สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก EF สำหรับพ่อ-แม่

EF สำหรับพ่อ-แม่

ลูกเล็กฝึกให้ควบคุมอารมณ์ได้แล้วจริงหรือ?

การควบคุมอารมณ์จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเด็กรู้จักยับยั้ง (Inhibit) รู้จักหยุดคิดและควบคุมการกระทำของตัวเอง ทักษะสำคัญอีกอันที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมอารมณ์ ก็คือการคิดยืดหยุ่น เปลี่ยนความคิดได้ ไม่ยึดติดความคิดเดิม เมื่อเด็กถูกเพื่อนแกล้งให้เจ็บ หากเด็กไม่มีทักษะการควบคุมอารมณ์ ก็จะตีเพื่อนกลับไปทันที แต่ถ้าเด็กมีการควบคุมอารมณ์ที่ดีจะใช้ทักษะการยับยั้งตนเองไม่ให้โต้ตอบกลับไปแบบเดียวกัน การหยุด (ยับยั้ง)ได้ เป็นขั้นตอนอันดับแรกของการควบคุมอารมณ์ หากขาดทักษะด้านการยับยั้ง (Inhibit) แล้วการควบคุมอารมณ์ก็จะเกิดได้ยาก เมื่อเด็กหยุดและควบคุมตัวเองได้แล้ว ทักษะสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมอารมณ์ คือ การคิดยืดหยุ่น เปลี่ยนความคิดได้ไม่ยึดติดความคิดเดิม แทนที่จะครุ่นคิดถึงสิ่งที่ทำให้โกรธก็เปลี่ยนไปคิดในแง่อื่นการหยุดได้จะช่วยให้อารมณ์โกรธเย็นลง คลายลงและค่อยๆ คิดหาหนทางแก้ปัญหาที่ดีกว่าในระยะยาว ทักษะด้านการยับยั้ง (Inhibit)...

วิธีฝึกเด็กให้รู้จักควบคุมอารมณ์

เด็กที่รู้จักควบคุมอารมณ์จะกำกับควบคุมตนเองได้ดี จะส่งผลดีในระยะยาว มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในด้านการเรียน การทำงาน รวมทั้งมีชีวิตคู่ที่ราบรื่น มีสุขภาพกายและใจที่ดีในวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่อย่าละเลยที่จะฝึกลูกเล็กให้รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองในสถานการณ์ต่างๆ เด็กที่รู้จักควบคุมอารมณ์จะกำกับควบคุมตนเองได้ดี มีโอกาสประสบความสำเร็จในหลายๆ ด้านได้ดีกว่าดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อย่าละเลยที่จะฝึกลูกเล็กให้รู้จักควบคุมตนเองในสถานการณ์ต่างๆเมื่อลูกหงุดหงิดด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อยควรปลอบใจและช่วยให้ลูกทำสำเร็จด้วยตัวเอง แล้วอย่าลืมชมเชย สอนให้ลูกเข้าใจว่าคนเราสามารถแสดงอารมณ์โกรธ หงุดหงิดได้แต่เพียงการแสดงออกนั้นไม่ช่วยแก้ปัญหา วิธีที่ถูกคือหาทางแก้ปัญหาให้ตรงจุดต่างหาก หากลูกผิดหวังเสียใจ ให้ลูกเล่าว่าเขารู้สึกอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ปลอบใจลูกและแสดงให้เขาเห็นว่าเราเข้าใจความรู้สึกนั้นและอธิบายให้ลูกรู้ว่าความรู้สึกอย่างนี้เดี๋ยวมันจะค่อยๆ หายไป ชวนให้เขาปรับอารมณ์สู่ภาวะปกติ อย่าปล่อยให้ลูกโกรธ ผิดหวัง เสียใจนานเกินไป เพราะไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาสมอง คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกอดทนต่อสิ่งล่อใจ พยายามจดจ่อกับงานจนเสร็จ...

Working Memory จะงอกงามหากได้รับปัจจัยเสริม

ความสามารถด้านความจำขณะใช้งาน หรือ Working Memory ของลูกจะงอกงามดี หากมีปัจจัยที่เหมาะสม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถจัดสรรให้ลูกได้  คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมความสามารถด้านความจำขณะใช้งาน Working Memory ของลูกได้โดย 1. จัดกิจกรรมที่ทำให้ลูกได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้าน 2. กิจกรรมจะต้องมีความหมายกับตัวลูก คือเขาชอบ สนใจ จึงจะเข้าไปฝังใน memory จนเป็นตัวตนของลูก 3. กิจกรรมจะต้องสอดคล้องกับช่วงวัยและลักษณะเฉพาะในการเรียนรู้ของลูก 4. ลูกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น มีความสุข มีความผูกพันใกล้ชิดกับพ่อแม่ 5. ลูกได้รับประสบการณ์จากกิจกรรมที่หลากหลายสม่ำเสมอ เซลล์สมองจะได้รับการพัฒนา...

