนบทสามารถมาเข้าร่วมการเรียนรู้ได้ และทำให้โปรแกรมไปถึงเป้าหมายที่วางไว้

โปรแกรมอีกแบบหนึ่งที่ดำเนินการในพื้นที่โรงเรียน  คือ The Adolescent Transitions Program ซึ่งเป็นโปรแกรมครอบครัวที่รวมเอาหลายเป้าหมายและวิธีการมารวมกัน  ซึ่งทุกครอบครัวจะเข้าร่วมใน universal intervention, ซึ่งให้ข้อมูลความรู้และสนับสนุนทรัพยากรในการเลี้ยงดูเด็ก   ในขณะที่ The Family Check-Up, เป็นโปรแกรมคัดเลือก ( Selective Level) โดย มีกระบวนการประเมินผล เพื่อระบุและช่วยครอบครัวที่กำลังเผชิญความเสี่ยงสูง ด้วยการให้ข้อมูลและการช่วยเหลือที่เฉพาะเจาะตรงตามความต้องการของครอบครัว  ในกลุ่มที่เป็นIndicated Intervention  จะทำงานกับครอบครัวที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเข้มข้นและให้ข้อมูลที่จัดเตรียมให้ตรงกับปัญหาของเขา เช่น การบำบัดรายบุคคลหรือบำบัดครอบครัว การโค้ชผู้ปกครองแบบเข้มข้น การจัดการครอบครัวพักพิงเพื่อการบำบัด หรือ โปรแกรมช่วยเหลือครอบครัวแบบพิเศษ​ ความเป็นเฉพาะของ Tiered Approach  ก็คือ ทั้งโรงเรียนมีผู้เข้าร่วมเรียนรู้ ขณะเดียวกันครอบครัวหรือบุคคลก็จะได้รับการช่วยเหลือที่ตรงกับระดับความต้องการ โดยไม่มีการตีตรากันในกระบวนการ

ในโรงเรียน

โปรแกรมป้องกันในโรงเรียนจะเน้นไปที่ทักษะทางสังคมและทางการเรียนของเด็ก รวมถึงการเสริมพลังความสัมพันธ์กับเพื่อน การควบคุมตนเอง ทักษะจัดการสถานการณ์  พฤติกรรมทางสังคม และทักษะการปฏิเสธการยื่นสารเสพติด  โปรแกรมป้องกันบนฐานโรงเรียนควรจะบูรณาการกับเป้าหมายทางการศึกษาของโรงเรียนด้วย   มีหลักฐานว่า ความเสี่ยงสำคัญในเรื่องความล้มเหลวในการเรียนอยู่ที่ การขาดความสามารถในการอ่านในช่วงประถม 3  และ 4 (Barrera et al. 2002), และการล้มเหลวในโรงเรียนก็จะเกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติดอย่างมาก  โปรแกรมแบบูรณาการจึงจะช่วยเสริมความผูกพันของนักเรียนต่อโรงเรียน และลดแนวโน้มที่เด็กจะออกจากโรงเรียนกลางคัน  

โปรแกรมป้องกันที่อยู่บนฐานการวิจัยส่วนใหญ่  จะรวมหลักสูตรที่สอนทักษะสังคมและพฤติกรรมหลายด้าน เช่น The Life Skills Training Program เป็นแบบuniversal classroom programs  สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สอนเกี่ยวกับการต่อต้านยาเสพติด การจัดการตนเองและทักษะสังคมทั่วไปในหลักสูตร 3 ปีและในช่วงปีที่ 3 จะมีกิจกรรมเพื่อเพิ่มพลังอีกครั้ง ก่อนที่นักเรียนจะขึ้นไปเรียนระดับมัธยมปลายต่อไป

