สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

บทที่ 3 ตอนที่ 3 : จะทำให้เด็กวัยเรียน “เรียนรู้อย่างมีความหมาย” ได้อย่างไร

จะทำให้เด็กวัยเรียน “เรียนรู้อย่างมีความหมาย” ได้อย่างไร

เรารู้กันดีว่า เด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีหากมีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Learning) แต่ยังอาจไม่ชัดเจนว่าการเรียนรู้อย่างมีความหมายนั้นเป็นอย่างไร มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร และควรใช้วิธีการใด

ถาม : การเรียนรู้อย่างมีความหมายคืออย่างไร 

ตอบ : การเรียนรู้อย่างมีความหมาย คือการเรียนรู้ที่รู้ว่าจะเรียนรู้ไปเพื่ออะไร เชื่อมโยงกับตัวผู้เรียน ผู้เรียนรู้ว่าสิ่งที่เรียนรู้จะมีผล จะกระทบต่อตัวเขาอย่างไร เรียนรู้แล้วสามารถที่จะเชื่อมโยงกับชีวิตจริง กับตัวเองได้ นำมาจัดการตัวเองได้ จัดการกับสภาพแวดล้อมได้ รู้ว่าเมื่อเรียนรู้มาแล้วจะเอาความรู้นั้นไปทำอะไรต่อ การเรียนรู้ที่มีความหมายจึงมีความหมายใน 2 มิติ คือความหมายต่อตัวเขาเอง และต่อสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเขา ในบ้าน นอกบ้าน ในชุมชน

การเรียนรู้ที่รู้ว่าเรียนไปเพื่ออะไร เป็นการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย สมอง EF (Executive          Functions) จะทำงาน ต่างจากการเรียนรู้ที่ไม่มีความหมาย เรียนแบบท่องจำ เรียนเพื่อสอบ สอบแล้วก็ลืมสิ่งที่เรียนมาหมด

ถาม : การเรียนรู้อย่างมีความหมายมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร 

ตอบ :

  • ทำให้เด็กเกิดแรงบันดาลใจ เกิดความสุข สนุกในการเรียนรู้ อยากรู้อยากเรียนมากขึ้น มีความกระตือรือร้นที่จะเรียน ค้นคว้าให้รู้มากขึ้น   
  • เป็นเครื่องมือไปสู่การเรียนรู้เรื่องอื่นๆ และเกิดทักษะการเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้เรื่องไดโนเสาร์ ผู้เรียนอาจจะนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการอยากจะศึกษาต่อไปอีกในเรื่องวิวัฒนาการของชีวิต เรื่องธรณีวิทยา และขณะที่ศึกษาค้นคว้าเรื่องไดโนเสาร์ ก็เกิดทักษะที่จะติดตัวไปตลอดชีวิต เช่น ทักษะการสังเกต การสืบค้นหาข้อมูลที่หลากหลาย การวิเคราะห์ การมุ่งเป้าหมาย หรือการวางแผนจัดระบบข้อมูลที่หามาได้  
  • ทำให้รู้จริง รู้ลึก รู้รอบ รู้เท่าทันสถานการณ์ คิดวิเคราะห์ อ่านสถานการณ์เป็น อ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ อ่านผู้คนได้ รู้ว่าเรื่องต่างๆ เป็นไปเป็นอย่างไร เรียนรู้บริบทของตน บริบทรอบตัว เพื่อจะอยู่กับบริบทได้อย่างเข้าใจ กลมกลืน เห็นความเกี่ยวข้อง ความเชื่อมโยงระหว่างตนเองกับโลกรอบตัว ระหว่างสรรพสิ่งในโลก
  • เด็กนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ไปปรับตัวได้
  • เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เกิดคุณลักษณะของการเป็นผู้พร้อมเรียนรู้ พัฒนาตน ใฝ่รู้ เป็นทักษะที่ติดตัวไปตลอดชีวิต การเรียนรู้ที่มีความหมายจะรักษาธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ไว้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้คนเรามีชีวิตอยู่รอด
  • สร้างจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม นึกถึงส่วนรวม เพราะเห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งรอบตัว   
ถาม : แล้วจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายได้อย่างไร 