กิจกรรมฝึกความคิดยืดหยุ่นของเด็กอนุบาล

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อจะจัดกิจกรรมฝึกความคิดยืดหยุ่นให้ลูก พร้อมตัวอย่างกิจกรรมฝึกความคิดยืดหยุ่นที่คุณครูจัดให้เด็กอนุบาล ข้อคิดเมื่อคุณแม่ต้องการฝึกลูกให้ให้มีความคิดยืดหยุ่นดังนี้ คุณพ่อคุณแม่พยายามตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้ลูกใช้ความคิดหลากหลาย ให้ลูกได้เจออุปสรรค และได้คิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ให้ลูกได้รับประสบการณ์จากสื่อที่หลากหลาย เช่น หนังสือ ทีวี อินเทอร์เน็ต ของจริง สถานที่เที่ยวต่างๆฯลฯ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก ให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่มั่นใจไว้วางใจในตัวลูก คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ เห็นความสำคัญของความคิดยืดหยุ่น เป็นแบบอย่างที่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกมีกิจกรรมร่วมกับคนอื่นๆ เพื่อฝึกความคิดที่ยืดหยุ่น เขาจะได้เห็นว่าแต่ละคนมีความคิดที่แตกต่างหลากหลาย เด็กจะเรียนรู้ว่าไม่จำเป็นต้องคิดแบบเดียว มีวิธีคิดที่หลากหลายมากมายให้เรานำไปใช้ได้ให้สำเร็จได้ “พยายามตั้งโจทย์หรือมีคำถามที่เป็นคำถามปลายเปิดที่ทำให้เด็กต้องใช้ความคิดหลากหลายมีทางเลือก” “เปิดโอกาสให้เด็กได้เจออุปสรรค ได้ใช้ความคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง” “เปิดโอกาสให้เด็กได้เจออุปสรรค ได้ใช้ความคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง”

ความจำที่ทำให้เป็นคนเก่ง

หากอยากให้ลูกมีความจำที่มีความหมาย เอาไปใช้กับชีวิตได้ ก็จำเป็นจะต้องสร้างโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้าน โรงเรียนที่เน้นให้เด็กอ่านออกเขียนได้ เด็กจะขาดโอกาสในการพัฒนาความจำขณะใช้งาน (Working Memory) เพราะไม่ได้ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ทุกด้านซึ่งเป็นประตู่สู่ความจำ ขาดประสบการณ์ที่หลากหลายเส้นใยสมองก็จะไม่พัฒนางอกงามหากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกมีความจำที่มีความหมายเอาไปใช้กับชีวิตต่อไปภายหน้าได้ ต้องสร้างโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้าน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ความเลือกโรงเรียนที่ใช้กิจกรรมที่เรียกว่า SI หรือ Sensory Integration ซึ่งเป็นกิจกรรมกระตุ้นประสาทสัมผัสรับรู้ของเด็กทุกด้าน เมื่อรับรู้แล้วส่งต่อข้อมูลไปที่สมอง สมองเก็บไว้เป็นความจำความรู้ เมื่อใดที่ต้องการใช้งาน สมองก็จะดึงข้อมูลเหล่านั้นออกมา เด็กบ้านนอกอยู่กับธรรมชาติเรียนรู้สิ่งรอบตัว ได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้านซึ่งเป็นจุดตั้งต้นให้เกิดความจำที่มีความหมายต่อตัวเด็ก สร้างความจำที่พาไปสู่ความเชี่ยวชาญ ในขณะที่เด็กในเมืองไม่มีประสบการณ์แบบนั้น โรงเรียนจึงต้องพยายามสร้างกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ระบบสัมผัสทุกด้านไม่ใช่ให้เด็กเอาแต่นั่งท่องนั่งคัดอยู่แค่นั้น คุณพ่อคุณแม่ควรจัดให้ลูกได้เล่นอย่างอิสระ...

