สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

Stay Connected

69,770แฟนคลับชอบ

RLG-EF Admin

249 โพสต์40 ความคิดเห็น

พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยการอ่าน

หลายปีที่ผ่านมาสังคมไทยเราพูดกันมาก ถึงการเตรียมความพร้อมเด็กไทยสู่โลกศตวรรษที่ 21 ด้วยสถานการณ์ทุกแง่มุมในปัจจุบันต่างชี้ไปในทิศทางที่บอกเราว่าโลกข้างหน้านั้น “อยู่ยาก” ท้าทาย อัดแน่นไปด้วยข้อมูลมหาศาล หากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความรู้หาได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส คนรู้มากที่สุดจะไม่ใช่คนที่เก่งที่สุดอีกต่อไปความพยายามในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กไทยก็พูด และแก้กันอย่างหนักมาโดยตลอด แต่สภาวะความเป็นจริงของเด็กไทยวันนี้ก็ยังสาหัส นี่ยังไม่นับประเด็นที่ประเทศไทยเรานั้นกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบในปี 2573 เด็กไทยของเราที่จะเติบโตเป็นพลเมืองรุ่นใหม่จะต้องแบกรับภาระหนักกว่าคนรุ่นพ่อแม่เป็นเท่าตัว ประเทศไทยวันนี้จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาเด็กๆของเรา เพื่อสร้าง “คนคุณภาพ” ที่ไม่ใช่แค่ผู้มีความรู้มากเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นผู้มีทักษะความคิด ความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตของตนเอง ไม่ตกเป็นเหยื่อของกระแสสังคมที่คงจะเชี่ยวกรากกว่าทุกวันนี้ไปให้ได้ดาวน์โหลดเอกสาร คลิก

ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ :Executive Functions = EF

คนที่ “คิดเป็น ทำงำนเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหำเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และหำควำมสุขเป็น” คือเป้าหมายของระบบการศึกษาและการสร้างพลเมืองของทุกสังคม ใช่หรือไม่ ? และคนแบบนี้ ย่อมประสบความสาเร็จในการเรียน ชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว หรือในการทางานประกอบอาชีพด้วย ใช่หรือไม่ ในชีวิตจริง พวกเราล้วนมีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า คนที่ประสบความสาเร็จมักจะมีคุณลักษณะเหล่านี้... - คิดมีเหตุมีผล เป็นระบบ คิดวิเคราะห์ได้ เมื่อต้องตัดสินใจก็มีหลักคิด มีการพิจารณาไตร่ตรองดี - ทำงานเป็น...

ตรวสอบรายชื่อการลงทะเบียนเข้างาน EF SYMPOSIUM 2017

รายชื่อผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงาม EF SYMPOSIUM 2017 สำหรับท่านที่ทำการลงทะเบียนออนไลน์ * เป็น ID สำหรับท่านที่ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ * สำหรับกาลงทะเบียนแบบกลุ่มจะมีการแจ้งทางอีเมล และอัพเดทในหน้าเว็บอีกครั้ง * หากตรวสอบแล้วไม่พบชื่อของท่าน กรุณาแจ้งโดยตรงที่โทร 093 848 9087 หรือ อีเมลแจ้งมาที่ efsymposium@gmail.com ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ วันที่ 6/11-20/11 ชื่อ นามสกุล Symposium 2017 ID ลงทะเบียนผ่าน นางสาวนิสา บุญทวี #7830 Web Site Nichada Thaweesil #7836 Web...

ใช้ศิลปะพัฒนาความคิดยืดหยุ่นสร้างสรรค์

วิธีใช้กิจกรรมงานศิลปะพัฒนาความคิดยืดหยุ่นสร้างสรรค์ให้ลูกวัยอนุบาล ก่อนอื่น คุณครูต้องเข้าใจพัฒนาการด้านการทำงานศิลปะของเด็กด้วยว่า วัยใดทำอะไรได้แล้ว ดังนี้ ช่วงวัย 3 ขวบ สามารถละเลงหรือระบายสี วาดรูป หรือปั้นตามจินตนาการ ช่วงวัย 4 ขวบ ละเลงหรือระบายสี วาดรูป หรือปั้นตามจินตนาการ และเล่า อธิบายสิ่งที่ทำได้ สามารถให้ความเห็นเมื่อดูงานศิลปะของคนอื่นได้ บอกหรือชี้ได้ว่าสีใดอ่อน สีใดเข้มประดิษฐ์สิ่งของหรือของเล่นตามจินตนาการของตัวเองได้ โดยใช้วัสดุใกล้ตัว ช่วงวัย 5 ขวบ สามารถบอกชื่อรูปทรง รูปร่าง...

