Rakluke Executive Functions [EF] https://www.rlg-ef.com Executive Functions :"คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็นและมีความสุขเป็น Fri, 08 Dec 2023 09:20:52 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.3 https://www.rlg-ef.com/wp-content/uploads/2023/12/cropped-หัวไข่กลมพื้นแดง_0-32x32.png Rakluke Executive Functions [EF] https://www.rlg-ef.com 32 32 นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%a1%e0%b8%99-%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%b5-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b3/ https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%a1%e0%b8%99-%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%b5-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b3/#respond Thu, 13 Oct 2022 15:30:38 +0000 https://www.rlg-ef.com/?p=17957 โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒ […]]]>

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ 4 ด้านได้ อีกทั้งสอดคล้องกับแนวทางจิตศึกษาซึ่งโรงเรียนร่วมเป็นเครือข่าย ผอ.กษมนวางแผนจะพัฒนา EF ระดับอนุบาลให้เข้มแข็งและขยายต่อเนื่องไปยังชั้นประถมรวมทั้งจะร่วมกับศน.ขับเคลื่อนความรู้ EF ในเขตพื้นที่การศึกษาและเสนอให้มีการขับเคลื่อนในภาพรวมของจังหวัดด้วย

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • นำกระบวนการพัฒนาทักษะสมอง EF สู่ห้องเรียน ให้ความรู้พื้นฐานแก่ครูปฐมวัยแนะนำเรื่องการจัดประสบการณ์สาหรับเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมและส่งเสริมทักษะ EF ทั้ง 9 ด้าน
  • ให้ครูนำเรื่องการพัฒนาEFให้เด็กนักเรียนกำหนดเป็นประเด็นท้าทาย ระบุไว้ในข้อตกลงการพัฒนางาน (PA – Performance Agreement การประเมินผลการปฏิบัติงาน)เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ
  • นำเสนอเรื่องEF ในกระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัยแก่เขตพื้นที่การศึกษาสกลนครเขต 1 และเสนอให้มีการขับเคลื่อนในภาพรวมของจังหวัด นำเสนอการปรับแผนการจัดประสบการณ์ในเชิงนโยบายแก่ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสกลนคร
  • ปรับปรุงสนามเด็กเล่น เพื่อส่งเสริม EF ให้เด็กนักเรียน

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

  • ขับเคลื่อนเรื่องEF ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอโพนนาแก้ว ร่วมกับโรงพยาบาลโพนนาแก้ว ทั้งในการพัฒนาเด็กปฐมวัยและการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม
  • ประสานกับเครือข่ายจิตศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริม EFทำPLC ร่วมกัน

การต่อยอด/นวัตกรรม/ วิจัย

  • จะร่วมกับศน.ขับเคลื่อนความรู้ EF ในเขตพื้นที่การศึกษาและร่วมขับเคลื่อนในภาพรวมของจังหวัด
  • จะพัฒนา EF ในระดับชั้นอนุบาลให้ชัดเจนและมีความต่อเนื่องกับประถม กำลังขยายความรู้ EF สู่ครูชั้นเรียนอื่นๆ ใช้กระบวนการเรียนการสอนจิตศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนา EF

การแก้ปัญหา

ปัญหาสถานการณ์โควิด ให้ครูใช้กิจกรรมงานบ้าน งานครัว งานสวน พัฒนา EF เด็ก เป็นกิจกรรมที่เด็กทำร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน โดยครูกำกับติดตาม พบว่าช่วยแก้ปัญหาเรื่องเด็กติดโทรศัพท์

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • ตนเองได้เห็นความสำคัญของทักษะสมอง EF อย่างมาก เรียนรู้เข้าใจเรื่องพัฒนาการสมองทำให้เปิดโอกาสแก่ผู้อื่น เปิดโอกาสแก่เด็ก รับฟังผู้อื่นมากขึ้น
  • ครูเข้าใจเรื่องEF และสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริม EF ในชั้นเรียนได้
  • เด็กสมาธิสั้นสามารถนิ่งขึ้น ทำกิจกรรมได้นานขึ้น ส่วนเด็กปกติก็มีสมาธิที่ยาวนานขึ้น มีทักษะในการคิดการแก้ปัญหา
]]>
https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%a1%e0%b8%99-%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%b5-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b3/feed/ 0
นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a8%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b4-%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b9%87%e0%b8%99-%e0%b8%9c%e0%b8%b9/ https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a8%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b4-%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b9%87%e0%b8%99-%e0%b8%9c%e0%b8%b9/#respond Thu, 13 Oct 2022 15:25:48 +0000 https://www.rlg-ef.com/?p=17954 ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเท […]]]>

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา EF อย่างต่อเนื่อง  

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • อบรมให้ความรู้EF แก่ครูปฐมวัยโรงเรียนบ้านหนองบ้วยและให้ครูนำความรู้ EF มาใช้ในห้องเรียน ในการเรียนการสอน โดยบูรณาการกับโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
  • ประชุมผู้ปกครองให้รับทราบแนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัยไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การจัดประสบการณ์ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนมีความเชื่อมโยงกัน

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

แลกเปลี่ยนความรู้ EF กับศึกษานิเทศก์ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี และเพื่อนผู้บริหาร เสนอความคิดในการอบรมครูเรื่องทักษะสมอง EF

การติดตาม/นิเทศ/coaching

ครูในโรงเรียนได้รับการนิเทศติดตาม ให้คำแนะนำเรื่อง EF จากศน. ซึ่งมานิเทศติดตามโครงการบ้านนักวิทย์น้อย ซึ่งมีกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงส่งเสริม EF ด้วย

การต่อยอด/ นวัตกรรม/ วิจัย

ขยายความรู้EF ให้ครูที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วยเพื่อให้เด็กมีการพัฒนา EF อย่างต่อเนื่อง เมื่อมาเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย

การแก้ปัญหา

ขาดวิทยากรที่จะให้ความรู้ EF แก่ครูอย่างต่อเนื่อง ต้องประสานกับศน.ในเขตพื้นที่ให้เป็นที่ปรึกษาแก่ครู

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • ครูเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเองมากขึ้น ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ
  • ตนเองได้เติมความรู้ รู้สึกภูมิใจอย่างมากที่สามารถถ่ายทอดความรู้ EF ให้ครูเข้าใจ ยิ่งได้รับความรู้ก็ยิ่งถ่ายทอดได้ง่ายขึ้น และทำให้กระบวนการจัดประสบการณ์ของครูไปสู่เด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
]]>
https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a8%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b4-%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b9%87%e0%b8%99-%e0%b8%9c%e0%b8%b9/feed/ 0
นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%95-%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b3%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3/ https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%95-%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b3%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3/#respond Thu, 13 Oct 2022 15:20:35 +0000 https://www.rlg-ef.com/?p=17951 ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระด […]]]>

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง โดยครูคอยตั้งคำถามกระตุ้นเด็กให้คิดได้หาคำตอบ นอกจากนี้ผอ.ทวิตยังได้ขยายความรู้ EF แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดและศธจ. ให้ทราบถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะสมอง EF เสนอให้พัฒนาครูปฐมวัยทั้งจังหวัดสุโขทัย

ในปี 2565 ผอ.ทวิตจะสนับสนุนให้ครูใช้ความรู้ EF เขียนแผนการเรียนการสอนเต็มรูปแบบ และคิดจะขยายความรู้ EF ไปสู่พ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อให้มีการพัฒนาเด็กที่สอดคล้องกับที่โรงเรียนด้วย

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • ขยายความรู้ EF แก่ครูปฐมวัยในโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล
  • แลกเปลี่ยนปรับวิธีคิดของครูให้เข้าใจเรื่องการพัฒนาสมอง EF
  • ให้ความรู้ผู้ปกครองในการประชุมผู้ปกครองก่อนเปิดภาคเรียนให้เข้าใจถึงการพัฒนาทักษะสมองEF สำหรับเด็กปฐมวัย

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

เสนอองค์การบริหารส่วนจังหวัดและศธจ.จังหวัดสุโขทัย ให้ทราบถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย เสนอให้พัฒนาครูปฐมวัยทั้งจังหวัดสุโขทัย

การติดตาม/นิเทศ/coaching

คอยแนะนำช่วยเหลือครูในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะ EF

การต่อยอด/นวัตกรรม/ วิจัย

จะสนับสนุนให้ครูใช้ความรู้ EF เขียนแผนการเรียนการสอนเต็มรูปแบบ และคิดจะขยายความรู้ EF ไปสู่พ่อแม่ผู้ปกครอง

การแก้ปัญหา

  • การยอมรับของครู ใช้การสั่งการไม่ได้ ครูจะต่อต้าน โดยเฉพาะทางด้านวิชาการที่ครูยึดหลักสูตรแกนกลางเป็นหลัก ต้องให้ครูได้ร่วมรับรู้เข้าใจ ผอ.ชี้ให้ครูเห็นข้อดี รับฟังความคิดเห็น แล้วนำมาปรับเป็นแนวนโยบายของโรงเรียน  ส่วนผู้ปกครอง ต้องยกงานวิจัยมาอ้างอิงให้เกิดความเชื่อถือ เช่นงานวิจัยที่บอกว่าการเร่งอ่านเขียนจะส่งผลเสียต่อเด็กอย่างไร
  • ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กไม่ให้ความสำคัญกับเด็กปฐมวัย ไม่จ้างครูปฐมวัยโดยตรง หรือให้ครูปฐมวัยไปช่วยงานประถมและงานอื่นๆ ทำให้อนุบาลไม่มีคุณภาพ ซึ่งส่งผลให้เด็กไปเรียนต่อโรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนในเมือง เด็กลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนโรงเรียนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้  ผอ.ทวิตกลับมองว่าอนุบาลเป็นจุดขายของโรงเรียนและมีความสำคัญมาก หากโรงเรียนพัฒนาอนุบาลได้ดี พ่อแม่ผู้ปกครองก็อยากให้ลูกเรียนต่อ รวมทั้งเด็กเองก็ไม่อยากย้ายไปเรียนที่อื่น จึงทุ่มเทให้กับการพัฒนาเด็กปฐมวัย เคยทำสำเร็จจนนักเรียนทั้งโรงเรียนมียอดเพิ่มขึ้นมาแล้ว

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • ครูเปลี่ยนวิธีการ จากสั่งให้เด็กทำ สอนให้คิดตาม เป็นกระตุ้นให้เด็กคิด ให้เด็กทำด้วยตัวเอง  ครูสะท้อนว่าใจเย็นมากขึ้น ฟังเด็กมากขึ้น ไม่ตัดสินเด็กจากสิ่งที่เด็กทำ ไม่ประเมินเด็กตรงๆ ว่าทำได้หรือไม่ได้ ผ่านหรือไม่ผ่าน
  • เด็กปฐมวัยในโรงเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและมีทักษะ EF
  • ได้รับเสียงสะท้อนจากผู้ปกครองที่เข้าใจเรื่อง EF และพัฒนาลูกปฐมวัยที่บ้านเชื่อมโยงกับการพัฒนาที่โรงเรียนว่าเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ปกครองกับครูในการร่วมมือกันพัฒนาลูกหลาน
  • ตนเองมีความสุขที่ได้ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูผู้ปกครอง ภาคภูมิใจที่เห็นเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและมี EF
]]>
https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%95-%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%b5-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b3%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3/feed/ 0
นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา  https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b9%8c-%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%86%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89/ https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b9%8c-%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%86%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89/#respond Thu, 13 Oct 2022 15:14:31 +0000 https://www.rlg-ef.com/?p=17947 ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรี […]]]>

