สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ถอดบทเรียนความสำเร็จ อาจารย์ราชภัฏ สอนนักศึกษาปี 1 วิชา “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” ครั้งแรก เบิกบานทั้งอาจารย์และศิษย์

วันที่ 11-13 กันยายน 2562 ณ รอยัล  ริเวอร์แคว์ รีสอร์ท แอนด์สปา จ.กาญจนบุรี สถาบัน RLG ร่วมกับสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยการสนับสนุนของ สำนัก 4 สสส. ร่วมจัดกิจกรรมถอดบทเรียนความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนรายวิชา “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1ปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา มีตัวแทนอาจารย์จากคณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏจากภูมิภาคต่างๆ เข้าร่วมจำนวน  22  คน จาก 12 สถาบัน บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ ระหว่างคณาจารย์ และนักวิชาการปฐมวัยจากสถาบัน RLG และภาคี Thailand EF Partnership เป็นไปอย่างมีพลังและเบิกบาน สอนแบบใหม่ ใช้หลักการส่งเสริม EF ได้ผลลัพธ์เกินคาด

          อาจารย์ราชภัฏเปลี่ยนเป็น Active Teacher เกิดความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดี และมีทักษะ รวมทั้งมีความมั่นใจที่จะนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดต่อแก่นักศึกษาครูที่เรียนในรายวิชาของตน

อาจารย์ที่เข้าร่วมการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเรื่องทักษะสมองอีเอฟและหลักการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยก่อนการอบรม 94% ของอาจารย์ มีคะแนนความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด ถึงปานกลาง แต่หลังการอบรม 96% ของอาจารย์มีคะแนนความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับปานกลาง ถึง มากที่สุด

ในด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองแบ่งออกเป็นสามมิติ มิติที่หนึ่ง คือ ความเชื่อมั่นในความรู้ของตนเองเรื่องทักษะสมองอีเอฟและหลักการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง พบว่า ก่อนการอบรม 94% ของอาจารย์มีคะแนนด้านความเชื่อมั่นในความรู้ของตนเองอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง แต่หลังจากอบรมพบว่า 100% ของอาจารย์มีความเชื่อมั่นในความรู้ของตนเองอยู่ในระดับปานกลางไปถึงมาก และพบว่าไม่มีอาจารย์ท่านใดอยู่ในระดับน้อยเลย

ในมิติด้านความเชื่อมั่นในตนเองที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนในห้องเรียนตามหลักการบูรณาการสมองและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงพบว่า ก่อนการอบรม 60% ของอาจารย์คิดว่าตัวเองสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ในระดับน้อยจนถึงปานกลางแต่หลังจากการอบรมพบว่า 90% ของอาจารย์มีความเชื่อมั่นว่าตัวเองสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนได้อยู่ในระดับมาก

ในมิติที่สามคือการมองเห็นความสำคัญของวิชาชีพและความมุ่งมั่นที่จะฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพบว่าก่อนการอบรม 60% ของอาจารย์มีความมุ่งมั่นอยู่ในระดับน้อยจนถึงปานกลาง แต่หลังจากการอบรมพบว่า 91% ของอาจารย์มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก


กระบวนการสอนเปลี่ยน จาก Teacher Centered เป็น Child Centered ไม่ใช่ “ครูจะสอนอะไร แต่ใส่ใจว่านักศึกษาจะเรียนรู้อะไร” จากมุ่งสอนเนื้อหา เปลี่ยนเป็นมุ่งสร้างเจตคติ ให้เห็นคุณค่าตนเอง สิ่งที่เรียนรู้และผลที่จะเกิดกับเด็กปฐมวัย เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบ Active learning เปิดโอกาสให้นักศึกษาเป็นผู้เลือก มีส่วนร่วมในการสอน ให้ได้สะท้อน
นักศึกษาเปลี่ยน ได้พัฒนาคุณลักษณะ Active Learner เห็นความตื่นตัวในการเรียนรู้อย่างชัดเจน จากการได้คิด ได้วิเคราะห์ ได้มีส่วนร่วม มีความสุขในการเรียน ไม่สาย ไม่ขาด กระตือรือร้น กล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าสะท้อนความคิด กล้าทำ กล้าลอง-ไม่กลัวผิด มีเจตคติต่อตัวเองดีขึ้น เชื่อมั่นในตัวเอง เห็นศักยภาพ เห็นคุณค่าในวิชาชีพครู
ห้องเรียนเปลี่ยน เป็นห้องเรียนที่มีความสุขและมีวินัยที่เกิดจากตัวผู้เรียนเอง สอนได้ง่ายขึ้น กระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียนไหลลื่น
เครือข่ายปฐมวัยเข้มแข็ง ในสาขาการศึกษาปฐมวัยของสถาบันราชภัฏส่วนใหญ่ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น ทีมเวิร์คเข้มแข็ง สอนไปในทิศทางเดียวกัน มีการจัดการความรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่อเนื่อง  ผู้บริหารและครูในโรงเรียนเครือข่ายสนใจและมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา EF มากขึ้น ได้ตัวอย่างสื่อและกิจกรรมที่นักศึกษานำไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี
“สรุปได้ว่า เริ่มเกิดวิถี EF ขึ้นในระบบการผลิตครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏส่วนใหญ่แล้ว”

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...