The Caring School Community Program เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการวางโปรแกรมป้องกันในโรงเรียน  โปรแกรม universal นี้สำหรับชั้นประถมศึกษา โดยจะเน้นที่การสร้าง a “sense of community” ในห้องเรียน โรงเรียนและครอบครัว  การสนับสนุนของชุมชนจะส่งผลให้เกิดความสำเร็จของเด็กในโรงเรียน  จัดการกับความเครียดและปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นตามมาได้ 

โปรแกรม indicated intervention จะเข้าถึงเด็กมัธยมปลาย เช่น  Project Towards No Drug Abuse โดยเน้นที่นักเรียนซึ่งเรียนอ่อนและเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและมีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆ   โปรแกรมพยายามสร้างความสนใจของนักเรียนต่อโรงเรียน และให้เด็กมองเห็นอนาคต ช่วยปรับความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับยาเสพติด  และเสริมพลังปัจจ้ยป้องกันรวมถึงการตัดสินใจและการมีพันธะสัญญาเชิงบวก

งานวิจัยล่าสุดชี้ว่า ให้มีความระมัดระวังเมื่อเอาเด็กวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงสูงมารวมกลุ่มกัน  เพราะกลุ่มแบบนี้จะสร้างผลกระทบทางลบ เช่น อาจจะมีคนเชียร์พฤติกรรมการใช้สารเสพติด (Dishion et al. 2002). งานวิจัยกำลังหาทางว่าจะป้องกันผลกระทบแบบนี้อย่างไร  โดยอาจโฟกัสไปที่บทบาทของผู้ใหญ่และเพื่อนที่มีทัศนคติเชิงบวกให้มากขึ้น

ในชุมชน

โปรแกรมการป้องกันที่ทำในระดับชุมชน  มักจะทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มสิทธิพลเมือง ศาสนา กลุ่มบังคับใช้กฎหมาย และองค์กรภาครัฐอื่นๆ   เพื่อเสริมพลังค่านิยมการต่อต้านยาเสพติด และส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก   กลยุทธเพื่อเปลี่ยนปัจจัยสำคัญทางด้านสภาพแวดล้อมมักจะถูกนำมาใช้ในระดับชุมชน  โดยอาจจะเพิ่มนโยบายใหม่ๆเข้าไป  เช่น กำหนดคอนแซ็ปต์”โรงเรียนปลอดยา” หรือเสริมพลังการปฏิบัติของชุมชน เช่น สำรวจความคิดเห็นเรื่องอายุที่เหมาะแก่การซื้อบุหรี่ เป็นต้น

โปรแกรมจำนวนมากประสานกิจกรรมหลายๆด้านข้าม setting กัน เพื่อสื่อถึงสาระเดียวร่วมกัน ทั้งในโรงเรียน ที่ทำงาน องค์กรศาสนาและสื่อมวลชน   งานวิจัยชี้ว่า โปรแกรมที่เข้าถึงเยาวชนผ่านแหล่งทรัพยากรที่หลากหลาย จะส่งผลกระทบต่อบรรทัดฐานของชุมชนอย่างมาก (Chou et al. 1998).  โปรแกรมที่อยู่บนฐานชุมชน ก็มักจะรวมการพัฒนานโยบายที่หลายส่วนเกี่ยวข้องเข้ามา เช่น  การบังคับใช้ตามกฎกติกา การส่งผลของสื่อมวลชน และโปรแกรมสร้างความตระหนักรู้ให้ทั่วถึงชุมชน ตัวอย่างเช่น  มีนโยบายกำหนดเวลาเคอร์ฟิวสำหรับเยาวชน  การประกาศข้อกำหนด/ข้อห้ามต่างๆ การลดจุดจำหน่ายแอลกอฮอล์ในชุมชน การขึ้นราคาบุหรี่ การกำหนดโซนปลอดยาในโรงเรียน เป็นต้น   สื่อมวลชนที่วางโครงสร้างไว้อย่างดีและมีเป้าหมายชัดเจน ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ช่วยลดการใช้ยาได้อย่างดีมาก เช่น  การรณรงค์ผ่านสื่อมวลชนที่มุ่งตรงไปที่เยาวชนที่ติดอารมณ์เคลิบเคลิ้ม สามารถลดความต้องการสูบกัญชาได้ถึง 27%  (Palmgreen et al. 2001).

