สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ขั้นตอนพัฒนาการจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นตามทฤษฎีอีริคสัน

บทที่ 9 ตอนที่ 8 : ขั้นตอนพัฒนาการจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นตามทฤษฎีอีริคสัน

ขั้นตอนพัฒนาการจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นตามทฤษฎีอีริคสัน พ่อแม่หรือครูควรเข้าใจเรื่องพัฒนาการ เรื่องความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เรื่อง Self การทำงานของสมอง 3 ส่วน และเรื่องทักษะสมอง EF ด้วย จึงจะสามารถพัฒนาเด็กคนหนึ่งให้เติบโตไปเป็นคนที่เห็นคุณค่าของตัวเอง คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กคนหนึ่งมีพฤติกรรมแย่งของเล่นจากเพื่อน ครูปฐมวัยต้องนึกถึงวัย นึกถึงพัฒนาการเด็ก นึกถึงพัฒนาการทางสมอง นึกถึงสมอง 3 ส่วน นึกถึงทักษะสมอง EF ว่าเด็กวัยนี้มีการยับยั้งชั่งใจเป็นอย่างไร ทำได้แค่ไหน  หรือหากก่อนหน้านี้เด็กคนนี้ไม่เคยแย่งของเล่น...

บทความจากนักวิชาการ

ลูกจะมีทักษะสมอง EF ดี พ่อแม่ต้องมีทักษะสมอง EF ดีด้วย

บทที่ 9 ตอนที่ 9 : ลูกจะมีทักษะสมอง EF ดี พ่อแม่ต้องมีทักษะสมอง EF ดีด้วย

ลูกจะมีทักษะสมอง EF ดี พ่อแม่ต้องมีทักษะสมอง EF ดีด้วย ลูกจะมีทักษะสมอง EF ที่ดี พ่อแม่ต้องใช้หลักการวินัยเชิงบวก และพ่อแม่จะใช้วินัยเชิงบวกได้ดี พ่อแม่ก็ต้องมีทักษะสมอง EF ที่ดีด้วย ทักษะสมอง EF ด้านที่สำคัญที่สุดที่พ่อแม่ต้องมี คือ Cognitive Flexibility หรือทักษะคิดยืดหยุ่น เพราะพ่อแม่มักเคยชินกับการใช้คำว่า “ไม่” กับเด็ก ซึ่งไม่ใช่การสร้างวินัยเชิงบวก พ่อแม่ที่คิดยืดหยุ่นเป็นจะรู้จักใช้คำอื่นหรือวิธีอื่นแทนคำว่า “ไม่” ไม่ใช้การออกคำสั่งกับลูก การใช้วินัยเชิงบวกจะเป็นวิธีการที่ง่ายมากสำหรับพ่อแม่แบบนี้ พ่อแม่แบบนี้สามารถจัดการกับเด็กได้ เพราะมีความยืดหยุ่นในกระบวนการคิดอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ต้องมีทักษะสมอง EF ด้าน Inhibition หรือการยับยั้งชั่งใจ...
ขั้นตอนพัฒนาการจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นตามทฤษฎีอีริคสัน

บทที่ 9 ตอนที่ 8 : ขั้นตอนพัฒนาการจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นตามทฤษฎีอีริคสัน

ขั้นตอนพัฒนาการจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นตามทฤษฎีอีริคสัน พ่อแม่หรือครูควรเข้าใจเรื่องพัฒนาการ เรื่องความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เรื่อง Self การทำงานของสมอง 3 ส่วน และเรื่องทักษะสมอง EF ด้วย จึงจะสามารถพัฒนาเด็กคนหนึ่งให้เติบโตไปเป็นคนที่เห็นคุณค่าของตัวเอง คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กคนหนึ่งมีพฤติกรรมแย่งของเล่นจากเพื่อน ครูปฐมวัยต้องนึกถึงวัย นึกถึงพัฒนาการเด็ก นึกถึงพัฒนาการทางสมอง นึกถึงสมอง 3 ส่วน นึกถึงทักษะสมอง EF ว่าเด็กวัยนี้มีการยับยั้งชั่งใจเป็นอย่างไร ทำได้แค่ไหน  หรือหากก่อนหน้านี้เด็กคนนี้ไม่เคยแย่งของเล่น เพราะอยู่ในวัยที่มีทักษะสมอง EF ด้านการยับยั้งชั่งใจแล้ว แต่ทำไมตอนนี้แย่ง แสดงว่ามีบางอย่างเกิดขึ้น อาจจะมีปัญหาจากทางบ้าน เช่น แม่มีน้องใช่หรือไม่ เมื่อครูเข้าใจภาพรวม เข้าใจกระบวนการทำงานร่วมกันของสมอง...
พฤติกรรมไม่ดี เด็กดื้อ เกิดจากอะไร