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข ท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่น เป็นสิ่งแวดล้อมที่จะพัฒนาทักษะ EF ให้เด็กนักเรียน ขณะนี้ผอ.สวัสดิ์ได้นำเสนอกสศ.ทำโครงการวิจัยในเด็กปฐมวัยและประถม 2-3เรื่องการพัฒนาทักษะสมอง EF ในสถานการณ์โควิดโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้จิตปัญญาศึกษา Child-Based Learning รวมทั้งจะร่วมกับศึกษานิเทศน์ขยายความรู้ EF ให้ครูทั้งโรงเรียน

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • สนับสนุนให้ครูปฐมวัยโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์เข้าอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG
  • สนับสนุนให้ครูปฐมวัยใช้ความรู้ EF จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริม EF ให้เด็ก
  • ดำเนินการปรับปรุงสนามเด็กเล่นของโรงเรียนเพื่อให้เด็กนักเรียนได้เล่นอิสระอย่างมีความสุขและปลอดภัยเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

  • สื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายจิตศึกษา โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
  • ประสานกับศน.พื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5 ในการให้ความรู้ EF แก่ครูทั้งโรงเรียน

การติดตามนิเทศ coaching

ติดตาม สนับสนุน ให้คำแนะนำในการจัดการเรียนการสอนของครูปฐมวัย

การต่อยอดนวัตกรรม วิจัย

  • เสนอโครงการวิจัยต่อกสศ.เมื่อเดือนตุลาคม 2564  เรื่อง “การพัฒนาทักษะสมอง EF ในสถานการณ์โควิดโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้จิตศึกษา Child-Based Learning ในเด็กปฐมวัยและประถม 2-3”
  • จะร่วมกับศน.ขยายความรู้เรื่อง EF สู่ครูทั้งโรงเรียน ผ่านการประชุมการจัดการเรียน On hand- Online

การแก้ปัญหา

การนำความรู้ EF สู่ครูเพื่อให้เกิดการปฏิบัติในชั้นเรียนทั้งโรงเรียนยังทำได้ยากหากไม่ใช่นโยบายที่มาจากกระทรวงฯ  แต่ถ้าศน.ร่วมให้ข้อมูล แนะนำ ครูจะเชื่อถือเพราะศน.เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิชาการ รวมทั้งพัฒนาร่วมไปกับโรงเรียนเครือข่าย ก็จะทำให้ครูเกิดความเชื่อมั่น เห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม นำความรู้ EF ไปสู่การปฏิบัติได้

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

ครูปฐมวัยมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กมากขึ้น พูดจาอ่อนโยนมากขึ้น

]]>
https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b9%8c-%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%86%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89/feed/ 0
นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%8d-%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8d-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b3/ https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%8d-%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8d-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b3/#respond Thu, 13 Oct 2022 15:08:46 +0000 https://www.rlg-ef.com/?p=17945 โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียน […]]]>

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล ให้ครูบูรณาการกับการเรียนแบบ PBL ทำกิจกรรมที่ส่งเสริม EF ซึ่งก็ทำให้ครูได้เข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้นและรู้จักสังเกตว่าเด็กได้พัฒนา EF อะไรอย่างไร

 ขณะนี้ผอ.จรูญกำลังดำเนินการจัดทำห้องเรียน EF เมื่อเสร็จแล้วจะให้ผู้ปกครองเข้ามาเรียนรู้เรื่อง EF และขยายความรู้สู่เครือข่ายผู้ปกครอง

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • นำความรู้ EF ไปให้ครูประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามบริบทของโรงเรียนบ้านหนองบอน ในระดับปฐมวัย เบื้องต้นเป็นการนำไปบูรณาการในกิจกรรมจิตศึกษา การเรียนแบบ PBL และกิจกรรมสร้างเสริมพัฒนาการ
  • มอบหมายรองผู้อำนวยการดูแล ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อน การพัฒนา EF ปฐมวัย

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

จะขยายความรู้ EF สู่ครูและผู้ปกครองของโรงเรียน

การติดตาม/นิเทศ/coaching

รองผู้อำนวยติดตามดูแลการปฏิบัติของครูในชั้นเรียน ผอ.ร่วมให้คำแนะนำ

การต่อยอด/นวัตกรรม/ วิจัย

กำลังดำเนินการจัดทำห้องเรียน EFและขยายความรู้ EF สู่ผู้ปกครอง

การแก้ปัญหา

ผู้บริหารที่ได้รับความรู้แล้วไม่ได้ขับเคลื่อน อาจเป็นเพราะไม่เข้าใจ ไม่เห็นประโยชน์ ผอ.จรูญกลับเห็นว่าแม้ไม่มีนโยบายเรื่อง EF จากหน่วยงานเบื้องบน ก็สามารถนำความรู้ EF มาบูรณาการกับการเรียนการสอนของโรงเรียนตามบริบทที่เป็นอยู่ได้  เมื่อพิจารณาแล้วว่าเรื่องEF ไม่ได้ขัดกับนโยบายจากส่วนกลาง กลับช่วยเสริมให้การเรียนการสอนมีคุณภาพมากขึ้น สิ่งใดที่เป็นประโยชน์กับเด็กก็ต้องทำ ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มมากมาย เพราะ EF สามารถบูรณาการลงไปในแผนที่ครูทำอยู่แล้ว เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเหมือนกัน วิธีการเท่านั้นที่แตกต่างออกไปจากเดิม เพียงครูเข้าใจ

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

ครูได้เข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้น ได้สังเกตว่าเด็กได้พัฒนา EF อะไรอย่างไร

]]>
https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%8d-%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8d-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b3/feed/ 0
นางพิฐชญาณ์  ไพรดำ  ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%90%e0%b8%8a%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b9%8c-%e0%b9%84%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%b3-%e0%b8%a8%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%a9/ https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%90%e0%b8%8a%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b9%8c-%e0%b9%84%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%b3-%e0%b8%a8%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%a9/#respond Thu, 13 Oct 2022 14:59:27 +0000 https://www.rlg-ef.com/?p=17941 ศน.พิฐชญาณ์ได้เข้าร่วมอบรม EF กับสถาบัน RLG เมื่อ 26 -2 […]]]>

ศน.พิฐชญาณ์ได้เข้าร่วมอบรม EF กับสถาบัน RLG เมื่อ 26 -28 พฤศจิกายน 2561 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ รู้สึกว่าเป็นความรู้ใหม่ที่น่าสนใจ จนตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องทำให้ครูมีการพัฒนา EF ให้เด็กเป็นเป้าหมาย และ ครูต้องออกแบบการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการพัฒนา EF มากที่สุด หลังจากนั้นจึงจัดโครงการอบรมผู้บริหารกับครูปฐมวัยโรงเรียนเอกชนในจังหวัดลพบุรี โดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ใช้สื่อความรู้จากสถาบัน RLG เป็นคู่มือและใช้กระบวนการอบรมแบบเดียวกับที่สถาบัน RLG จัด จบแล้วทำปฏิทินออกนิเทศโรงเรียนที่ได้รับการอบรม EF
นอกจากนี้ศน.พิฐชญาณ์ยังเป็นหนึ่งในเลขาฯคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดลพบุรี ร่วมดำเนินงานโครงการพัฒนาแผนขับเคลื่อนบูรณาการปฐมวัย  โดยพยายามนำเสนอเรื่อง EF เพื่อใช้เป็นแนวทางของการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดลพบุรีและสอดแทรกบูรณาการเรื่อง EF เข้าไปในโครงการขับเคลื่อนการศึกษาปฐมวัยเชิงบูรณาการระดับพื้นที่ และในการอบรมครูต่างๆ
ในขณะเดียวกัน ด้วยความเชื่อมั่นในเรื่อง EF เป็นการส่วนตัว จึงเข้าร่วมกับเครือข่ายสาธารณสุขจังหวัดลพบุรีขับเคลื่อนเรื่อง EF ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยบูรณาการไปกับแนวการศึกษา High Scope
 ศน.พิฐชญาณ์ได้ขับเคลื่อนความรู้ EF อย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2564-2565 ได้ทำการขยายผลเรื่อง EF กับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต่างๆ ในจังหวัดลพบุรี

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • จัดโครงการอบรมให้ความรู้เรื่อง EF แก่ผู้บริหารกับครูปฐมวัยโรงเรียนเอกชนในจังหวัดลพบุรี 26 โรงเรียน โดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏลพบุรีและใช้กระบวนการเดียวกับที่สถาบัน RLG จัดอบรม
  • ในฐานะเลขาฯ คณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดลพบุรี พยายามบูรณาการความรู้ EF ในการจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดลพบุรี พ.ศ.2561-2564 และแผนพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยเชิงบูรณาการระดับจังหวัดลพบุรี พ.ศ.2561-2564 โดยมีรายละเอียดดังนี้
    คณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดลพบุรีโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ประธานคณะอนุกรรมการฯ และผู้แทนจาก 5 กระทรวงหลัก ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลพบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลด้านเด็กปฐมวัยจังหวัดลพบุรี และร่วมกันจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดลพบุรี พ.ศ.2561-2564  และแผนพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยเชิงบูรณาการระดับจังหวัดลพบุรี (พ.ศ.2561-2564) ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2562 โดยกำหนดวิสัยทัศน์ของจังหวัดลพบุรี ไว้ว่า “เด็กปฐมวัยจังหวัดลพบุรี มีพัฒนาการสมวัย เป็นคนดี มีวินัยรักการเรียนรู้ มีภูมิคุ้มกันที่ดี มีความพร้อมศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน”และกำหนดพันธกิจในการดำเนินงาน ไว้ 5 ข้อ คือ

1. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยของจังหวัดลพบุรี

2. ผลิตและพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

3. สร้างความรู้ ความเข้าใจบนฐานข้อมูลจังหวัดลพบุรีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

4. พัฒนาหลักสูตร นวัตกรรม และงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย

