สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก การยับยั้งชั่งใจ

Tag: การยับยั้งชั่งใจ

อย่างน้อยมันก็ไม่ใช่ยาเสพติดนะแม่

เด็กอาฟริกันอเมริกันวัย 8 ขวบคนหนึ่ง เห็นไมเคิล จอร์แดน แข่งฟุตบอลทางโทรทัศน์ ภาพที่จอร์แดนกระโดดชู้ตลูกลงห่วงแล้วได้คะแนนนำจนทำให้ทีมชนะนั้น ติดตาตรึงใจ แต่ไม่ใช่ท่วงท่าหรือแรงบันดาลใจว่าอยากเป็นนักบาสฝีมือฉกาจ หากเป็น “รองเท้า”ที่จอร์แดนสวมใส่ เด็กน้อยขอตังค์แม่ซื้อ ข้อต่อรองจากแม่คือคะแนนเรียนต้องได้เอ เพราะแม่เป็นครู นั่นทำให้เขาตั้งใจเรียนสุดๆ เพื่อจะได้เป็นเจ้าของรองเท้าแบบที่จอร์แดนสวมใส่ในภาพนั้น ช่วงเป็นวัยรุ่นที่มักหมกมุ่นคลั่งไคล้แฟชั่น เขาเอาวาดแต่รูปรองเท้า สะสมแต่รองเท้า ถึงขนาดตอนอายุสิบห้าเริ่มทำงานพาร์ทไทม์ในร้านรองเท้า เพื่อจะได้แกะดูชิ้นส่วนรองเท้าที่มีตำหนิ ที่ลูกค้าคืนมา ได้ลองออกแบบรองเท้าบนกระดาษให้เพื่อน และได้ซื้อรองเท้าก่อนคนอื่นในราคาลดเฉพาะพนักงาน จนบางทีแม่ถึงกับถามว่า...

พลังของความหวัง (Pygmalion Effect)

ปรากฏการณ์ ‘ความคาดหวังสร้างความจริง’ (Self-fulfilling Prophecy) เมื่อความเชื่อเป็นพลังทำให้เราลงมือทำตามความเชื่อนั้นจนเกิดเป็นความจริงขึ้นมา มีความเป็นมาจากตำนานกรีกที่กล่าวถึง พีกมาเลี่ยน (Pygmalion) ซึ่งเป็นปฏิมากรที่หลงรักรูปปั้นหญิงสาวของตนเองมาก จนปฏิบัติต่อรูปปั้นเช่นคนคนๆ หนึ่ง ความรักและความหวังอย่างเหลือล้นทำให้พีกมาเลี่ยนไปอธิษฐานขอพรจากเทพวีนัสให้รูปปั้นนั้นมีชีวิต และได้รับคำพรสมปรารถนา รูปปั้นเกิดมีเลือดเนื้อและลมหายใจกลายเป็นหญิงสาว และพิกมาเลี่ยนได้แต่งงานกับหญิงสาวสมปรารถนา ปรากฏการณ์ ‘ความคาดหวังสร้างความจริง’ (Self-fulfilling Prophecy) หรือ Pygmalion Effect คือปรากฎการณ์ที่ความคาดหวังหรือการปักใจเชื่อในสิ่งใด จะนำไปสู่การกระทำที่ผลักดันให้ความคิดหรือความคาดหวังนั้นเป็นจริงขึ้นมา เหมือนคำพูดที่ว่า...

วัยรุ่น: ติดจอ ออนไลน์ ร้ายและดี

เมื่อมือถือและสื่อออนไลน์ได้กลายเป็นปัจจัยจำเป็นต่อชีวิตในปัจจุบัน จำนวนประชากรมากกว่าครึ่งโลกใช้สื่อออนไลน์ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน สภาวะ New Normal จากสถานการณ์โควิด ยิ่งทำให้คนทุกวัยมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นในการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ เมื่อก้าวขึ้นมาเป็นวัยรุ่น ก็มีมือถือกันทุกคน เฮนรี เจนคินส์ (Henry Jenkins) จากสถาบันการสื่อสารสำหรับวัยรุ่นแห่งแอนเนนเบิร์ก มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจว่า การที่วัยรุ่นเล่นเกมออนไลน์ ใช้เฟซบุ๊ก และทำกิจกรรมบนโลกออนไลน์แบบ Interactive นั้น วัยรุ่นไม่ได้เป็นเพียงเป็นผู้เสพสื่อ แต่กำลังสั่งสมประสบการณ์ เรียนรู้วิธีการผลิตและแบ่งปันความรู้ในโลกยุคใหม่ (ทั้งนี้ สมาคมกุมารแพทย์...

วัยรุ่นติดเบรก

วัยรุ่นติดเบรก ทักษะสมอง EF: ยับยั่งชั่งใจ ในการเติบโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่นนั้น สมองส่วนกลาง (Limbic System) ซึ่งทำงานร่วมกันในการรับรู้เกี่ยวกับอารมณ์ พฤติกรรม ความทรงจำ การตอบสนองต่อการได้รับรางวัลและการถูกลงโทษ จะสมบูรณ์เต็มที่แล้วตั้งแต่อายุราว 13  ปี  แต่สมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ซึ่งเป็นสมองส่วนการคิดชั้นสูง มีทักษะพื้นฐาน การจำเพื่อใช้งาน การยับยั้งชั่งใจ และการยืดหยุ่นความคิด รวมทั้งทักษะการกำกับตนเอง และทักษะปฏิบัติยังไม่สมบูรณ์จนกว่าจะอายุประมาณ 25-26...

