สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

Stay Connected

69,770แฟนคลับชอบ

RLG-EF Admin

250 โพสต์40 ความคิดเห็น

สมาธิสั้น แอลดี คือเด็กที่มี EF บกพร่อง

Thomas E. Brown นักจิตวิทยาชื่อดังจากมหาวิทยาลัยเยล พบว่าคนที่สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder-ADHD) มีปัญหาเรื้อรังเกี่ยวกับความบกพร่องในการทำงานของทักษะสมองในการบริหารจัดการชีวิต (Executive Functions) ทำให้คนที่มีอาการนี้ ไม่สามารถจัดการกับสมองตนเองให้จดจ่อตั้งใจกับสิ่งที่ต้องทำได้” ข้อมูลจาก LynnMeltzer และKalyani Krishnan บอกว่า เด็กสมาธิสั้นและเด็กแอลดี หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning disabilities-LD) ต่างมีสมองส่วน EF...

อาร์แอลจี เร่งขับเคลื่อน EF : Executive Functions พัฒนาทักษะสมองเด็กปฐมวัย

กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) จัดงานประชุมวิชาการ RLG Symposium 2015 EF : Executive Functions ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ร่วมกับ 5 หน่วยงานหลัก คือ ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ...

ข้อแนะนำที่พ่อแม่และครูควรใส่ใจ

ในการพัฒนาทักษะ EF มีข้อแนะนำที่พ่อแม่และครูควรใส่ใจ ดังต่อไปนี้ ในการพัฒนาทักษะ EF อาศัยความเข้าใจ บนสัมพันธภาพที่อบอุ่น มีความรักความเมตตา ความสม่ำเสมอของพ่อแม่ และครูเป็นพื้นฐาน พัฒนาทักษะ EF ให้ลูกสม่ำเสมอในกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ประเมินว่าลูกมี EF ในด้านใดบ้างเป็นจุดแข็ง ด้านใดบ้างเป็นจุดอ่อน ด้านที่เป็นจุดแข็งให้ส่งเสริมและชมเชย ด้านที่เป็นจุดอ่อนให้คอยปรับแก้ พัฒนาหรือเลือกกิจกรรมที่ช่วยพัฒนา EF แต่ละด้านที่เหมาะสมกับลูก ค่อยๆ...

พัฒนาทักษะ EF ด้วยการเต้นแอโรบิก

วารสาร Psychonomic Bulletin and Review ได้ตีพิมพ์บทความ “Benefits of Regular Aerobic Exercise for Executive Functioning in Healthy Populations” ชี้ว่า มีหลักฐานมากมายที่บอกว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกสม่ำเสมอเป็นวิธีง่ายๆที่จะทำให้คนที่มีสุขภาพปกติได้รับการพัฒนา EF” ในกลุ่มเด็กนักเรียน การเต้นแอโรบิกช่วยพัฒนาการทำงานของ Working Memory ในการจำว่าต้องทำท่าอะไรบ้าง...

วิธีส่งเสริมให้ลูกกล้าริเริ่ม ลงมือทำ

จุดเริ่มต้นหนึ่งของความสำเร็จในชีวิตคนเราอยู่ที่การกล้าริเริ่ม ลงมือทำ แม้จะฉลาดปราดเปรื่องในการคิด หรือวางแผนไว้สวยหรูเพียงไร หากไม่ลงมือทำ หรือไม่กล้าเป็นผู้ริเริ่ม ก็จะไม่มีวันประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน ความมั่นใจที่จะลงมือทำนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างเสริมให้ลูกได้ตั้งแต่วัยอนุบาล ดังนี้ เปิดโอกาสและสนับสนุนให้ลูกได้ทำในสิ่งที่อยากทำ (ถ้าดูแล้วว่าไม่มีอันตราย) และทำในสิ่งที่ทำได้ตามพัฒนาการของลูก เช่น ติดกระดุมเสื้อ ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ อย่าคิดเพียงว่าลูกยังเล็กเกินไป แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ทำให้เสียหมด (เช่นนี้ลูกก็จะขาดความมั่นใจไม่กล้าทำอะไรเอง) ชวนลูกลงมือทำสิ่งต่างๆ หรือชวนวางแผนที่จะทำกิจกรรมที่ลูกชอบในวันหยุด ขอให้ลูกช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ ที่พอทำได้...

ลูกวัยอนุบาลมีสมาธิจดจ่อแค่ไหน

แน่นอนว่าเด็กเล็กๆ ยังไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับอะไรได้ไม่นาน ซึ่งหากจะจับเด็กไปนั่งเรียนเขียนอ่านทันทีที่เข้าโรงเรียน ยิ่งเป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตามเด็กเล็กๆ วัยอนุบาลโดยธรรมชาติพัฒนาการแล้ว ก็พอจะมีสมาธิจดจ่อได้บ้างระดับหนึ่ง ดังนี้ ช่วงวัย 3 ขวบ เขาจะเปิดหนังสือดูรูปหรือนิทานภาพอย่างต่อเนื่องได้นานประมาณ 3-5 นาที โดยมีผู้ใหญ่ชี้ชวน ฟังคนอื่นพูด แล้วโต้ตอบด้วยวาจาหรือการกระทำ มีสติจดจ่อในการเล่นหรือทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องได้นานประมาณ 5-10 นาที ช่วงวัย 4 ขวบ เปิดหนังสือดูภาพด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องได้นานประมาณ 5-10 นาทีหรือจนจบ...

วิธีดูแลอารมณ์ลูกเพื่อให้ EF พัฒนา

การดูแลพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล มีความสำคัญต่อการสร้างพื้นฐาน EF ที่ดี เด็กที่มีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีจะกำกับควบคุมตัวเองได้ดี มีความยับยั้งชั่งใจ มีสมาธิจดจ่อต่อการเรียนรู้ ดังนั้นพ่อแม่ คุณครูต้องช่วยเด็กให้มีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี เด็กจึงจะมีจิตใจที่แจ่มใส ร่าเริง มีความสุข พร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ ด้วยวิธีการต่อไปนี้ คุณพ่อคุณแม่ ผู้ใหญ่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับลูก พร้อมเข้าใจและรับฟัง เป็นแบบอย่างที่ดีในการควบคุมอารมณ์ ไม่ฉุนเฉียวง่าย ไม่ก้าวร้าวรุนแรง เมื่อลูกอาละวาด คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น สงบ ตั้งสติ ...

คุณภาพห้องเรียนปฐมวัยคือห้องเรียนที่ส่งเสริมทักษะEF

มีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า การจัดการห้องเรียนของครูมีผลต่อพฤติกรรมของเด็กๆ โดยเฉพาะในด้านการกำกับควบคุมตนเองรวมถึงการมีสมาธิจดจ่ออยู่กับงานที่ทำ Clancy Blair และ Rachel Peters Razza ชี้ไว้ว่า คุณภาพของการจัดการห้องเรียนขึ้นอยู่กับพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ การสนับสนุนด้านอารมณ์ (Emotional Support) หมายถึง ความไวของครูต่อนักเรียนและความพยายามที่จะจัดการให้ห้องเรียนเหมาะกับความต้องการของเด็ก การสนับสนุนด้านการสอน (Instructional Support) คือ แนวทางการสอนของครูรวมถึงการที่ครูทำตัวเป็น “นั่งร้าน”ให้เด็กๆ คืออนุญาตให้เด็กได้ซักถาม ให้ความคิดเห็นสะท้อนกลับแก่เด็กๆ...
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...