สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

Stay Connected

69,770แฟนคลับชอบ

RLG-EF Admin

249 โพสต์40 ความคิดเห็น

นายประชารัฐ โนนทนวงษ์ รองผู้อำนวยการ โรงเรียนอนุบาลสาธิตเทศบาลนครขอนแก่น

โรงเรียนอนุบาลสาธิตเทศบาลนครขอนแก่นได้รับนโยบายทางการศึกษาให้เป็นคลัสเตอร์ทางวิชาการ คณะครู ผู้อำนวยการประชุมร่วมกันแล้วเห็นว่าเรื่อง EF เหมาะสมที่จะเป็นองค์ความรู้ในการพัฒนาเด็ก โดยการนำเสนอของอาจารย์ประชารัฐ ซึ่งส่วนตัวมีความประทับใจกับเรื่อง EF ที่เป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาสมองของเด็ก และเห็นว่าEF มีความสอดคล้องกับนโยบายของนายกเทศมนตรีนครขอนแก่นเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 6 ประการ คือ มีวินัย อดทน รับผิดชอบ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญูและสำนึกรักท้องถิ่น จึงนำเรื่อง EF เสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียน ได้รับความเห็นชอบให้นำความรู้ EF...

นายปรีชา ไกรคะนะ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโสน และผู้อำนวยการรักษาการณ์ โรงเรียนบ้านน้ำคลุ้ง จ.กาญจนบุรี

เดิม ผอ.ปรีชามีความสนใจเรื่องการพัฒนาสมองเด็กและแนวการพัฒนาเด็กมอนเตสซอรี่ เมื่อได้พบข้อมูลเกี่ยวกับ EF ในอินเทอร์เน็ต ก็รู้สึกตรงกับความสนใจ ดูจะสอดคล้องและสามารถบูรณาการกับแนวทางมอเตสซอรี่ได้ แต่ยังไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง กระทั่งย้ายมาเป็นผู้บริหารที่โรงเรียนบ้านหนองโสน พบว่ามีครูปฐมวัยที่ได้รับการอบรมเรื่อง EF และมีความตั้งใจที่จะใช้ความรู้ EF ในการพัฒนาเด็ก เห็นแนวทางที่จะขับเคลื่อน EF ในโรงเรียนนี้ได้ จึงส่งเสริมสนับสนุนให้ครูลงมือปฏิบัติในระดับชั้นอนุบาล 2-3 และเมื่อไม่นานมานี้ก็เริ่มขยายความรู้ EF ไปสู่ครูประถม โดยให้ครูปฐมวัยเป็นผู้ส่งต่อความรู้           นอกจากนี้ผอ.ปรีชายังมองว่าควรจะสร้างเครือข่ายขยายความรู้...

นางสาวปวีณา ธิติวรนันท์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สธจ. สุพรรณบุรี

จากการเข้าอบรม “โครงการอบรมศึกษานิเทศก์และผู้บริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะสมอง EF และการใช้เครื่องมือเพื่อส่งเสริม EF ของเด็กปฐมวัย รุ่นที่ 2” และเข้าร่วมกิจกรรม “โครงการถอดบทเรียนศึกษานิเทศก์และผู้บริหารโรงเรียน” ทำให้ ศน.ปวีณาได้เรียนรู้ประสบการณ์การขับเคลื่อน EF ของเพื่อนศึกษานิเทศก์ต่างจังหวัด ต่างสังกัด นำมาเป็นข้อมูลเพื่อพัฒนางานของตนเอง โดยนำความรู้ EF ไปขยายผลให้กับครูวิชาการและผู้บริหารโรงเรียนในความรับผิดชอบ 5 โรงเรียน จนมีการขับเคลื่อน EF แบบเข้มข้นในโรงเรียนที่ใช้ความรู้...

นางกังสดาล แจ้งมณี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป.เชียงราย เขต 2

จากการรับผิดชอบงานการศึกษาปฐมวัย ศน.กังสดาลพบว่า ผลสรุปในทุกสิ้นปีการศึกษา เด็กปฐมวัยของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2 มีผลพัฒนาการด้านสติปัญญาต่ำกว่าพัฒนาการด้านอื่นๆ และเมื่อได้รับความรู้เรื่อง EF จึงเห็นว่าควรต้องพัฒนาทักษะสมอง EF ให้เด็กปฐมวัย โดยพัฒนาครูปฐมวัยให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง EF และสามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะสมอง EF ได้ ในปีการศึกษา 2564 ศน.กังสดาลเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้าง Facilitator EF จังหวัดเชียงราย ร่วมกับครูโรงเรียนสังกัดสพป.เชียงราย...