วัยรุ่นเป็นเช่นไร ไม่ใช่เพราะเขาเป็นเช่นนั้น

ทุกประสบการณ์ที่ประสาทสัมผัสของเราได้รับสิ่งเร้าจากภายนอก จะถูกส่งเป็นข้อมูลไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์จำนวนมหาศาลในบริเวณนั้นๆ เชื่อมต่อกัน การเชื่อมต่อกันระหว่างเซลล์ประสาทมีสภาพเป็นวงจรโครงข่ายที่ซับซ้อน สร้างการเรียนรู้และส่งข้อมูลกลับไปยังอวัยวะต่างๆให้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เข้ามา โดยมีเป้าหมายพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตคือ การมีชีวิตที่ปลอดภัย ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เมื่อเราถูกเข็มแทง ประสาทสัมผัสตรงผิวบริเวณที่ถูกแทงนั้น จะส่งข้อมูลไปยังสมอง การเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทที่รับข้อมูลเข้ามา ทำให้เกิดการเรียนรู้ว่า สิ่งที่เรียกว่า “เข็ม แทงแล้วเจ็บ” หากเอาเข็มมาแทงอีกครั้ง ร่างกายของเราจะกระตุกหดตัวเข้ามา นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆที่ทำให้เราเข้าใจการทำงานของสมองอย่างง่ายๆ    สมองของเราเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อจัดการร่างกายและจิตใจของเราให้ตอบสนอง และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อการมีชีวิตให้รอดและปลอดภัย          ...

ฐานราก 3 มิติในการพัฒนาวัยรุ่น

วัยรุ่นคือช่วงสะพานของชีวิตที่เชื่อมต่อระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่ ชีวิตช่วงวัยรุ่นเริ่มต้นที่อายุ 10-12 ปี สิ้นสุดประมาณ 21-25 ปี ชีวิตช่วงนี้เป็นชีวิตที่ชวนน่าสับสน เต็มไปด้วยความโกลาหล สุดเหวี่ยง ขณะเดียวกันก็มีชีวิตชีวาอย่างยิ่ง เพราะเพิ่งพ้นจากความเป็นเด็กที่ไม่รู้ประสีประสานัก มาเป็นวัยที่มีความสามารถในการเข้าใจเรื่องยากๆที่เป็นนามธรรม ทำอะไรได้ซับซ้อนซ่อนเงื่อนได้มากเท่าผู้ใหญ่คนหนึ่ง ส่วนทางด้านร่างกายอยู่ๆ ก็พรวดพราดสูงปรี๊ดชั่วข้ามคืน ชวนให้สยองว่า หากไม่หยุดสูงจะเป็นอย่างไร การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นอย่างเด่นชัดทั้งวัยรุ่นหญิงและชาย หากยังจำกันได้ผู้ใหญ่ที่ผ่านการเป็นวัยรุ่น คงไม่ลืมความรู้สึกนึกคิด โดยเฉพาะอารมณ์ที่ความรุนแรงกว่าปกติอย่างที่ไม่เข้าใจตนเองว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ในช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ จำเป็นต้องได้รับความเข้าใจ...

ความคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียน

เมื่อมีการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ ครูสามารถวางแผน และกำหนดกรอบหลักสูตร พร้อมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือ และตัวเลือกต่างๆเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในงานของตนเอง หลักการที่จะช่วยให้ครูประสบความสำเร็จในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แก่นักเรียน มีมากมาย ตัวอย่างเช่น สร้างสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์ ครูไม่ใช่เพียงทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitate) หรือเป็นตัวกลางในการเรียนรู้ของเด็กๆ (Mediate) เท่านั้น หากแต่มีหน้าที่ส่งเสริมให้กำลังใจ หรือเป็น “นั่งร้าน” โดยเฉพาะด้วยการใช้คำพูดของครูเพื่อให้กำลังใจ และเป็นนั่งร่านที่ต่อให้สูงขึ้นๆ คำพูดที่มีความหมายที่คุณครูควรใช้ เช่น           ครูเห็นด้วย เพราะ......           ครูอยากเสริมว่า....           ช่วยอธิบายเพิ่มอีกนิดได้ไหม...          ...

ความรู้ชุด: จักรวาลของ “สมอง” #6

ความรู้เรื่องสมอง 3 ส่วน ในระยะหลัง การศึกษาค้นคว้าที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้เราเห็นวิวัฒนาการของสมอง ซึ่งทำให้เข้าใจกลไกการเกิดพฤติกรรม การเรียนรู้ สติปัญญา การตัดสินใจ และทักษะการบริหารชีวิตของมนุษย์ลึกซึ้งขึ้น โดย พอล ดี. แมคลีน Paul  D. Maclean (1913-2007) นักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน ได้พัฒนาทฤษฎีสมองสามส่วน บนรากฐานวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สมองส่วนแรกที่มีวิวัฒนาการขึ้นมาในสิ่งมีชีวิต คือสมองเพื่อการอยู่รอดหรือที่เรียกว่าสมองสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilian Brain)...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...