5. สร้างเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัยกับทุกภาคส่วน

การนี้ ได้เสนอโครงการ เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับข้อมูลจังหวัดลพบุรี และขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดลพบุรี ประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการบูรณาการเสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนจังหวัดลพบุรี กิจกรรมบูรณาการความร่วมมือเสริมสร้างคุณภาพเด็กปฐมวัยจังหวัดลพบุรี ได้รับงบประมาณ 1,268,500 บาท มีกิจกรรมดำเนินงาน 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การสร้างความรับรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดลพบุรี 2) การพัฒนา 1 อำเภอ 1 นวัตกรรมเด็กปฐมวัยคุณภาพ และ 3) ลพบุรีมหานครแห่งการเรียนรู้ โดยจัดเวทีให้เด็กและเยาวชนได้แสดงศักยภาพและเชิดชูเกียรติผู้บริหาร ครู และผู้สนับสนุนงานด้านการศึกษาในพื้นที่ ทั้งนี้ จังหวัดลพบุรีได้มอบหมายให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรีเป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ ร่วมกับ 5 หน่วยงานหลักดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชน คือ มูลนิธิยุวพัฒน์ เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยครั้งนี้ด้วย

การสร้างประสานเครือข่าย

  •  ร่วมประสานการดำเนินงานพัฒนาเด็กปฐมวัยของคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดลพบุรี กับ 5 กระทรวงหลัก ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลพบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี โดยมีรายละเอียดดังนี้

       1.  ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดลพบุรี ประจำปี 2 ครั้ง มีโครงการ กิจกรรมที่ร่วมกันดำเนินงาน ภายใต้โครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดลพบุรี

       2.  ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการดำเนินงานร่วมในกิจกรรม 1 อำเภอ 1 นวัตกรรมเด็กปฐมวัยคุณภาพ และกำหนดพื้นที่การพัฒนาเด็กปฐมวัย

       3.  ประชุมพบกลุ่ม แลกเปลี่ยนองค์ความรู้

       4.  ลงพื้นที่นิเทศ เยี่ยมเสริมพลังร่วมกัน

       5.  ร่วมขับเคลื่อนEF กับเครือข่ายสาธารณสุขจังหวัดลพบุรีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยบูรณาการกับแนวการศึกษา High Scope

การติดตาม/นิเทศ/ coaching

หลังจากจัดอบรมเรื่อง EF ให้ครูและผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ได้ติดตามนิเทศโรงเรียนเหล่านั้น ดูหน่วยประสบการณ์ประจำวันว่าครูได้ใช้ความรู้ EFอย่างไร ใช้ในหน่วยอะไรบ้าง ใช้ในการจัดแผนและกิจกรรมอย่างไร แล้วสรุปว่ากิจกรรม หน่วยการเรียน เชื่อมโยงไปสู่ EF ได้อย่างไร  บอกครูว่าใช้แผนเดิมก็ได้ แต่ให้ครูเขียนรายละเอียดว่า จากที่ได้รับความรู้ EF ได้ออกแบบกิจกรรมเพิ่มเติมให้มีการพัฒนา EF อย่างไรแล้วมีชิ้นงานหรือร่องรอยอะไรปรากฏให้ดูได้บ้าง

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่ต่อเนื่อง จึงปรับกิจกรรมเป็นการลงพื้นที่เพื่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมและการจัดกิจกรรมเท่าที่สามารถจัดได้ โดยคณะกรรมการและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมการพัฒนาในกิจกรรม 1 อำเภอ1 นวัตกรรมเด็กปฐมวัยคุณภาพ

การต่อยอด/นวัตกรรม/ วิจัย

ปีงบประมาณ 2564-2565 ได้ขยายผลกับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยประชาสัมพันธ์ให้กับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่สนใจ (สังกัดสพฐ. 14 แห่ง และสังกัด สช. 3แห่ง ) ปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมในการสร้างความรู้ความเข้าใจมาใช้เป็นแบบออนไลน์ การลงพื้นที่ขับเคลื่อนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ผู้บริหารและครูมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และเห็นคุณค่าในการพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นอันดับแรก โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นทักษะ EF คือ การจำเพื่อใช้งาน การยืดหยุ่นความคิด การยั้งคิด ไตร่ตรอง การจดจ่อใส่ใจ การควบคุมอารมณ์ การริเริ่มและลงมือทำ การวางแผน จัดระบบดำเนินการ การมุ่งเป้าหมาย และการติดตามประเมินตนเอง

การแก้ปัญหาในการขับเคลื่อน EF

  • ศึกษาเอกสารคู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับครูปฐมวัย โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
  • พบกลุ่ม เครือข่าย พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้
  • ทำจริงให้ผู้บริหารได้เห็นผลงาน แม้ว่าจะไม่ได้รับการสนับสนุนในเบื้องต้น

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • เด็ก แสดงพฤติกรรมเชิงบวกชัดเจน มั่นใจ และกล้าแสดงออกมากขึ้น โดยเฉพาะการจำเพื่อใช้งาน การยืดหยุ่นความคิด การจดจ่อใส่ใจ การริเริ่มและลงมือทำ การวางแผน การมุ่งเป้าหมาย หากเด็กได้รับการจัดกระบวนการที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  • ครู มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีพัฒนาการดีขึ้น มีความละเอียดในการออกแบบกิจกรรม ให้เวลากับเด็กในการคิด พูด แสดงความคิดเห็น สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือทำ จากเดิมที่ครูสอนๆ แล้วก็จบไป ไม่มีการ review ให้เด็กได้ทบทวน ไม่มีการเก็บร่องรอย ไม่มีเวลาให้เด็กได้มีสมาธิในการทำกิจกรรม ในทางกลับกันก็พบครูที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง ไม่จัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอส่งผลให้พฤติกรรมหรือวินัยเชิงบวกของเด็กไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
  • ผู้ปกครอง ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยเฉพาะกิจกรรมพานิทานกลับบ้าน เห็นการเปลี่ยนแปลงของบุตรหลาน และเข้าใจครูปฐมวัยมากขึ้น แต่ยังพบผู้ปกครองบางส่วนที่ยังต้องการให้ทางโรงเรียนจัดการเรียนสอนอ่าน
  • ผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการ มีการปรับเปลี่ยนแผนงานโครงการเพื่อรองรับกระบวนการ และเปิดโอกาสให้ทีมโค้ชและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก รวมทั้งเปิดโอกาสให้ทีมได้พบปะผู้ปกครองเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยตามพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย
  • ผู้รับผิดชอบการศึกษาปฐมวัยในพื้นที่ ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเด็ก และมูลนิธิที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นสำคัญ เกิดเครือข่ายและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับพื้นที่ที่ยั่งยืน
]]>
https://www.rlg-ef.com/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%90%e0%b8%8a%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b9%8c-%e0%b9%84%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%b3-%e0%b8%a8%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%a9/feed/ 0
สมองเด็กในภาวะสงคราม https://www.rlg-ef.com/%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2-20/ https://www.rlg-ef.com/%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2-20/#respond Thu, 19 May 2022 05:27:00 +0000 https://www.rlg-ef.com/?p=17655 สมองเด็กในภาวะสงคราม สมองของเด็กประมาณ 90 % พัฒนาในช่วง […]]]>

สมองเด็กในภาวะสงคราม

สมองของเด็กประมาณ 90 % พัฒนาในช่วงอายุ 5 ขวบ นั่นหมายความว่า เด็กคนหนึ่งที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ จะเป็นคนเช่นไรนั้น ประสบการณ์ชีวิตตั้งแต่เกิดมาถึง 5 ขวบมีบทบาทสำคัญในการกำหนดความสามารถในการเรียนรู้ ทักษะการทำงานของสมองขั้นสูง (Executive Function: EF) สุขภาพทั้งทางกายและใจ รวมทั้งความสำเร็จในชีวิตที่เหลือทั้งหมด เด็กที่เกิดและเติบโตขึ้นท่ามกลางภาวะสงคราม เช่นที่เกิดในยูเครนขณะนี้ หรือเกิดในช่วงสงครามซีเรียและสงครามอื่นๆ ทั่วโลก ต่างมีประสบการณ์ที่เลวร้ายในช่วงต้นของชีวิต ทั้งประสบการณ์ความรุนแรงโดยตรงที่เจอกับตนเอง หรือประสบการณ์ความรุนแรง ยากลำบากที่พ่อแม่ คนในครอบครัวได้รับ โดยเฉพาะประสบการณ์ที่แม่ได้รับแล้วส่งผลมายังตัวเด็กเล็ก ย่อมมีผลต่อชีวิตและการเติบโตของเด็กอย่างลึกซึ้ง

          งานวิจัยพบว่า ผลจากความขัดแย้งของสงครามกระทบต่อสมองของเด็กในเชิงลบอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อสภาพทางสถาปัตยกรรมของสมองที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก ความจำ การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การตอบสนองต่อความกลัวและความกดดันที่ต้องเผชิญ รวมไปถึงความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเองซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะกำกับตนเองของสมองส่วนหน้า (Executive Function: EF)  ในบทความวิชาการที่ปรากฎในเว็บไซต์ขององค์กรการกุศล World  Vision ระบุว่า ประสบการณ์เลวร้ายที่เด็กซีเรียได้รับในสงครามที่ยืดเยื้อนานกว่า 7 ปี จะนำไปสู่สภาพที่คนในรุ่นนี้มีปัญหาสุขภาพจิต และปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว

          งานวิจัยดังกล่าวได้ทำให้ความเข้าใจผิดแต่เดิมมาเปลี่ยนไป เดิมนั้นเราเข้าใจว่าผลของสงครามกระทบต่อเด็กไม่มากเท่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กไม่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น แต่แท้ที่จริงแล้วเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นรอบตัวส่งผลอย่างรุนแรงในกระบวนการรับรู้และเรียนรู้ภายในสมองของเด็ก องค์กร World Vision ได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลเด็กที่อยู่ภายใต้ภาวะสงคราม พบว่าการพัฒนาการตามวัยนอกจากล่าช้า เด็กเหล่านี้ยังมีปัญหาเรื่องความสามารถในการเรียนระดับที่สูงขึ้น รวมไปถึงมีปัญหาเรื่องพฤติกรรม ความรู้สึกผูกพันกับคนอื่น และการอยู่ร่วมกันในสังคม สถานการณ์วิกฤติที่เด็กเหล่านี้ต้องเผชิญ ทำให้สมองส่วนกลางของเด็กตื่นตัวเกินความจำเป็น

          ความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียดจากการทะเลาะกับเพื่อน ความเครียดจากการทำการบ้านไม่ได้ เป็นความเครียดที่พอรับได้ แต่ความเครียดจากสงครามเป็นความเครียดที่ผิดปกติ มีความรุนแรงถึงชีวิต และยืดเยื้อยาวนาน และเป็นความเครียดที่เป็นพิษ ในงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า “ความเครียดที่เป็นพิษ” หรือ “Toxic Stress” ส่งผลร้ายต่อระบบการตอบสนองต่อความเครียดซึ่งถูกกระตุ้นเป็นเวลานานต่อเนื่อง ไม่หยุดหย่อน โดยไม่ได้รับการดูแลและปกป้องจากผู้ใหญ่รอบข้างนั้น ทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดในสมองเพิ่มระดับสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งอยู่ในสมองส่วนระบบลิมบิคหรือสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำระยะยาวและการเรียนรู้ ควบคุมพฤติกรรมที่ตอบสนองต่ออารมณ์ การที่ฮิปโปแคมปัสได้ความกระทบกระเทือนทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องความจำระยะสั้น การควบคุมอารมณ์ และการเรียน ทักษะจดจ่อใส่ใจ (Concentration) ควบคุมอารมณ์ (Emotional Self-Control) ซึ่งอยู่ในทักษะกำกับตนเองในทักษะสมองส่วนหน้าต่ำ