ตอบ : โรงเรียนต้องจัดกระบวนการที่สนับสนุนให้เด็กเป็นผู้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดย

  • ครูต้องคำนึงถึงระดับความสามารถ (Competency) และ Background ของเด็กแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นวิธีที่จะทำให้เด็กเห็นความหมาย เห็นคุณค่าของความรู้นั้นๆ จึงแตกต่างกัน และจำเป็นต้องทำเป็นรายบุคคลไป
  • ครูสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ สไตล์การเรียนรู้ของเด็ก เด็กแต่ละคนมีพฤติกรรม มีสไตล์การเรียนรู้ และมีวิธีการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน บางคนเรียนรู้จากการดู การฟัง การเลียนแบบ บางคนจากการสืบค้น หรือบางคนมีพื้นความรู้จากการเคยมีทักษะอย่างใดอย่างหนึ่งมาก่อน เช่นเด็กคนหนึ่งต่อเลโก้ได้แก่งมาก เป็นนักสะสมเลโก้มาตั้งแต่ชั้นอนุบาล ซึ่งถ้าครูสังเกตเห็น ครูจะสามารถกระตุ้นหรือสานต่อการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น  
  • เด็กควรได้รู้ว่าตัวเองมีวิธีเรียนรู้แบบใด เช่นเด็กคนหนึ่งเรียนเลขไปแล้ว ไม่เข้าใจ ทำไม่ได้ คิดเลขไม่ได้ อาจไม่ใช่เพราะไม่ชอบคิดเลข แต่อาจไม่ชอบวิธีที่ครูสอน ซึ่งถ้าครูเปลี่ยนไปใช้วิธีที่เด็กชอบ เด็กอาจจะเรียนรู้ได้ดีกว่า ซึ่งเด็กเองก็ต้องบอกครูได้ด้วยว่าต้องการให้ครูสอนวิธีไหน  ซึ่งการรู้ตัวเองว่ามีวิธีการเรียนแบบใดนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนๆ หนึ่งเลยทีเดียว ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเด็กอายุครบหกขวบ เด็กต้องรู้ ต้องบอกได้ว่าตนเองมีวิธีเรียนรู้อย่างไร เช่น ต้องเห็นภาพ หรือแบบลงมือทำ  ที่ต้องรู้เพราะเมื่อขึ้นไปเรียนในชั้นประถมศึกษา ก็จะสามารถขอความช่วยเหลือจากครูได้ ครูจะได้ออกแบบการสอน หรือคิดแบบฝึกหัดให้เด็กแต่ละคนไปตามวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคนได้ ซึ่งหากเด็กเองยังไม่รู้ ครูจะต้องเป็นผู้ช่วยสร้างสภาพแวดล้อม และให้โอกาสเด็กได้ค้นหาตัวเอง เพื่อให้เด็กเข้าถึงการเรียนรู้ได้ด้วยวิธีของตัวเองได้ในที่สุด เป็นการเรียนรู้ที่เกิดมาจากภายในของตัวเด็กเอง
  • ครูช่วยเชื่อมโยงสิ่งที่เด็กสนใจกลับมาสู่ตัวเด็ก สู่ชีวิตจริง  ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างตัวเด็กกับโลกรอบตัว ระหว่างสิ่งนั้นกับสิ่งนี้  เพื่อขยายความสนใจของเด็กให้ขยายการเรียนรู้มากขึ้น จากสนใจใคร่รู้ไปเป็นคนที่รอบรู้ในเรื่องนั้นๆ

ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ปรารถนา หาญเมธี เขียน
ผาณิต บุญมาก เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...