สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

New Normal ส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมควบคู่ไปกับวิชาการ

บทที่ 2 ตอนที่ 5
New Normal ส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมควบคู่ไปกับวิชาการ

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โลกผันผวนเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีโรคระบาดเช่นโควิด19 มีภัยพิบัติต่างๆ เราต้องสร้างเด็กที่มีความอดทนสูง ปรับตัวได้ไว ล้มแล้วลุกขึ้นมาเองได้เร็ว โดยไม่ต้องรอให้ใครมาช่วยดึงขึ้น  มนุษย์ที่มีความสามารถเช่นนี้จะต้องมีทักษะทางอารมณ์และสังคมที่ดี ซึ่งจะทำให้เข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจโลก รับมือกับความเป็นไปของโลกได้

ดังนั้น หนึ่งในพัฒนาการ 4  ด้านของเด็กยุคนี้ที่ครูและพ่อแม่ควรให้ความสำคัญอย่างมากและส่งเสริมพัฒนาคือพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้นิยามไว้ว่า “เป็นการเข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข” เราจึงต้องส่งเสริมพัฒนาเด็กให้เขาเข้าใจตัวเอง จัดการตัวเองได้ เข้าใจคนอื่น มีมนุษย์สัมพันธ์ มีทักษะทางสังคม และดำรงชีวิตอย่างมีความสุข  

คำว่าเข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มีการตีความว่า คือ “เก่ง ดี มีสุข”  แต่คำว่า “เก่ง” จะต้องไม่ตีความหมายผิดเป็นเรียนเก่ง คำว่าเก่งในที่นี้ควรเป็น ปรับตัวเก่ง รู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเอง มีคุณธรรม จริยธรรม เข้าใจคนอื่น เช่นรู้ว่าเพื่อนเสียใจควรจะทำอย่างไร นี่คือทักษะอารมณ์และสังคมนั่นเอง

เมื่อครูตีความหมายผิด เวลาทำแผนจัดประสบการณ์ ก็จะให้เด็กได้ร้องเพลง เล่นดนตรี ให้สนุกกับเพื่อน ถ้าเด็กทำได้ก็ประเมินว่าเด็กได้รับการพัฒนาด้านอารมณ์และสังคมแล้ว ในแผนนั้นไม่มีการสอนการพัฒนาเรื่อง Self-Management เรื่องการจัดการความโกรธและการควบคุมตัวเองเลย หรือทักษะทางสังคม ครูเพียงแบ่งกลุ่มให้เด็กทำงานด้วยกัน โดยไม่ได้สอนอะไร ไม่ได้ให้เด็กมาทบทวนหรือมาคิดว่าการทำงานร่วมกับคนอื่นนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง  หรือเวลาที่เด็กโกรธ ครูไม่ได้มีกระบวนการให้เด็กเรียนรู้เรื่องอารมณ์ การควบคุมอารมณ์ เด็กก็ไม่เกิดการเรียนรู้พัฒนาด้านอารมณ์ สังคมจริงๆ

ถ้าเช่นนั้นแล้วเราควรจะส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะอารมณ์และสังคมอย่างไร

งานวิจัยเรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (Social & Emotion Learning) ของ Jones and Bouffard (2012) ได้เสนอว่า

1. ให้พัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมผ่านบริบทในโรงเรียน กระบวนการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมที่ดีจะต้องเริ่มจากความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและนักเรียน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนและครอบครัว ซึ่งเป็นความสัมพันธ์พื้นฐานในชีวิต นอกจากนี้ทักษะทางสังคมและอารมณ์ของครูก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียน ครูที่มีทักษะทางอารมณ์และสังคมที่ดีมีแนวโน้มว่าจะมีส่วนช่วยพัฒนการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมควบคู่ไปกับการเรียนรู้ทางวิชาการ การเรียนรู้ทั้งสองส่วนนี้มีความเชื่อมโยงกัน เพราะการเรียนในห้องเรียนนั้นผู้เรียนไม่เพียงใช้ทักษะทางวิชาการเพื่อจะเข้าใจเนื้อหาเท่านั้น แต่ต้องอาศัยทักษะการสื่อสาร ทักษะในการเข้าใจอารมณ์ผู้อื่นเพื่อที่จะสามารถทำงานกับเพื่อน รวมถึงการควบคุมอารมณ์และจัดการตนเอง เพื่อที่จะเรียนรู้และทำงานได้สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย ความสัมพันธ์เชื่อมโยงทั้งสองทักษะเช่นนี้ ทำให้ต้องส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมควรควบคู่ไปกับการเรียนเนื้อหาทางวิชาการ

3. ต้องจัดการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากทักษะเป็นความชำนาญ ต้องอาศัยการฝึกฝนปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจึงเป็นหลักการสำคัญที่จะสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

4. มีระบบการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมที่เป็นเอกภาพ ทั้งในห้องเรียนและภาพรวมของโรงเรียนต้องมีระบบหรือข้อกำหนดในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้บุคลากรในโรงเรียนสามารถวางแผนพัฒนานักเรียนไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงสามารถนำระบบหรือมาตรฐานดังกล่าวมาเป็นข้อมูลเพื่อขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้มีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนอีกด้วย 


ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ปรารถนา หาญเมธี เขียน
ผาณิต บุญมาก เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...