          ในช่วงอายุของเด็กปฐมวัย วงจรประสาทตอบสนองต่อความเครียดต้องทำงานอย่างหนักและยืดเยื้อ จะส่งผลอย่างถาวรให้วงจรประสาทส่วนนี้ไวต่อความเครียดและความกังวล ซึมเศร้า มีปัญหาเรื่องอารมณ์และพฤติกรรม ซึ่งผลกระทบจากวิกฤติความรุนแรงที่ชีวิตได้รับไม่เพียงส่งผลต่อสมองของเด็ก แต่ยังส่งผลกระทบต่อระบบร่างกาย ทำให้มีปัญหาโรคหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับตับและปอดในวัยผู้ใหญ่สูงขึ้นอีกด้วย เซลล์ประสาทในสมองมีสภาพคล้ายกล้ามเนื้อ เมื่อถูกกระตุ้นซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องจะมีความแข็งแรง หากไม่ได้ใช้จะค่อยเหี่ยวแห้งตายไปเหมือนต้นไม้ขาดน้ำ สมองที่เติบโตได้ดีจะเกิดจากการกระตุ้นจากสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ความสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อแม่ การมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น และการได้รับการศึกษา เรียนรู้ ต้องได้เล่น เรียน ผูกสัมพันธ์กับเพื่อนและคนรอบข้าง มีกิจวัตรประจำวันที่ปลอดภัย ถึงเวลากินได้กิน ถึงเวลานอนได้นอน แต่สงครามได้มอบมรดกที่เลวร้ายฝังไว้ในตัวเด็ก นั่นคือการทำให้เด็กขาดโอกาส และเกิดความบกพร่องในการพัฒนาทั้งในสมอง ร่างกาย และจิตใจ

          สงครามส่งผลกระทบลงมาเป็นลำดับชั้นถึงตัวแม่และเด็ก ที่ไม่สามารถช่วยเหลือและปกป้องตนเองได้

ภาพจาก https://bmcmedicine.biomedcentral.com/articles/10.1186/1741-7015-12-57

ปัญหา “ความเครียดที่เป็นพิษ” ในเด็กระดับโลกนั้น อยู่ในระดับวิกฤติ ในปี 2015 ที่ผ่านมามีเด็กมากกว่า 16 ล้านคนเกิดในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งรุนแรง นับเป็นจำนวนเด็กถึง 1 ใน 8 ของโลกต้องใช้ชีวิตท่ามกลางสงคราม มีรายงานว่าในช่วงสงครามภายในของซีเรียที่ดำเนินมายาวนานกว่าหกปีจนถึงปี 2017 มี เด็กชาวซีเรียมากกว่า 3.7 ล้านคนที่เกิดมาช่วงสงคราม ใช้ชีวิตอย่างอดอยาก เด็กจำนวนมากเผชิญทั้งความหนาวสั่นและความหิว ขาดทั้งความรักและการดูแลเอาใจใส่จากผู้ใหญ่ สมองถูกกระตุ้นให้ตื่นผวากับภัยสงครามและการฆ่าฟันตลอดเวลา

          ได้มีความพยายามจัดตั้งโครงการ ปกป้องเด็กผู้อพยพชาวซีเรียและอีกหลายประเทศที่เกิดมาในช่วงภาวะสงครามไม่ให้กลายเป็น “The Lost Generation” หรือเป็นกลุ่มคนรุ่นที่สาบสูญ โดยมีกระบวนการจัดอบรมให้ความรู้เพื่อให้ครูเข้าใจว่า ประสบการณ์ที่เลวร้ายมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กและการเรียนในโรงเรียนอย่างไร อีกทั้งได้เรียนรู้วิธีที่จะหนุนช่วยและสอนเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ผลการวิจัยจำนวนมากได้แสดงให้เห็นว่า วิถีทางที่ดีที่สุดในการเยียวยาการเจ็บป่วยจาก “ความเครียดที่เป็นพิษ” ในเด็ก คือการให้ความรู้สึกความมั่นคงปลอดภัย การหนุนช่วยและช่วยเหลืออย่างจริงจัง การสร้างสายใยสัมพันธภาพที่อบอุ่นกับพ่อแม่และบุคคลใกล้ชิดอื่น เช่น ครู ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ช่วยรองรับผลกระทบจากความเครียด ทำให้พัฒนาการตามวัยเป็นไปอย่างสมบูรณ์ขึ้น และกอบกู้ความสามารถให้เด็กล้มแล้ว “ยัง”ลุก ขึ้นมาได้อีก

          ผลกระทบจากสงครามส่งผลต่อเด็กโดยตรง ในขณะที่ความเลวร้ายของสงครามที่แม่ได้รับไม่ว่าจะจากการที่สามีต้องตาย ถูกข่มขืน บาดเจ็บ ความอดอยาก ความเครียด ความกังวล ล้วนส่งต่อมายังเด็กอีกทอดหนึ่งด้วย

ภาพจาก https://bmcmedicine.biomedcentral.com/articles/10.1186/1741-7015-12-57

สงครามความขัดแย้งนั้นทำให้คนบาดเจ็บล้มตาย เจ็บป่วย การอพยพข้ามถิ่นฐาน ทำลายโครงสร้างทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และส่งผลกระทบยาวนานข้ามรุ่นต่อรุ่น ทั้งเรื่องความรุนแรง ปัญหาทางจิต การติดเชื้อ และภาวะทุพโภชนาการ

ทศตวรรษที่ผ่านมา คนที่ตายในสงครามมากกว่า 90%เป็นพลเรือน เด็กได้รับผลกระทบทันทีอย่างโหดร้าย ส่งผลต่อโครงสร้างทางสมองและสุขภาพทางกายยาวนานไปตลอดชั่วชีวิต และยังส่งต่อผลกระทบนี้ไปยังลูกหลานและสังคมอีกเป็นเวลานาน

อ้างอิง

  • Alison Schafer, Syria’s children – how conflict can harm brain development MONDAY, https://www.wvi.org/experts/article/syria%E2%80%99s-children-%E2%80%93-   how-conflict-can-harm-brain-development, JANUARY 6, 2014
  • https://theirworld.org/resources/safe-spaces-brief-protecting-brain-development-in-emergencies-february-2017-pdf/
  • Delan Devakumarและคณะ, The intergenerational effects of war on the health of children, https://bmcmedicine.biomedcentral.com/articles/10.1186/1741-7015-12-57, April 2, 2014
]]>
https://www.rlg-ef.com/%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2-20/feed/ 0
กิจกรรมฝึกฝน EF ในเด็กวัย 18-36 เดือน https://www.rlg-ef.com/%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2-19/ https://www.rlg-ef.com/%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2-19/#respond Thu, 19 May 2022 05:21:00 +0000 https://www.rlg-ef.com/?p=17652 กิจกรรมฝึกฝน EF ในเด็กวัย 18-36 เดือน เด็กวัยขวบครึ่งเร […]]]>

กิจกรรมฝึกฝน EF ในเด็กวัย 18-36 เดือน

เด็กวัยขวบครึ่งเริ่มพูดได้ไปจนถึงอายุ 3 ขวบ (18-36 เดือน) เป็นช่วงเวลาที่การพัฒนาการด้านภาษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ภาษาจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function: EF) และการควบคุมตนเอง ภาษาเป็นเครื่องมือที่ทำให้เด็กได้สะท้อนความคิดและการกระทำของตนเอง วางแผนการทำสิ่งต่างๆในสมอง และยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้เด็กสามารถไปเข้าใจและสามารถทำตามกฎเกณฑ์ที่ซับซ้อนขึ้นได้ ในช่วงวัยนี้ หากครอบครัวใดที่พ่อแม่มาจากครอบครัวที่ใช้ภาษาต่างกัน หรือสามารถใช้ภาษากับลูกทั้ง 2 ภาษาเป็นเรื่องดีที่จะใช้ประโยชน์จากภาษาที่แตกต่างกันในการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า

          เมื่อเด็กเริ่มหัดเดิน เป็นพัฒนาการทางร่างกายที่แสดงให้เห็นว่ากล้ามเนื้อขาและข้อต่อแข็งแรง ทำให้เด็กเป็นอิสระสามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเอง เด็กวัยนี้จึงต้องการสำรวจและทำกิจกรรมทางกายที่ท้าทายมากขึ้น ลองทำสิ่งใหม่ๆเพื่อเรียนรู้ แม้บางครั้งทำแล้วทำสำเร็จ บางครั้งทำไม่สำเร็จ แต่เด็กก็จะอยากลองอีก ทำซ้ำอีก ผู้ใหญ่จะเริ่มรู้สึกและพูดว่า เด็กเริ่มซนแล้ว การอยากลองใช้พลังกำลังของร่างกายเล่นโน้น ลองนี่ เป็นกระบวนการเรียนรู้  กิจกรรมส่งเสริมทักษะ EF ในช่วงวัยนี้ สามารถทำได้ด้วยการส่งเสริมให้เด็กวัยหัดเดินมีสมาธิและจดจ่อกับเป้าหมาย มีความสามารถในการยับยั้งการกระทำที่ไม่จำเป็นและไม่เกิดผลดี พ่อแม่ คนเลี้ยง ผู้ใหญ่ในบ้านหรือครูผู้ดูแลเด็ก นอกจากให้ความรัก ความเอาใจใส่ สร้างความผูกพันไว้ใจ ดูแลอาหารการกินให้มีประโยชน์ พอดีและตรงเวลา ให้เด็กได้มีเวลานอนที่พอเพียง ดูแลพื้นที่และสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับเด็กได้ออกสำรวจโลกใบเล็กทั้งที่บ้านหรือศูนย์รับเลี้ยงเด็ก การทำกิจกรรมร่วมกันกับเด็กขวบครึ่งถึงสามขวบให้สนุกและท้าทายตามวัยยังคงเป็นเรื่องที่ต้องทำซ้ำๆให้เซลล์สมองเชื่อมต่อกันอย่างแข็งแรงเป็นวงจรประสาทที่มีคุณภาพนั้น เป็นเรื่องที่สามารถทำได้หลายหลากวิธี เช่น