“ความจำกัด”สร้างความคิดยืดหยุ่นสู่ความคิดสร้างสรรค์

การกระตุ้นให้เด็กคิดยืดหยุ่นจะนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ ทำความเข้าใจเรื่องนี้จากกิจกรรมในชั้นเรียน “ข้อจำกัด” เป็นสิ่งเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางความคิดอันนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ได้ เช่น ในกิจกรรมประดิษฐ์ของจากวัสดุเหลือใช้ หากวัสดุที่จัดเตรียมไว้ไม่ครบ แทนที่คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูจะไปจัดการจัดหามาให้ ถ้าถามกลับว่า “จะใช้อะไรทดแทนได้ไหม”จะพบว่า เด็กจะพยายามคิดหาสิ่งทดแทน โดยใช้ความจำจากที่เคยทำแล้วนำมาคิดใหม่ ค้นหาทางใหม่ๆ การให้โอกาสพัฒนาความคิดยืดหยุ่นของเด็กบนข้อจำกัดเช่นนี้ จะเป็นการฝึกที่ได้ผล เราอาจพบว่า สิ่งที่เด็กหามาทดแทนนั้นน่าทึ่ง คาดไม่ถึง เมื่อฝึกบ่อยๆ เด็กจะไม่รู้สึกว่านั่นคือการขาดแคลน แต่กลับเป็นความท้าทายที่น่าลุ้น และเมื่อเขาทำได้ดีก็จะเกิดเป็นความภาคภูมิใจในตนเอง “เด็กได้ใช้ความจำจากการเคยทำเคยมีประสบการณ์ แล้วเอามาปรับใช้ โดยคุณครู พ่อแม่ให้โอกาสเด็กได้ใช้ความคิดของตัวเอง โยนคำถามกระตุ้น...

“กิจกรรมวิเคราะห์ภาพถ่าย” : คำถามปลายเปิดที่ฝึกความคิดยืดหยุ่น

คำถามปลายเปิดเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะกระตุ้นเด็กให้ดึงความจำ (Working Memory) ออกมาใช้ แล้วคิดยืดหยุ่นดัดแปลงแก้ปัญหาผู้ใหญ่ที่เข้าไปช่วยเด็กในทุกเรื่อง เด็กก็จะขาดโอกาสได้ใช้ความคิดยืดหยุ่น คำถามปลายเปิดเป็นเครื่องมือสำคัญมากที่จะสร้างโอกาสให้ลูกได้ใช้ความคิดของตัวเอง โดยดึงความจำ (Working Memory) ออกมาใช้ แล้วนำมาใช้ดัดแปลง ยืดหยุ่น คุณครูก้า (อ.กรองทอง บุญประคอง แห่งโรงเรียนจิตตเมตต์ปฐมวัย) เสนอแนะว่า กิจกรรมวิเคราะห์ถ่ายภาพ ทำได้ง่ายๆ โดยเลือกภาพมาให้เด็กดู แล้วตั้งคำถามจากรูปภาพให้เด็กคิด วิเคราะห์ เช่น ”หนูคิดว่า...

วิธีช่วยลูกจัดการกับอารมณ์

ยามที่ลูกโมโห โกรธ อาละวาด ร้องไห้เสียใจ งอแง คุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่ที่จะช่วยลูกจัดการกับอารมณ์เหล่านั้น คุณพ่อคุณแม่ที่มีสภาวะอารมณ์คงที่ มีความหนักแน่น จะช่วยให้ลูกลดความไม่สบายใจในเรื่องต่างๆ หรือสภาวะขุ่นมัวในจิตใจไปได้ ยามที่ลูกโมโห โกรธ อาละวาด ร้องไห้เสียใจ งอแงคุณพ่อคุณแม่ต้องตระหนักว่า เรามีหน้าที่ช่วยลูกจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นคุณพ่อคุณแม่ที่มีสภาวะอารมณ์มั่นคงหนักแน่น จะช่วยให้ลูกลดความไม่สบายใจในเรื่องต่างๆไปได้ง่ายการโอบกอดจะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและไว้วางใจที่จะเล่าความไม่สบายใจต่างให้ฟังที่สำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องยอมรับอารมณ์ต่างๆของลูก “แม่เข้าใจว่าลูกโกรธ” แล้วค่อยชวนลูกหาวิธีจัดการกับอารมณ์ต่างๆ “แต่เราจะไม่ขว้างของ ลูกอาจจะเดินออกไปก็ได้นะ” ถ้าลูกมีอาการโกรธจัดและคิดจะไปทำร้ายผู้อื่นคืน คุณพ่อคุณแม่ต้องชวนคุย ถามว่าเรามีทางเลือกอื่นอะไรไหม ที่จะแก้ปัญหาโดยไม่ไปทำร้ายใครถ้าลูกให้คำตอบไม่ได้...
74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...