นางสุภัคร พุทธานุ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป. สุรินทร์ เขต 2

เมื่อได้รับการอบรมความรู้เรื่อง EF แล้วศน.สุภัคร พุทธานุ ในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบเรื่องการศึกษาปฐมวัย เห็นว่าความรู้ EF เป็นแนวทางที่สอดรับกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมากที่สุด และยังสอดคล้องเข้ากับแนวนโยบายหลักจากกระทรวงฯ รวมถึงหลักสูตรปฐมวัย และหลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นความรู้ที่ควรนำมาพัฒนาครูปฐมวัยเพื่อครูจะได้นำความรู้ไปพัฒนาเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นศน.สุภัครจึงได้ขยายความรู้ EF โดยจัดอบรมครูในเขตพื้นที่การศึกษาที่ดูแลรับผิดชอบ 5 อำเภอ แล้วให้แต่ละอำเภอขยายความรู้ EF สู่เครือข่ายโรงเรียนปฐมวัย รวมทั้งมีแผนจะดำเนินโครงการ “1 อำเภอ 1...

นางสาววิริยา บาลตำบล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป.สกลนคร เขต 3

สืบเนื่องจากคู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับครูปฐมวัย ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)ส่งมาให้กลุ่มงานส่งเสริมการศึกษาแจกตามโรงเรียนและศน.วิริยาร่วมดำเนินการแจกด้วย ทำให้ศน.วิริยาเกิดความสนใจเรื่อง EF รวมทั้งผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาได้อ่านหนังสือคู่มือนี้แล้วมีวิสัยทัศน์ว่า EF เป็นเรื่องดีที่ศึกษานิเทศน์ควรนำไปเป็นแนวทางพัฒนาครูและโรงเรียน ต่อมาศน.วิริยาได้เข้าอบรมเรื่อง EF ที่สำนักศึกษาธิการจังหวัดจัดร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร แล้วนำความรู้ EF มาเป็นพื้นฐานจัดทำโครงการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนในระดับปฐมวัย ให้กับครูโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบที่เปิดการสอนระดับปฐมวัย และครูผู้ดูแลเด็กในสังกัด อปท. โดยใช้หนังสือคู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับครูปฐมวัยเป็นคู่มือให้ความรู้ EF แก่ครู...

นางอัจจชิญา สงวนศรีพิสุทธิ์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สธจ. ขอนแก่น

ในขณะที่ศน.กฤษณา เป็นผู้นำศธจ.ในการขับเคลื่อน EF จังหวัดขอนแก่น ศน.อัจจชิญา ก็ร่วมทีมสนับสนุน เข้ารับการอบรม EF และเรียนรู้จากเครือข่าย EF ขอนแก่นออนไลน์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้พัฒนาไปด้วยกัน  แล้วร่วมทีมศธจ.ขับเคลื่อนความรู้ EF สู่ครูและโรงเรียนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ คือโรงเรียนเอกชนในพื้นที่อำเภอชุมแพ อำเภอหนองเรือ อำเภอภูเวียง และอำเภอภูผาม่าน โดยมุ่งเป้าที่เครือข่ายโรงเรียนการกุศล (โรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งเพื่อผู้ยากไร้ เช่น โรงเรียนในความอุปถัมภ์ของวัด) มีโรงเรียนวัดศรีจันทร์เป็นเป้าหมายใหญ่ในการขยายความรู้...

นายจิตกร มาแก้ว ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สพป.ระยอง เขต 1

เดิม ศน.จิตกร มาแก้ว เป็นครูซึ่งได้รับการอบรมครูแกนนำ EF แล้วมาเป็นวิทยากร EF ต้นแบบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ให้ความรู้ EF แก่ครู ก.ในภาคตะวันออก อบรมครูปฐมวัยทั้งจังหวัด เมื่อมาเป็นศน. ก็เข้าร่วมการขับเคลื่อน EF ในระดับจังหวัดซึ่งจังหวัดระยองเป็นพื้นที่นำร่องเรื่องการพัฒนา EF ร่วมกับภาคเอกชน คือ บริษัทดาว ประเทศไทย และมีการขับเคลื่อนร่วมกันทุกภาคส่วน...
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...