          หาอุปกรณ์และสร้างโอกาสให้เด็กลองใช้ทักษะร่างกายหลายอย่างให้แข็งแรง เช่น หาลูกบอลขนาดพอเหมาะกับที่เด็กจับได้ ไม่เล็กเกินไป ไม่หนักเกินไป (ลูกบาสหนักไปสำหรับเด็กวัยนี้) ให้เด็กได้ขว้าง ไล่จับลูกบอลหรือเตะ (เด็กมักเตะไม่ได้แต่ก็ชอบที่จะลองเรื่อยๆ) ศูนย์เด็กเล็กใกล้บ้านหรือโรงเรียนอนุบาลมีคานไม้ให้เด็กหัดเดินทรงตัว มีทางลาดให้เด็กได้วิ่งขึ้นลง หรือมีจุดสัญลักษณ์ตามแต่จะสร้างสรรค์ให้เด็กเล่นกระโดด และวิ่ง ในระหว่างที่เด็กๆเล่นอุปกรณ์ง่ายๆเหล่านี้ นอกจากร่างกายของเด็กแข็งแรงขึ้น ในระหว่างการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการขว้างลูกบอล เดินอย่างระมัดระวังบนคานไม้ หรือกระโดดทำท่าต่างๆไปตามจุดสัญลักษณ์นั้น เซลล์สมองที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทำงานเชื่อมต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ในสมองส่วนที่กำกับดูแลเรื่องการเคลื่อนไหว สายตา ฯลฯ และทักษะเชิงบริหารในสมองส่วนหน้า (Executive Functions: EF) ตั้งแต่ทักษะพื้นฐาน ความจำเพื่อใช้งาน ในการจำกฎง่ายๆ เพื่อปฏิบัติตาม การฝึกฝนทักษะการยั้ง หยุด เช่น  การผลัดกันกระโดดหรือ วิ่งหรือถอยหลังเข้าเส้นชัย เป็นต้น

          การทำท่าง่ายๆ ตามเพลงซึ่งเด็กๆ มักได้เรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลและศูนย์เด็กเล็ก พ่อแม่และผู้ปกครองสามารถนำมาใช้ที่บ้าน ในขณะที่เด็กเลียนแบบท่าทางประกอบเพลงเหล่านี้ ทักษะจำเพื่อใช้งานกำลังฝึกฝนอย่างหนักในการจำลำดับท่าทางให้ตรงกับเสียงและจังหวะของเพลง ในการควบคุมตนเอง สมองเด็กกำลังฝึกฝนการจดจ่อใส่ใจ ควบคุมอารมณ์ตนเองให้ไม่วอกแวก หรือหงุดหงิดเมื่อทำไม่ได้ ในขณะที่พยายามทำให้ได้ตาม ทัน พอดีกับเพื่อนนั้นสมองต้องประเมินตลอดเวลา ทำช้าไป เร็วไป ต้องปรับให้ทันพอดีกับคนอื่นนั้นเป็นโอกาสอันสำคัญในนาทีต่อนาที ที่ทักษะยั้งคิดไตร่ตรองและทักษะยืดหยุ่นความคิดทำงานสอดประสานกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายคือการทำท่าทางประกอบเพลงจนเพลงจบลงได้สำเร็จ เพลงที่สนุกสนานการได้เล่นกับพ่อแม่ที่ตนรัก เป็นความสุขและสนุกสนานสำหรับเด็กในการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า เพื่อจะนำไปสู่ความสามารถในการยั้งอารมณ์ ยั้งคิด และยั้งพฤติกรรมในสถานการณ์ที่ยากขึ้น ไม่สนุก หรืออาจนำไปสู่อันตรายในอนาคตได้

          เด็กในวัยนี้สนุกไปกับการได้ฝึกทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) ผ่านการเต้นรำกระด้าง ที่ผู้ใหญ่หรือครูหยุดร้องเพลงกระทันหันโดยไม่บอกล่วงหน้า เมื่อเพลงหยุดทุกคนต้องหยุดอยู่ในท่านั้น เมื่อเสียงเพลงขึ้นใหม่ก็เต้นต่อไปได้ กิจกรรมนี้ก็สามารถทำได้ทั้งที่โรงเรียนและบ้าน เพลงที่ใช้ในการประกอบท่าทางที่ไพเราะ มีคำคล้องจอง สัมผัสง่ายๆ ช่วยให้เด็กได้มีความรุ่มรวยทางภาษา เลือกเพลงหลากหลายจังหวะ เพื่อให้ทักษะสมองของเด็กได้ประสบการณ์ที่หลากหลายและสนุก ง่ายและสั้นๆ เพื่อดึงความสนใจของเด็ก แต่หากเด็กชอบเพลงใดเพลงหนึ่งอยู่เพลงเดียว ก็ไม่จำเป็นต้องฝืนใจเด็ก หลักการคือ พ่อแม่ ครู มีหน้าที่เสนอไม่บังคับ และสอนให้เด็กร้องเพลงเพื่อเด็กจะได้พัฒนาการออกเสียง หากเป็นเพลงที่สอนให้เด็กทำกิจวัตร หรือวิธีปฏิบัติตัวก็จะทำให้เด็กได้เรียนรู้แนวทางในการปฏิบัติตัวในชีวิตปประจำวันไปด้วย การเล่นนิ้วและทำมือประกอบเพลงยังเป็นที่ชื่นชอบของเด็กวัยนี้ที่สามารถบังคับกล้ามเนื้อนิ้วได้ดีขึ้น ใช้นิ้วทำสัญลักษณ์ได้ดีขึ้น เช่น ชู สอง สาม สี่ นิ้วได้ เอาสองมือประกอบกันเป็นรูปหัวใจ หรือทำมินิฮาร์ตได้ เป็นต้น

          ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า เด็กวัยตั้งแต่ขวบครึ่งถึงสามขวบเป็นวัยหัดพูด การคุยกันและการให้เด็กเล่าเรื่องง่ายๆ เป็นการฝึกทักษะสมองส่วนหน้า (EF) ได้เป็นอย่างดี เวลาที่พ่อแม่และผู้ปกครองที่บ้านเฝ้ามองดูเด็กเล่น แล้วพูดบอกสิ่งที่เด็กทำ เป็นการช่วยให้เด็กเข้าใจการใช้ภาษาอธิบายสิ่งที่ตนทำ เมื่อเด็กโตขึ้นมาหน่อย คำถามของพ่อแม่ช่วยพัฒนาสมองของลูกได้ผ่านคำถามง่ายๆ ว่า “แล้วลูกจะทำอะไรต่อ?” หรืออาจเป็นคำถามชวนคิดง่ายๆ ให้เด็กได้ลองคิดในมุมอื่น เช่น “แม่เห็นว่าหนูจะดึงของเล่นออกจากถุง มีวิธีไหนอื่นอีกไหม ลองบอกแม่หน่อย” แต่อย่าคาดคั้นหากเด็กไม่ยอมตอบ คิดได้แบบเดียวหรือคิดไม่ได้ พ่อแม่ ผู้ใหญ่ให้ทำหน้าที่หยอดคำถามและมุมมองง่ายๆ ไปเรื่อยๆ เป็นการช่วยให้เด็กได้หยุดที่จะสะท้อนสิ่งที่ตนเองกำลังคิด กำลังทำ หรือกำลังวางแผนที่จะทำต่อไป

          ให้เด็กเล่าเรื่องที่ตนเจอหรือได้ทำในแต่ละวันให้ฟัง เป็นการช่วยทำให้ทักษะความจำเพื่อใช้งานได้ฝึกฝน ในการลำดับสิ่งที่เกิดขึ้น และพัฒนาความเข้าใจว่าทำไมสิ่งต่างๆ จึงเกิดขึ้น

          ให้เด็กได้บอกถึงอารมณ์ความรู้สึกของตน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เมื่อเด็กเกิดอารมณ์โดยเฉพาะอารมณ์เชิงลบ บอกให้เด็กรู้ เช่น “หนูทำอย่างนี้แสดงว่าหนูกำลังโมโห” หากเด็กบอกได้ ถามให้เด็กได้บอกและเล่าเรื่องที่เกิดขึ้น เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะค่อยๆเข้าใจตนเอง และมีความสามารถในการใช้ภาษาในการสื่อสารสิ่งที่เกิดขึ้นภายในใจตน ซึ่งจะช่วยให้เด็กสะสมทักษะความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา EF ด้านอื่นๆต่อไป

          เกมส์จับคู่/เรียงลำดับ เล่นเกมจับคู่และจัดเรียง คัดแยก แบบง่ายๆ ได้ เช่น จับคู่ จัดกลุ่มหรือจัดเรียงตามรูปร่าง สี ขนาด  การเล่นเกมนี้พัฒนาความจำเพื่อใช้งานหรือความจำในการทำงาน ว่าสิ่งใดเหมือนหรือไม่เหมือนกัน และจำโจทย์หรือกติกาที่เปลี่ยนไปในแต่ละครั้ง ขณะเดียวกันเด็กในวัยหัดเดินและก่อนขึ้นอนุบาล จะได้ฝึกทักษะยั้งตัวเอง ไม่ให้หยิบของตามใจ แต่ต้องทำตามกติกาที่ตั้งไว้ เกมประเภทนี้หาซื้อได้ แต่ก็สามารถหาของใช้ในบ้านมาเล่นได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องเสียเงินเช่นกัน นอกจากนี้พ่อแม่และผู้ปกครองในบ้านหรือครูในศูนย์เด็กเล็กยังพัฒนาและดัดแปลงเกมออกไปในรูปแบบการจัดหมู่และเรียงของได้อีกมากมาย และไม่ว่าจะเป็นการให้โจทย์หาของชิ้นเล็ก และเอาไปวางในถังที่ใหญ่กว่า เอาของที่มีรูปร่างเป็นวงกลมไปวางไว้บนกล่องสี่เหลี่ยม ฯลฯ ตามแต่จินตนาการ พอโตขึ้นอีกหน่อย เพื่อให้เข้าใจเรื่องรูปร่างและสีดียิ่งขึ้น พ่อแม่อาจทำเองหรือหา

          เกมจิ๊กซอเป็นรูปร่างต่างๆ กันมาเล่นเรียงต่อกันก็ได้ ในการเล่นให้เด็กเป็นคนคิด เด็กยิ่งสนุก เมื่อเล่นแล้วให้พูดคุยสะท้อนสิ่งที่ทำกัน จะช่วยให้ภาษาและความเข้าใจของเด็กดียิ่งขึ้น