Project STAR  เป็นหนึ่งตัวอย่างของโปรแกรมป้องกันยาเสพติดสำหรับชุมชนที่มีหลายองค์ประกอบ โดยประสานความพยายามของทุกฝ่ายทั้งโรงเรียน ผู้ปกครอง องค์กรชุมชน นโยบายด้านสุขภาพ และสื่อมวลชนในการป้องกันยาเสพติดในเยาวชน ด้วยการเข้าถึงเด็กทุกคนและทุกครอบครัว   โดยหลักสูตรของโรงเรียนมัธยมต้นทำหน้าที่เป็นแกนของโปรแกรม ใช้การบ้านกับกิจกรรมในครอบครัวเป็นเครื่องเสริมพลัง  โดยมีองค์ประกอบด้านนโยบายกับสื่อเข้ามาประกอบส่วนด้วย   มีการศึกษาวิจัยติดตามระยะยาว  ซึ่งผลพบว่าสามารถสร้างผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญในการลดสารเสพติดและส่งผลทางบวกไปจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่  


อะไรคือองค์ประกอบหลักของโปรแกรมป้องกันบนฐานงานวิจัย

ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา งานวิจัยจำนวนมากได้พิสูจน์ว่า เกิดผลจริง โปรแกรมเหล่านี้ถูกนำไปทดลองในหลากหลายพื้นที่ หลากหลายชุมชน และหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย การทดสอบยืนยันว่า ผลของโปรแกรมที่เกิดกับกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริม หรือที่เรียกว่า  “กลุ่มทดลอง”  เปรียบเทียบได้ชัดเจน กับผลที่เกิดกับกลุ่มที่ไม่ได้ส่งเสริมดๆ ที่เรียกว่า “กลุ่มควบคุม”

องค์ประกอบสำคัญที่เป็นปัจจัยความสำเร็จของโครงการได้แก่

  • Structure —  แต่ละโปรแกรมนั้นมีการจัดตั้งและก่อตัวอย่างไร
  • Content — ข้อมูล ทักษะและกลยุทธ์ได้รับการนำเสนอต่อชุมชนอย่างไร
  • Delivery — โปรแกรมได้รับการคัดเลือก มีการปรับหรือดำเนินการ และวัดผลอย่างไรในแต่ละชุมชนที่แตกต่างกัน

เมื่อมีการประยุกต์โปรแกรมให้สอดคล้องกับบุคลิกลักษณะของแต่ละชุมชน ก็เป็นความสำคัญที่จะต้องรักษาองค์ประกอบหลักเหล่านี้ให้มั่น เพื่อให้มั่นใจว่า ด้านที่มีประสิทธิผลมากที่สุดของโปรแกรมยังได้รับการนำไปดำเนินการ องค์ประกอบหลักต่างๆ จะช่วยให้สร้างประสิทธิผลให้กับโปรแกรมป้องกันที่ใช้งานวิจัยเป็นฐาน   

Structure

  • โครงสร้างจะเป็นตัวบอกถึง  แบบของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย และ setting
  • โปรแกรมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ถือเป็นแนวทางพื้นฐานในการเข้าถึงเด็กทุกคน
  • โปรแกรมที่ใช้ครอบครัวเป็นฐานจะส่งประสิทธิผลต่อทั้งเด็กและผู้ปกครองใน setting ที่แตกต่างกัน  
  • สื่อและโปรแกรมที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แสดงประสิทธิผลในการเข้าถึงประชาชนในระดับชุมชนเช่นเดียวกับในระดับบุคล