บทที่ 9 ตอนที่ 7 : พฤติกรรมไม่ดี เด็กดื้อ เกิดจากอะไร

พฤติกรรมไม่ดี เด็กดื้อ เกิดจากอะไร ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการทำงานร่วมกันของสมอง จิตใจ และพฤติกรรมมนุษย์ จะเห็นว่าก่อนที่เด็กคนหนึ่งจะแสดงพฤติกรรมอะไรออกมา มีเรื่องของจิตใจ (Mind) เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ คือเด็กต้องรู้สึกอะไรบางอย่างก่อนจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม และความรู้สึกนั้นอาจมาจากการไม่ได้รับการสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อพ่อแม่หรือครูเห็นพฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกมา จะตัดสินเด็กทันที แล้วอบรมสั่งสอนเด็กที่แสดงพฤติกรรมนั้นๆ โดยไม่ได้ทบทวน ไม่ได้มองที่ต้นเหตุว่าเกิดจากอะไร กลับแก้ที่ปลายเหตุ โดยลงโทษที่พฤติกรรม ซึ่งยิ่งทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาและบานปลายออกไปอีก เวลาผู้ใหญ่มองเด็กดื้อ มักจะเห็นพฤติกรรมไม่ดีที่แสดงออกมา ไม่มีความรู้ว่าที่เด็กแสดงออกมานั้นเกิดจากสมองที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ ไม่เข้าใจเรื่องการทำงานของสมอง 3 ส่วน และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ใหญ่เองก็ไม่ได้ถูกฝึกให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ ไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงอารมณ์ความรู้สึก หรือถูกปลูกฝังความคิดว่าไม่น่ารู้สึกอย่างนี้ หรือรู้สึกอย่างนี้ไม่ดี จนลืมไปแล้วว่าตอนตัวเองเป็นเด็กรู้สึกอย่างไร และแยกไม่ออกระหว่างอารมณ์กับความคิด จึงค่อนข้างยากที่จะช่วยเด็กหรือแก้ปัญหาเรื่องอารมณ์ของเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ส่วนตัวเด็กที่พ่อแม่หรือครูไม่เคยบอกสอนให้รู้อารมณ์ สะท้อนอารมณ์ให้เด็กเข้าใจว่าตอนนี้กำลังโกรธ...
การใช้อำนาจในห้องเรียนกระทบ Self และการเรียนรู้ของเด็ก

บทที่ 9 ตอนที่ 6 : การใช้อำนาจในห้องเรียนกระทบ Self และการเรียนรู้ของเด็ก

การใช้อำนาจในห้องเรียนกระทบ Self และการเรียนรู้ของเด็ก เมื่อเด็กรู้สึกปลอดภัย อารมณ์สงบ เด็กจะเรียนรู้ได้ดี พัฒนาการดี แต่การจะทำให้ห้องเรียนปลอดภัย ส่วนใหญ่ทำกันเพียงทางด้านกายภาพเท่านั้น เด็กยังไม่รู้สึก “อบอุ่นปลอดภัย” เพราะครูยังใช้อำนาจ ใช้อารมณ์ มากกว่าให้โอกาส เด็กรู้สึกไม่ปลอดภัยเพราะว่าไม่รู้ว่าวันนี้ถ้าเจอครูคนนี้แล้วจะโดนอะไรอีก เมื่อรู้สึกเช่นนี้อารมณ์จะไม่นิ่ง แทนที่สมอง EF ที่จะพัฒนาเป็นทักษะต่างๆ จะทำงาน  กลับเป็นสมองส่วนสัญชาตญาณทำงานเพื่อปกป้องตัวเอง สมอง EF จึงไม่พัฒนา ในห้องเรียน นอกจากการตี การลงโทษด้วยความรุนแรงแล้ว สิ่งที่เห็นบ่อยๆ คือการทำร้ายด้วยคำพูด ทั้งดุด่า ข่มขู่ พูดประชดประชัน ตั้งสมญานาม หรือแม้กระทั่งเรียกเด็กว่า “นาง” แสดงว่าไม่มีความ...
สอนเด็กรู้จักอารมณ์ตัวเอง สร้าง Self และทักษะสังคม

บทที่ 9 ตอนที่ 5 : สอนเด็กรู้จักอารมณ์ตัวเอง สร้าง Self และทักษะสังคม

สอนเด็กรู้จักอารมณ์ตัวเอง สร้าง Self และทักษะสังคม การที่ผู้ใหญ่สะท้อนอารมณ์ของเด็ก บอกให้เด็กรู้ว่าตัวเด็กกำลังรู้สึกอย่างไร จะทำให้เด็กรู้สึกมี Self มีตัวตน เพราะความรู้สึกนึกคิดและสิ่งที่เขาแสดงออกมานั้น ผู้ใหญ่เห็น ได้ยิน ให้ความสนใจ และการที่ผู้ใหญ่บอกว่าอารมณ์นั้นเรียกว่าอะไร เป็นการสอนให้เด็กรู้จักอารมณ์ อย่างเช่นที่สถาบัน 101 Educare Center ในวันเปิดเทอมแรกๆ เมื่อเด็กมาเรียนแล้วร้องไห้ ครูจะสะท้อนอารมณ์เด็ก โดยพูดว่า “หนูร้องไห้ เพราะคิดถึงคุณพ่อคุณแม่ อยากไปหาคุณพ่อคุณแม่ใช่ไหม” และแนะนำวิธีจัดการอารมณ์ไปด้วย “ครูรู้ว่าหนูคิดถึงคุณพ่อคุณแม่ แต่ไปนอนก่อน พอตื่นมาจะเจอคุณพ่อคุณแม่เลย” ทั้งนี้ในระหว่างที่เด็กกำลังจัดการอารมณ์ตัวเอง ไม่ว่าเรื่องใด ครูจะอยู่กับเด็กด้วยเพื่อให้เด็กไม่รู้สึกโดดเดี่ยว รอจนกว่าเด็กจะจัดการอารมณ์ตัวเองได้ (ซึ่งไม่นาน เพราะตามธรรมชาติ...