          เล่นในจินตนาการ เด็กที่เริ่มหัดเดิน เริ่มพัฒนาความสามารถในการเล่นตามจินตนาการ เด็กในวัยนี้เห็นผู้ใหญ่ทำอะไรก็มักเลียนแบบทำตามโดยไม่รู้ความหมาย ภาพปกติที่เรามักเห็นกันคือ เมื่อเด็กโตพอและเดินไป เห็นพ่อแม่ใช้ไม้กวาดกวาดบ้าน เด็กก็ไปหยิบไม้กวาดมาเลียนแบบตาม การเลียนแบบเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มนุษย์ใช้มากที่สุด เมื่อลงมือเลียนแบบไปเรื่อยๆ สมองจะเรียนรู้ความหมายของสิ่งที่ทำ ผู้ใหญ่ในบ้านช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของสมองลูกหลานตัวเล็กได้โดยใช้สิ่งของที่มีอยู่บ้าน หรือหาของเล่นมาให้เล่น เช่น ให้เด็กใช้ชุดหม้อข้าวหม้อแกงของเล่น สมมุติทำอาหารเหมือนแม่ เด็กจะจริงจัง เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็จะเล่นกินอาหารที่ทำแล้วอีกต่างหาก การดูกิจกรรมที่ผู้ใหญ่ทำ และทำตาม เด็กได้ใช้มือกล้ามเนื้อเล็กในการหยิบจับ ทักษะสมองส่วนหน้าขั้นพื้นฐานรวมทั้งทักษะการกำกับตนเอง และทักษะปฏิบัติได้ถูกท้าทายให้ลองทำ เมื่อเล่นกับเด็กให้เด็กเป็นผู้กำกับการเล่น ให้โอกาสเด็กได้บอกเราว่า ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ นอกจากพ่อแม่และผู้ใหญ่จะได้ฝึกฝนทักษะยั้งคิดไตร่ตรองและใช้ทักษะกำกับตนเองของตน การให้เด็กควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่น (ในที่นี้คือเราที่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครองที่กำลังเล่นสมมุติด้วย) เป็นวิธีการสำคัญที่เด็กจะเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะการควบคุมตนเอง

          กิจกรรมพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า EF ของเด็กตั้งแต่ขวบครึ่งไปถึง 3 ขวบค่อยๆ ซับซ้อนขึ้นตามพัฒนาการทางด้านสมอง จิตใจ ร่างกายและสังคม แต่ยังอยู่ในช่วงปฐมวัยที่เป็นรากฐานของการพัฒนาที่มีลักษณะเป็นลำดับชั้น คือ ฐานที่อยู่ล่างจะเป็นฐานของการพัฒนาขั้นต่อไป การที่พ่อแม่ลงทุนให้เวลา ให้โอกาสและเล่นอย่างจริงจังกับเด็กในวัยนี้ทำได้ง่ายกว่า อีกทั้งยังเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตต่อไปข้างหน้า สิ่งที่เรียนผ่านการเล่นซ้ำๆ และต่อเนื่อง จะสร้างวงจรของเซลล์ประสาทที่แข็งแรงขึ้นตามลำดับในสมองจากประสบการณ์ที่ได้รับ กลายเป็นความสามารถในการดึงข้อมูลและมีข้อมูลมากพอจากประสบการณ์ดีที่ได้รับการฝึกฝน มาใช้ในกำกับอารมณ์  ความคิด การกระทำเพื่อไปบรรลุเป้าหมายในแต่ขั้นของชีวิตต่อไป

          ทำให้เด็กพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะก้าวต่อไปในการเรียนรู้ชั้นอนุบาล


อ้างอิง
• Center on the developing child, Harvard University, Enhancing and Practicing Executive Function Skills with Children from Infancy to Adolescence, https://46y5eh11fhgw3ve3ytpwxt9r-wpengine.netdna-ssl.com/wp-content/uploads/2015/05/Enhancing-and-Practicing-Executive-Function-Skills-with-Children-from-Infancy-to-Adolescence-1.pdf, สืบค้น 10 เมย. 2565

]]>
https://www.rlg-ef.com/%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2-19/feed/ 0
การฝึกฝน EF ในเด็กวัย 6-18 เดือน https://www.rlg-ef.com/%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2-18/ https://www.rlg-ef.com/%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2-18/#respond Thu, 19 May 2022 05:14:00 +0000 https://www.rlg-ef.com/?p=17649 การฝึกฝน EF ในเด็กวัย 6-18 เดือน ทักษะเชิงบริหารของสมอง […]]]>

การฝึกฝน EF ในเด็กวัย 6-18 เดือน

ทักษะเชิงบริหารของสมองส่วนหน้า (Executive Functions: EF) เป็นทักษะสำคัญของชีวิตในการดำเนินภารกิจในแต่ละวันให้บรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ  การทำงานของทักษะนี้เปรียบได้ง่ายๆเหมือนกับศูนย์บังคับการบิน ที่คอยจัดการให้เครื่องบินแต่ละลำขึ้นและลงจอดได้อย่างเป็นระเบียบและปลอดภัยในสนามบิน ทักษะสมองส่วนนี้ทำหน้าที่ดึงเอาข้อมูลและประสบการณ์เดิมที่เรามีอยู่ในสมองออกมาใช้เมื่อถึงเวลาที่ต้องการเพื่อทำงานให้เสร็จสิ้น ทำให้สามารถจดจ่ออยู่สิ่งที่อยู่ตรงหน้าและเป้าหมาย กรองเอาสิ่งเร้าที่ไม่จำเป็นและขัดขวางการทำงานออกไป และสามารถปรับเปลี่ยนความคิดและการกระทำเมื่อสถานการณ์ต่างไปเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้ง หรือแม้แต่ปรับเปลี่ยนเป้าหมายเมื่อจำเป็น สมองใช้ทักษะเชิงบริหารของสมองส่วนหน้า (EF) ในการกำหนดเป้าหมาย ริเริ่มดำเนินการและวางแผนตลอดจนวิธีการที่จะตอบสนองต่อสถานการณ์และประเมินความคืบหน้าในการมุ่งสู่เป้าหมายอีกด้วย

          กระบวนการพัฒนาทักษะสมองส่วนนี้ดำเนินไปอย่างช้าๆ ตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิต ผ่านประสบการณ์ที่ได้รับ จนไปสมบูรณ์เต็มที่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (ประมาณอายุ 26 ปี) เด็กเล็กที่เกิดมาเริ่มพัฒนาทักษะจดจ่อ และสร้างความจำใช้งานผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับแม่หรือคนเลี้ยง การตอบสนองต่อประสบการณ์ที่ถูกกระตุ้นผ่านการเล่น และการถูกปฏิบัติหรือการดูแลจากคนเลี้ยงที่ใกล้ชิด การได้รับการดูแลเอาใจใส่ด้วยความรัก การได้รับการตอบสนองความต้องการตามจังหวะเวลาของชีวิต คือยามกินได้กินอาหารที่มีประโยชน์และพอเพียง ยามนอนได้นอนอิ่มเป็นเวลา ยามขับถ่ายมีคนทำความสะอาดเปลี่ยนผ้าให้ ยามเจ็บปวดมีคนดูแลเอาใจใส่ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย จึงเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าในช่วงวัยต้นของชีวิต

          ในแต่ละวันของเด็ก ไม่เพียงต้องการกินอิ่ม นอนหลับ มีสุขภาพแข็งแรงดี ผู้ใหญ่ยังสามารถใช้กิจกรรมต่างๆ ส่งเสริมทารกน้อยอายุตั้งแต่ 6-18 เดือนให้มีสมาธิจดจ่อ ใช้ความจำในการทำงาน และฝึกทักษะการควบคุมตนเองขั้นพื้นฐานได้ในโมงยามแห่งความสุขร่วมกัน ด้วยการเล่นกับเด็ก เวลาเล่นด้วยกันนั้น สิ่งที่ต้องการความเข้าใจจากผู้ใหญ่ที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะ EF เป็นเบื้องต้นคือ การเล่นคือการเล่น ไม่เคร่งเครียด จริงจัง ผู้ใหญ่มีหน้าที่เสนอ แล้วคอยดูว่าเด็กตอบสนองอย่างไร เอาความสนใจของเด็กเป็นตัวตั้ง หากเด็กอยากเล่นต่อ ควรให้เด็กได้เล่น (ไม่ใช่เวลาอาหารหรือเวลาเข้านอน) หากเด็กมาสนใจไม่อยากเล่น ไม่ควรบังคับ หรือกระตุ้นไม่เลิกรา

          การเล่นกับเด็กเล็กไม่ยาก แต่หากเด็กติดใจอยากเล่นไม่เลิก ผู้ใหญ่ต้องอดทนเล่นซ้ำๆ ไม่รีบบ่นเบื่อ เกมยอดฮิตสำหรับเด็กอายุ 6-18 เดือนที่เรารู้จักกันดีและเล่นแสนง่าย คือ การเล่น “จ๊ะเอ๋”

          “จ๊ะเอ๋” ฝึกฝนความจำเพื่อใช้งาน เพราะจ๊ะเอ๋มีใครบางคนซ่อนอยู่ข้างหลัง แล้วเปิดเผยตัวให้เด็กเห็น และเด็กยังได้ฝึกฝนการควบคุมตนเอง รอให้ผู้ใหญ่เปิดหน้าตนเองออกมา เกมอีกเกมที่ฝึกฝนความจำเพื่อใช้งาน คือ เกมซ่อนของ ไม่ว่าจะเป็นการซ่อนของไว้ใต้ผ้าแล้วให้เด็กหา ด้วยการเริ่มให้เด็กเห็นของก่อนแล้วเอาไปซ่อนไว้ใต้ผ้า เมื่อเด็กหาเจอ ก็เปลี่ยนเอาไปซ่อนไว้อีกที การที่เด็กต้องจำว่าตอนแรกของอยู่ที่ไหน แล้วย้ายไปอยู่ที่ไหน เป็นการฝึกฝนความจำเพื่อใช้งานได้เป็นอย่างดี

          หากเด็กโตขึ้นมาหน่อย อาจจะพัฒนาการเล่นต่อไปอีก ด้วยการเอาของไปซ่อนเลยแล้วให้เด็กหา โดยไม่โชว์ให้เห็นก่อนเหมือนตอนที่ยังเล็กกว่านี้ เด็กได้ดึงเอาความจำเพื่อใช้งานออกมา เพื่อหาของ และเมื่อหาไม่ได้ ก็ได้ฝึกยั้งที่จะไม่ทำแบบเดิม แต่ปรับเปลี่ยนวิธีคิด ลองใหม่ว่าจะหาของตรงไหนให้เจอ เกมนี้เด็กจะสนุกตรงที่ในที่สุดแล้วหาของเจอ เท่ากับประสบความสำเร็จ ผู้ใหญ่ที่เล่นด้วยจึงต้องคอยสังเกต ไม่เอาของไปซ่อนในที่ที่หายากเกิน หรือหาง่ายเกินไปก็ไม่สนุก เกมซ่อนหายังพัฒนาต่อได้อีก เป็นเล่นซ่อนหา คราวนี้ไม่ซ่อนของ แต่ให้เด็กเป็นคนซ่อนเสียเอง  ผู้ใหญ่เป็นคนหา ให้พูดเสียงดัง เพื่อให้เด็กได้จดจ่อตามฟังเสียงเรา ว่าเราอยู่ที่ไหน และควบคุมตนเองซ่อนตัวให้มิดชิด ไม่ให้เราเห็น เมื่อถูกหาเจอ เด็กได้ยังฝึกที่จะปรับความคิด ย้ายที่ซ่อนใหม่ เพื่อไม่ให้หาเจอในที่เดิมอีก การเล่นซ่อนหาเป็นอะไรที่สนุกมากสำหรับเด็กเล็ก