ทักษะ EF กำกับจริยธรรม คุณธรรมในสังคม

เรื่องของการมีคุณธรรม จริยธรรมนั้น เกี่ยวข้องกับความสามารถในการกำกับควบคุมตัวเอง (Self-Regulation) ซึ่งจะเป็นตัวยับยั้งความต้องการของคนเรา กำกับให้เราปฏิบัติตามบรรทัดฐานสังคม ไม่ละเมิด ดร.รัสเซล เอ บาร์กเลย์ (Russell A. Barkley) นักจิตวิทยาคลินิกชี้ว่า การมีคุณธรรม จริยธรรมนั้น เกี่ยวข้องกับความสามารถในการกำกับควบคุมตัวเอง (Self-Regulation) ไตร่ตรองความต้องการ และคอยกำกับให้เราปฏิบัติตามบรรทัดฐานสังคม ไม่ละเมิดกฎหมาย นึกถึงใจเขาใจเรา และช่วยให้รู้ผิดรู้ถูก ดร.บาร์คลีย์ ชี้ว่า การที่คนเราจะครองตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงามได้นั้น...

ความยั้งคิด สำคัญต่อชีวิตแค่ไหน

ทักษะสมองด้านยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibition) จะช่วยป้องกันเราจากการเป็นสัตว์โลกที่มีแต่สัญชาตญาณและทำทุกอย่างตามที่อยาก ให้เป็นมนุษย์ที่รู้คิด มีเหตุมีผล มีกฎ กติกา เคยเห็นหรือได้ยินข่าว“รถที่เบรกแตก” ไหม นั่นล่ะ คนที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เป็นอย่างนั้น “อุบัติเหตุชีวิต” จาก “เบรกชีวิตแตก” นั้น เกิดได้ง่ายมาก เพราะถ้าขาดความยั้งคิดไตร่ตรองก็อาจทำสิ่งใดๆไปโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาตอบโต้สิ่งต่างๆ ไปแบบฉับพลัน ไม่คิดหน้าคิดหลัง ซึ่งผลที่ตามมาก็อาจสร้างปัญหาให้ตัวเองได้ไม่ว่าในระยะสั้นหรือระยะยาว Inhibitory Control หรือ การยั้งคิดไตร่ตรอง คือ...

ทำไมเราต้องฝึกยืดหยุ่นความคิดมันสำคัญต่อชีวิตอย่างไร

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าลูกเรา”หัวสี่เหลี่ยม” ไม่รู้จักการยืดหยุ่นพลิกแพลง การยืดหยุ่นความคิด (Shifting/Cognitive Flexibility) เป็น 'ทักษะสมอง' EF ที่ว่าด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนจุดสนใจ เปลี่ยนโฟกัสหรือเปลี่ยนทิศทางไปตามที่ตนต้องการ หรือไปตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยน คนที่สมองไม่มีทักษะยืดหยุ่น มักมีปัญหาในเรื่องการปรับตัว ทุกข์ง่าย อึดอัดคับข้องเพราะติดอยู่กับสิ่งเดิมๆ เรื่องเดิมๆ พลิกแพลงไม่เป็น คิดว่าโลกนี้มีทางออกแค่ทางเดียว ถ้าจะเปรียบ Shift/Cognitive Flexibility หรือการยืดหยุ่นความคิด ก็เสมือนการ “เปลี่ยนเกียร์” เวลาที่ขับรถ เราขับมาด้วยความเร็ว...

ถ้าลูกไม่มีความมุ่งมั่นอดทน ชีวิตอลวนแน่

Goal–Directed Persistence (การมุ่งเป้าหมาย) เป็นทักษะสมองที่สำคัญเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของชีวิต ถ้าลูกของเราไม่มีความมุ่งมั่นพากเพียร ชีวิตข้างหน้ามีปัญหาแน่ ผู้ใหญ่บ่นกันนักว่า เด็กสมัยนี้ไม่มีน้ำอดน้ำทนเรื่องหนักไม่เอา เรื่องเบาไม่สู้ งานยากก็ถอย เจออุปสรรคก็ล้มเลิกกลางคัน แถมเมื่อล้มแล้วก็จุก..ลุกไม่ขึ้น ความอดทนมุ่งมั่น เป็นทักษะสมอง EF ที่เรียกว่า Goal–Directed Persistence เป็นทักษะสมองในการยึดมั่นในจุดมุ่งหมายของตน เมื่อตั้งเป้าจะทำอะไรแล้ว ก็ไม่หันเหเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมาย แม้มีอุปสรรคก็จะฝ่าฟันไปให้ได้ เมื่อล้มแล้วก็จะพยายามลุกขึ้นมาใหม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็ในงานที่ต้องฝึกฝนหรือทำในช่วงเวลายาวๆ เช่น นักกีฬาที่ตั้งเป้าหมายว่าจะต้องได้เข้าแข่งขันกีฬาระดับชาติ...
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...