คุณภาพห้องเรียนปฐมวัยคือห้องเรียนที่ส่งเสริมทักษะEF

มีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า การจัดการห้องเรียนของครูมีผลต่อพฤติกรรมของเด็กๆ โดยเฉพาะในด้านการกำกับควบคุมตนเองรวมถึงการมีสมาธิจดจ่ออยู่กับงานที่ทำ

Clancy Blair และ Rachel Peters Razza ชี้ไว้ว่า คุณภาพของการจัดการห้องเรียนขึ้นอยู่กับพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่

การสนับสนุนด้านอารมณ์ (Emotional Support) หมายถึง ความไวของครูต่อนักเรียนและความพยายามที่จะจัดการให้ห้องเรียนเหมาะกับความต้องการของเด็ก

การสนับสนุนด้านการสอน (Instructional Support) คือ แนวทางการสอนของครูรวมถึงการที่ครูทำตัวเป็น “นั่งร้าน”ให้เด็กๆ คืออนุญาตให้เด็กได้ซักถาม ให้ความคิดเห็นสะท้อนกลับแก่เด็กๆ ฯลฯ

การบริหารจัดการห้องเรียนที่ดี (Classroom Management) คือ การที่ครูมีการจัดกิจวัตรในห้องเรียนที่แน่ชัดและให้ความรู้สึกมั่นคงแก่เด็ก ใช้แนวทางการพัฒนาเด็กแบบ Proactive มีการติดตามงานและความก้าวหน้าของเด็กอย่างสม่ำเสมอ (Rimm-Kaufman et al., 2009)

งานวิจัยยังแนะนำว่า หลักสูตรปฐมวัยที่ออกแบบให้มีการพัฒนาทักษะการกำกับควบคุมตนเอง การยับยั้งชั่งใจไปพร้อมๆกับส่งเสริมความสามารถทางการเรียน จะมีประสิทธิภาพในการช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในโรงเรียนมากที่สุด และทักษะ EF ทางด้านการยั้งคิดก็เกี่ยวพันอย่างสำคัญกับความสามารถในการเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้นและการอ่าน

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นข้อมูลให้คุณครูนำไปปรับใช้ในการจัดการห้องเรียนที่คุณครูรับผิดชอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาเด็ก

 

Ref : Clancy Blair and Rachel Peters Razza, Relating Effortful Control, Executive Function, and False Belief Understanding to Emerging Math and Literacy Ability in Kindergarten •First published: 23 March 2007

 

“ทักษะ EF ทางด้านการยั้งคิดเกี่ยวพันอย่างสำคัญกับความสามารถในการเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้นและการอ่าน”