          เล่นคำคล้องจอง หรือร้องเพลงง่ายๆ ที่มีจังหวะคำหรือเสียงชัดเจน แล้วตบมือหรือทำท่าง่ายๆ ประกอบ ก่อนจบแบบ ตื่นเต้น หรือ ทำท่าทางตลกๆ ให้ได้หัวเราะ เซลล์สมองส่วนหน้าที่กำลังเติบโต ได้พัฒนาทักษะพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการจำลำดับ เนื้อร้อง จังหวะ ท่าทางประกอบ อันเป็นทักษะการจำเพื่อใช้งาน ได้ฝึกทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง และยืดหยุ่นความคิด เพื่อควบคุมตนเอง ให้ทำตามจังหวะและเนื้อร้อง รวมทั้งยั้งตัวเองรอจนถึงตอนสุดท้ายที่ตื่นเต้นที่สุด

          เล่น “เลียนแบบ” มนุษย์เรียนรู้ผ่านการเลียนแบบ เด็กๆ ชอบที่จะเลียนแบบ ตามอย่างที่ผู้ใหญ่ทำ เพื่อเข้าใจทุกสิ่งรอบตัว เมื่อเลียนแบบเด็กๆต้องใช้ความจำลำดับของกิริยาท่าทาง  แล้วจึงค่อยพยายามทำตามให้เหมือน การเล่นเลียนแบบต้องใช้ทั้งทักษะ จดจ่อใส่ใจ ความจำเพื่อใช้งาน ยั้ง และยืดหยุ่นเพื่อควบคุมตนเอง เราอาจสอนเด็กให้เลียนแบบการเล่นของเล่น เช่น จับตุ๊กตาม้ามาทำท่าวิ่งแล้วทำเสียงกระหลุบ กระหลุบ ให้เด็กทำตาม ให้เลียนแบบการใช้คำ เล่นเสียง เลียนแบบท่าทาง ฯลฯ เป็นการเล่นอะไรที่ง่าย ทำให้เกิดเสียงหัวเราะ และสร้างช่วงเวลาแห่งความสุข ผูกสายสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นขึ้นอีกด้วย

          เล่นบทบาทสมมติง่ายๆ พอเด็กเริ่มโตขึ้นจะสนใจและอยากทำได้เหมือนอย่างที่ผู้ใหญ่ทำ การเล่นเลียนแบบกิจวัตรประจำวัน และงานบ้านง่ายๆ จะเป็นอะไรที่สนุกมาก เช่น ให้เปิดก๊อกเพื่อกรอกน้ำลงขวด การได้ไม้กวาดอันเล็กแล้วหัดกวาดบ้าน พอโตไปกว่านี้เด็กอาจสนใจพับผ้า ค่อยๆ สอนเด็กให้เล่น “ทำงาน” ไปตามกิจกรรมการทำงานที่สนใจ ซึ่งโดยธรรมชาติเด็กจะมีความสนใจใคร่รู้ในงานที่ซับซ้อนขึ้นตามพัฒนาการ หน้าที่ของพ่อแม่ คือ สังเกต นำเสนอ หากเด็กชอบ ชวนเล่นให้ช่ำชอง แล้วท้าทายขึ้นทีละน้อย การเล่นซ้ำเดิมโดยไม่มีความท้าทายเลย เด็กจะเบื่อไม่สนใจ แต่หากท้าทายเกินไป เด็กจะแสดงออกเองว่าเหนื่อยไม่อยากไปต่อ การเล่นทุกครั้งเด็กควรได้รับความรู้สึกว่าตนทำสำเร็จ มั่นใจในตนเองมากขึ้น จึงอยากก้าวเดินต่อ แต่อย่าลืมว่านี่คือการเล่น อย่าเคร่งเครียด อย่าเพิ่งมอบหมายและคาดหวังว่าเมื่อลูกทำได้แล้ว ลูกต้องกวาดบ้าน หรือเปิดก๊อกกรอกน้ำทุกวัน เด็กวัยนี้แค่ต้องการเล่นเพื่อเรียนรู้ เก็บข้อมูล,ประสบการณ์ และฝึกทักษะให้เซลล์สมองเชื่อมต่อกันเป็นวงจรที่แข็งแรงขึ้นทีละน้อย

          เล่นด้วยมือและนิ้ว การเล่นปรบมือเข้าจังหวะ การขยับนิ้วตามจังหวะเพลง การเล่นทำท่าด้วยนิ้ว เช่น กำปั้น ชูหนึ่งนิ้ว เอามือประกบกัน เอามือจับหัว จับไหล่ เป็นต้น เป็นการเล่นที่สนุก ง่าย ได้ฝึกกล้ามเนื้อมือเท่าที่ทำได้  อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะความจำเพื่อใช้งาน ที่ต้องจำลำดับการเคลื่อนไหวไปตามจังหวะ การยั้งหรือหยุดทำมือแบบเดิมแล้วเปลี่ยนไปทำแบบใหม่อาศัยเซลล์ประสาทในสมองส่วนหน้าประสานกับเซลล์ประสาทส่วนดูแลการเคลื่อนไหวและส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง พัฒนาทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง และยืดหยุ่นความคิดตลอดเวลาให้แข็งแรงขึ้น

          พูดคุยกับเด็กเล็กให้มาก เป็นการช่วยพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง การพูดคุยกับเด็กนั้นสร้างโอกาสให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะจดจ่อใส่ใจระหว่างที่ฟังและพูดคุยตอบโต้กับเรา ได้ใช้ทักษะความจำเพื่อใช้งาน และการควบคุมตนเองที่ต้องอาศัยทักษะยั้งคิดไตร่ตรองและยืดหยุ่นความคิด ติดตามการพูดคุย ในเด็กที่ยังเล็กมาก ให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กเรียกชื่อสิ่งของที่เด็กกำลังสนใจหรือมองอยู่ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ความหมายของคำว่าใช้เรียกสิ่งใด และเมื่อเด็กเริ่มพูด ชวนเด็กพูดหรือเรียกสิ่งที่เด็กสนใจ เมื่อเด็กโตขึ้นอีกนิด พูดเล่าหรืออธิบายสิ่งของ เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้าอย่างง่ายๆสั้นๆ เพื่อฝึกให้เด็กสนใจ จดจ่อฟัง  วัยนี้เป็นวัยที่เซลล์สมองเชื่อมต่อกันอย่างรวดเร็ว การพูดคุยช่วยให้สมองของเด็กเชื่อมโยงสิ่งต่างๆที่เรียนรู้ในแต่ละวันเป็นแผนที่ในสมองได้รวดเร็ว ชัดเจนขึ้นมาก

          การละเล่นง่ายๆที่สืบทอดกันมาในครอบครัวและชุมชนมีอยู่ในทุกวัฒนธรรม สามารถนำมาเล่นกับเด็กเล็กได้ไม่มีล้าสมัย หากคิดไม่ออก ลองเปิดหาจากออนไลน์แต่ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะทิ้งเด็กให้เล่นกับมือถือหรือโทรทัศน์เพราะจะทำให้เด็กเป็นฝ่าย “ตั้งรับ” ไม่มีโอกาสตอบกลับ ผู้ใหญ่ควรร้องเองเล่นกับเด็กเอง ในการเล่นเราสามารถเร่งจังหวะเร็วขึ้นหรือช้าลงได้ตามสถานการณ์และทำได้สอดคล้องกับบริบทและการตอบสนองของลูก เด็กชอบให้ทำซ้ำเพื่อช่วยในการจดจำ และฝึกฝนตัวเองให้สามารถทำท่าทางหรือเล่นไปตามกติกาของเกมที่เอามาเล่น  ในเด็กที่ยังเล็ก แนะนำว่า ควรนำเด็กมานั่งตักและเล่นด้วยกันก่อน

          จะเห็นได้ว่าการฝึกฝนทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function: EF) เริ่มทำได้ไม่ยาก ทั้งยังเป็นการสร้างความรัก ความผูกพัน และเป็นโมงยามของความสุขร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก ผู้ปกครองกับเด็ก และผู้ดูแลเด็กกับเด็กให้มีเสียงหัวเราะร่วมกันในแต่ละวันของชีวิต แต่สิ่งง่ายๆ ที่สร้างขึ้นนี้ จะประกอบกันขึ้นมาเป็นฐานรากที่สำคัญ ในต่อยอดให้พัฒนาการตามวัยของทักษะสมองส่วนหน้าได้แข็งแรง เพื่อก้าวขึ้นไปสู่พัฒนาการในขั้นต่อไปของการควบคุมอารมณ์ ความคิดและการกระทำ ทำสิ่งที่ยากขึ้นสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายในแต่ละขั้นของชีวิตต่อไปได้เป็นอย่างดี


อ้างอิง

  • Center on the developing child, Harvard University , Enhancing and Practicing Executive Function Skills with Children from Infancy to Adolescence, https://46y5eh11fhgw3ve3ytpwxt9r-wpengine.netdna-ssl.com/wp-content/uploads/2015/05/Enhancing-and-Practicing-Executive-Function-Skills-with-Children-from-Infancy-to-Adolescence-1.pdf,
]]>
https://www.rlg-ef.com/%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2-18/feed/ 0
ดนตรีกับการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า EF https://www.rlg-ef.com/%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2-17/ Thu, 19 May 2022 05:07:00 +0000 https://www.rlg-ef.com/?p=17646 ดนตรีกับการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า EF การศึกษาวิจัยว่าดน […]]]>

ดนตรีกับการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า EF

การศึกษาวิจัยว่าดนตรีมีส่วนในการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function) เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการศึกษาที่ยืนยันว่าการฝึกฝนเล่นดนตรีประเภทต่างๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง นักดนตรีมืออาชีพและผู้เชี่ยวชาญทางดนตรีที่ได้รับการฝึกฝนมาตั้งแต่ยังเล็ก และเล่นดนตรีมานานเกินกว่าสิบปีนั้นถูกค้นพบจากการทำงานสำรวจวิจัยของ Katherine-moore และทีมว่า เป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิดเชิงนามธรรมและแก้ปัญหาได้ดี อีกทั้งงานวิจัยพบว่านักดนตรีมืออาชีพมีผลคะแนนที่ดีอย่างเห็นได้ชัด เมื่อทำการทดสอบทักษะสมองส่วนหน้าด้านความจำเพื่อใช้งาน การจดจ่อใส่ใจ และกระบวนการคิดที่รวดเร็ว ซึ่งทักษะเหล่านี้แม้แต่นักดนตรีสมัครเล่นก็ทำการทดสอบทักษะดังที่กล่าวมาแล้วได้ดีกว่าคนที่ไม่เล่นดนตรี คำว่า “อันดนตรี มีคุณทุกอย่างไป” จึงเป็นคำที่ไม่กล่าวเกินเลย เพราะแม้แต่การฝึกฝนไม่เท่าไหร่ ก็ยังสามารถทำให้ทักษะ EF ที่สำคัญพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน

          ในการเล่นดนตรีโดยเฉพาะการเล่นดนตรีคลาสสิคคนเล่นจำต้องใช้ทักษะ EF หรือทักษะการบริหารจัดการขั้นสูงของสมอง นักดนตรีจำต้องอ่านตัวโน้ตของบทเพลงและแปลงตัวโน้ตที่อ่าน ออกมาเป็นเสียงดนตรีผ่านการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างตั้งใจ รวดเร็ว และตรงตามห้องและจังหวะของเพลง ไม่ว่าจะเป็นการใช้นิ้วไล่กดคอร์ดกีตาร์ หรือนิ้วที่พรมลงคีย์เปียโน ปากที่เป่าลมลงไปในเครื่องเป่าไม่ว่าจะเป็นทรัมเปต หรือขลุ่ย เพื่อให้ได้เสียงเพลงที่บรรเลงออกมาตามตัวโน้ตที่อ่าน การเล่นดนตรีดังที่ว่านี้ต้องการทั้ง ทักษะยืดหยุ่นความคิด บริหารจัดการ เรียงลำดับโน้ตตามดนตรีที่ประพันธ์มา และการควบคุมตนเอง โดยเฉพาะการเล่นในวงออเคสตราที่ต้องเล่นพร้อมกันกับคนจำนวนมาก ยิ่งต้องใช้ทักษะที่ว่ามานี้อย่างเข้มข้น

          ทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function: EF) เป็นทักษะของสมองที่อยู่ด้านหลังหน้าผาก ซึ่งทำหน้าที่วางแผนการดำเนินชีวิตและการทำงานของเรา และทำหน้าที่กำกับพฤติกรรมของเรา โดย Nadine Gaab นักวิชาการของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้อธิบายไว้ว่า การทำงานของทักษะสมองส่วนนี้ทำให้เราบริหารจัดการความตั้งใจในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดของเรา จัดการเวลา บริหารเวลา และกำกับการกระทำของเรา เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายของเรื่องนั้นที่วางไว้ ความสามารถของทักษะสมองส่วนนี้ดีมากเท่าไหร่จะส่งผลทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้นเท่านั้น และส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในอนาคต การวิจัยที่ค้นพบว่าการเล่นดนตรีมีผลอย่างมากในการพัฒนาสมองของเด็ก ทำให้ในวงการการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดการตั้งคำถามว่า การที่โรงเรียนรัฐบาลในสหรัฐอเมริกา เอาหลักสูตรการอ่านและคณิตศาสตร์เข้ามาแทนที่หลักสูตรดนตรีที่มีอยู่เดิม แล้วยกเอาวิชาดนตรีออก เด็กทุกคนไม่ต้องเรียนดนตรีในห้องเรียน เพื่อเพิ่มเวลาเรียนเรื่องการอ่านและเลข เพื่อให้ผลการทำข้อสอบของเด็กในทั้งสองวิชานี้ดีขึ้น น่าจะนำไปสู่ความบกพร่องทางปัญญาด้านอื่นๆ หรือไม่ และการที่ผลการสอบเรื่องการอ่านและคณิตศาสตร์ดีขึ้นด้วยการไม่ให้เด็กได้มีโอกาสเรียนดนตรีนั้น ได้ไม่คุ้มเสีย หรือไม่

          ในปี 2019 ได้มีงานวิจัยในนักเรียนจำนวน 112,000 คนในบริติช โคลัมเบีย ซึ่งเป็นการทำงานวิจัยขนาดใหญ่มา ซึ่งได้ผลงานวิจัยที่ยืนยันว่า กลุ่มเด็กที่ได้ลงเรียนวิชาดนตรีในโรงเรียนมีผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ดีกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เรียนดนตรีในโรงเรียนอย่างมีนัยยะสำคัญ งานวิจัยนี้ทำในเด็กที่เริ่มเข้าเรียนเกรด 1 ในช่วงปี 2000-2003 ซึ่งเด็กเหล่านี้มี 13 เปอร์เซ็นต์ที่ลงเรียนดนตรีอย่างจริงจังในช่วงที่เรียนอยู่เกรด 10, 11 หรือเกรด 12

          เมื่อทำการวิจัยพบว่า เด็กเหล่านี้มีผลการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษ เลขและวิทยาศาสตร์ดีกว่าเด็กกลุ่มที่ไม่ได้เรียนดนตรีอย่างเห็นได้ชัด โดยงานวิจัยนี้พบว่า ยิ่งเด็กลงเรียนในวิชาดนตรีและผลการเรียนเรื่องดนตรีได้คะแนนสูง ผลการเรียนของทั้งสามคือวิชา ภาษาอังกฤษ เลขและวิชาวิทยาศาสตร์ ก็จะมีคะแนนสูงตามไปด้วยอย่างมีความสัมพันธ์กัน ไม่ว่าเด็กจะอยู่ครอบครัวที่มีเศรษฐานะอย่างไร เพศไหน หรือมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมต่างกันเพียงใด

          ในการทดลองเปรียบเทียบเด็กเล็กที่ได้ทำกิจกรรมประกอบดนตรีอย่างเป็นระบบ เช่น กิจกรรมเข้าจังหวะ กับเด็กที่ไม่ได้ทำ พบว่าเด็กที่ได้ทำกิจกรรมเข้าจังหวะดังกล่าว คือ เด็กได้ฝึกหยุดและทำท่าตามจังหวะเพลง ทำท่าทางประกอบเพลงอย่างต่อเนื่อง และการทำท่าตรงข้ามกับคำสั่งที่บอกนั้น เด็กมีพัฒนาการด้านความยับยั้งชั่งใจ ยั้งคิดก่อนตอบสนองต่อสิ่งเร้า และทักษะความจำเพื่อใช้งานดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ฝึกทำกิจกรรมดังกล่าว แม้ว่าจะไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงอย่างใดในทักษะยืดหยุ่นความคิด การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าการฝึกทำกิจกรรมร่วมกับดนตรีมีผลอย่างมากต่อการพัฒนา EF ในช่วงปฐมวัยที่ละเอียดอ่อน ทำให้สมองส่วนหน้าของเด็กมีทักษะเชิงบริหารจัดการ (Executive Functions: EF) แข็งแรงขึ้นในทักษะพื้นฐานที่เด็กปฐมวัยควรมี นั่นคือ ทักษะความจำเพื่อใช้งาน และทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง

          ยังมีการทดลองและค้นพบว่า การฝึกฝนให้เด็กได้เล่นดนตรีตั้งแต่ยังเล็กนั้น มีผลต่อการพัฒนาโครงสร้างของสมองในระยะยาว ในเรื่องของการได้ยิน จังหวะ และการทำงานร่วมกันของระบบประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว แต่ในเรื่องของความสามารถในการเรียนรู้ไม่ต่างกัน

          นอกจากการเรียนดนตรีที่ควรจัดให้มีการจัดการเรียนการสอนอยางเป็นกิจลักษณะโดยครูดนตรีที่มีคุณภาพในโรงเรียน เพื่อช่วยส่งเสริมสมองให้เด็กเรียนหนังสือได้ดีขึ้น อันที่จริงดนตรีได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาและบำบัดอย่างแพร่หลายมาแล้วตั้งแต่ทศตวรรษ 1940 มีงานวิจัยจำนวนมากที่รายงานการใช้ดนตรีบำบัดและพัฒนาเด็กที่เป็นออทิสติก เพื่อช่วยเหลือให้เด็กเหล่านี้มีพัฒนาการทางอารมณ์ สามารถควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าว พัฒนาความเข้าใจและการใช้การสื่อสารแบบอวจนะภาษา รวมไปถึงทักษะทางสังคม

          อาการทางออทิสติกของเด็กที่มีปัญหาเกิดจากความอ่อนแอของทักษะเชิงบริหารจัดการ (Executive Function: EF) ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการพฤติกรรมที่คิดวางแผนก่อนลงมือทำสิ่งใด รู้จักเรียงลำดับความสำคัญว่าสิ่งใดควรทำก่อน สิ่งใดสามารถลงมือทำที่หลังได้ สามารถควบคุมแรงกระตุ้น ปรับเปลี่ยนตัวเองเมื่อเจอความท้าทายที่ไม่คาดคิด จดจ่อมีสมาธิกับเรื่องที่อยู่ตรงหน้าและสามารถเปลี่ยนมุมมอง ปรับเปลี่ยนวิธีการในระหว่างการทำงานหรือการสนทนาได้

          กระบวนการทำงานของทักษะสมองส่วนหน้านี้ อยู่บนทักษะพื้นฐาน 3 ทักษะ คือ ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง ความจำเพื่อใช้งาน และทักษะยืดหยุ่นความคิด เมื่อทักษะพื้นฐานทั้งสามทำงานได้ดี ทักษะเชิงบริหารจัดการระดับสูงในสมอง เช่น ทักษะการแก้ปัญหาและการคิดเหตุผลก็จะถูกสร้างขึ้นมาและทำได้ดี เด็กที่มีอาการออทิสติกปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ยาก ปรับตัวที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือไม่สามารถปรับเปลี่ยนสิ่งที่ตั้งใจไปสู่สิ่งอื่นได้ ทำให้มีความยากลำบากในการดำรงชีวิต และอยู่กับผู้อื่นอย่างมาก

          ถึงเวลาแล้วที่เด็กทุกคนของเราจะได้ใช้ประโยชน์จากการเรียนและเล่นดนตรีอย่างจริงจัง เด็กแต่ละคนควรเติบโตขึ้นมาด้วยการได้รับโอกาสในการเรียนดนตรีสักหนึ่งอย่าง การเล่นดนตรีไม่ได้เป็นเพียงความบันเทิง เพื่อผ่อนคลายในชีวิตประจำวัน แต่ทุกตัวโน้ตที่ถูกบรรเลงออกมา สร้าง สานวงจรประสาทในสมองของเราให้แข็งแรง และทำให้ทักษะสมองชั้นสูงที่เราใช้ในการเรียนรู้ แข็งแรง ส่งเสริมให้เด็กๆเติบโตขึ้นมาเป็นคนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น เรียนรู้เป็น อยู่กับผู้อื่นเป็นและ มีความสุขเป็นในที่สุด


อ้างอิง
• Jiejia Chen and teams, The relationship between early musical training and executive functions: Validation of effects of the sensitive period, https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0305735620978690, First Published January 7, 2021
• Bailey JA, Rhythm synchronization performance and auditory working memory in early- and late-trained musicians, https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20508918/, May 28,2010
• Michael Greschler, M.Ed., Music and Executive Function, https://smarts-ef.org/blog/music-and-executive-function/, สืบค้น 25 Apritomjacobs
• Tom Jakobs, NEW EVIDENCE OF MENTAL BENEFITS FROM MUSIC TRAINING, https://psmag.com/social-justice/new-evidence-brain-benefits-music-training-83761, 18 June 2004
• Tom Jakobs, A MAJOR NEW STUDY CONFIRMS THE ACADEMIC BENEFITS OF MUSIC EDUCATION, https://psmag.com/education/taking-a-music-course-could-help-students-boost-grades-in-other-subjects, 26 June 2019

]]>