งานวิจัยยังยืนยันว่า การนำโปรแกรมที่มีประสิทธิผลตั้งแต่สองโปรแกรมขึ้นไปมารวมกัน ที่เรียกว่า  “Multicomponent Programs” เช่น นำครอบครัวมาทำงานร่วมกับโรงเรียน จะให้ผลดีมากกว่าทำโปรแกรมเดียว

ภายใต้การจัดกลุ่มเหล่านี้  โปรแกรมจะถูกออกแบบอย่างเฉพาะเจาะจง ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น โปรแกรม indicated prevention program สำหรับเด็กชายที่มีความเสี่ยงสูง. ตัวอย่างของโครงการที่แยกย่อยลงไปอีก เช่น แยกเป็นเมือง/ชนบท ชาติพันธุ์ หรือกลุ่มวัยที่ต่างกัน

Setting จะบอกว่าโปรแกรมนี้จะทำที่ไหน โปรแกรมป้องกันมักจะออกแบบให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ปฐมภูมิของพวกเขา (Primary setting) เช่น เข้าถึงเด็กที่โรงเรียน แต่อย่างไรก็ตาม หลักนี้ก็ไม่ตายตัว เพราะในบางโปรแกรมที่ประสบความสำเร็จ ก็พบว่า ไม่ได้ไปทำที่พื้นที่ปฐมภูมิ แต่ไปทำในพื้นที่ที่กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวข้อง เช่น ทำกับพ่อแม่ในโรงเรียน หรือทำโรงเรียนในองค์กรเยาวชนเป็นต้น

เนื้อหา Content

เนื้อหาประกอบด้วยสารสนเทศ  การพัฒนาทักษะ วิธีการ และการให้บริการ. สารสนเทศจะรวมถึงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับยาเสพติด และผลของยาเสพติดที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง การได้ข้อมูลมาแต่เฉพาะที่เกี่ยวกับยาเสพติดอย่างเดียวจะไม่ส่งประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหา การรวบรวมสารสนเทศทุจากกมุมที่เกี่ยวข้อง จะให้ประสิทธิผลมากกว่า  โปรแกรมที่รวมเอาการอบรมให้เกิดทักษะด้านการพัฒนา  ปรับปรุงพฤติกรรม เช่น การสื่อสารในครอบครัว พัฒนาการด้านสังคมละอารมณ์ สมรรถนะการเรียนรู้และสังคมในเด็ก กับ การมีทักษะยั้งตนเองจากกลุ่มเพื่อนในวัยรุ่น ล้วนส่งผลดีต่อการแก้ปัญหาทั้งสิ้น  

วิธีการที่ส่งผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เช่น การจัดตั้งและบังคับใช้กฎของโรงเรียนในเรื่องสารเสพติด หรือบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ เช่น ห้ามขายบุหรี่แก่เยาวชน บริการที่รวมถึงการให้คำปรึกษาโดยบุคลากรในโรงเรียน การให้คำปรึกษาโดยกลุ่มเพื่อน  ครอบครัวบำบัด หรือการดูแลสุขภาพ ก็มีส่วนช่วยให้เกิดผล  

แปลและเรียบเรียงจาก

Preventing Drug Use among Children and Adolescents :

A Research-Based Guide for Parents, Educators and Community Leaders (Second Edition), National Institute on Drug Abuse, U.S.Department of Health and Human Resources, 2003

Reference.

  1. Preventing Drug Use among Children and Adolescents: A Research-Based Guide for Parents, Educators and Community Leaders (Second Edition), National Institute on Drug Abuse, U.S.Department of Health and Human Resources, 2003
  2. https://www.thelancet.com/pdfs/journals/lancet/PIIS0140-6736(11)61239-7.pdf
  3. What Does It Mean When We Call Addiction a Brain Disorder? https://www.drugabuse.gov/about-nida/noras-blog/2018/03
  4. Tobler S.N., et al, School-Based Adolescent Drug Prevention Programs: 1998 Meta-Analysis, Journal of Primary Prevention volume 20, June 2000.

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...