สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

EF งานวิจัย

Less Structured activities vs. EF

นักวิจัยพบว่า เมื่อเด็กเป็นผู้กำหนดด้วยตนเอง ว่า จะใช้เวลาในการทำกิจกรรมอะไร อย่างไร เด็กจะสามารถทำชิ้นงานให้บรรลุเป้าหมายได้มากกว่า และสามารถรู้ได้ว่าหลังจากจบชิ้นงานนี้ๆ แล้วจะต้องไปทำงานชิ้นใดต่อไปยกตัวอย่างเช่น เด็กคนหนึ่งตัดสินใจที่จะอ่านหนังสือในช่วงบ่ายที่คุณครูให้เลือกกิจกรรมเอง หลังจากเสร็จจากการอ่านแล้วเด็กก็ไปวาดรูปเกี่ยวกับหนังสือเล่มที่อ่านมา แล้วก็เอาภาพที่วาดได้ไปเล่าให้พ่อแม่ฟังที่บ้าน นักวิจัยสรุปว่า เด็กคนนี้ได้เรียนรู้มากกว่าเด็กอีกคนหนึ่งที่ทำกิจกรรมเหมือนกันทุกอย่าง แต่มีครูคอยกำกับบทให้ตลอดกระบวนการ เมื่อครบสัปดาห์ นักวิจัยทดสอบเด็กในทักษะด้านคำศัพท์และการอ่านเพื่อวัด EF ผลปรากฏว่า ยิ่งเด็กใช้เวลากับการทำกิจกรรมแบบที่คิดเองทำเองมากเท่าไร คะแนนคำศัพท์กับคะแนนอ่านออกเสียงก็จะสูงมากขึ้นเท่านั้นนักวิจัยชี้ว่า “กิจกรรมที่ถูกผู้ใหญ่กำหนดให้ทุกอย่างแล้วนั้น จะทำให้พัฒนาการในการกำกับสั่งการตนเองช้าลง งานวิจัยชิ้นนี้จะส่งผลให้นักการศึกษาเห็นความสำคัญของการเล่นอิสระ free...

EF กับ Project Based Learning

จากการวิจัยหลักสูตรใหม่ของ Tools of the Mind, ที่สอนเด็กในเรื่อง “self-regulation.” พบว่าแทนที่จะให้รางวัลเมื่อเด็กทำตามคำสั่งของครูเท่านั้น แนวทาง ToM จะส่งเสริมให้เด็กทำงานโครงการด้วยกัน(ไม่ว่าเด็กจะมาจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจสังคมอย่างไร) ให้ส่งเสริมการเรียนรู้ของกันและกันให้แนะนำติชมกันและกัน ขณะเดียวกันก็ให้แต่ละคนสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง วิจารณ์ข้อบกพร่องของตนเอง แก้ไขความผิดพลาดของตนเอง และให้วางแผนว่าจะสร้างหรือเปลี่ยนกระบวนการทำโครงการนั้นๆ อย่างไรให้ดีClancy Blair, Early Childhood Education That Focuses On...

Reading glasses

ในปี 1968 Prof.Dr.Walter Mischel ซึ่งขณะนั้นสอนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ทำการวิจัยที่โด่งดังชื่อ The Marshmellow Test (ดูได้จาก www.youtube.com/watch?v=QX_oy9614HQ) โดยให้เด็ก 4 ขวบเข้ามาในห้องที่มีกระจกมองจากข้างนอก และนักวิจัยสังเกตการณ์อยู่ เจ้าหน้าที่วิจัยจะเข้าไปบอกเด็กว่า เด็กมีขนม marshmallow (บางครั้งอาจจะเป็นขนมชนิดอื่น) คนละ 1 ชิ้น ถ้าเด็กๆอยู่ในห้องนี้และอดทนรอได้ไม่กินขนมจนกว่าเจ้าหน้าที่จะกลับมา(ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 20...

EF กับการอ่าน

งานวิจัยชี้อย่างต่อเนื่องว่า การมี self-regulation กับ executive functioning skills ที่แข็งแรง เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ทางภาษาและการอ่านออกเขียนได้ที่แข็งแรงด้วยDiamond & Lee, 2011; McClelland, et al., 2007; Raver et al., 2011.งานวิจัยชี้ว่า โดยทั่วไปแล้ว ทักษะการอ่านจะบอกถึงความสามารถของ EF ในขณะเดียวกับ...

EF ดี..ชีวิตดีกว่า

ผลการวิจัยระยะยาว พบว่า เด็กที่มีการพัฒนา EF ได้น้อยจะมีสุขภาพที่แย่กว่า ความมั่นคงทางการเงินและทางสังคมในวัยผู้ใหญ่จะต่ำกว่าเด็กที่มี EF ดีกว่าฐานของทักษะEF ที่แข็งแกร่งมีความสำคัญยิ่งกว่าการรู้จักตัวเลขหรือตัวหนังสือ Lewitt, E. M. & Baker, L. S. (1995). School readiness. TL. S. (1995). School readiness. The...
71,670แฟนคลับชอบ

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...