สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก ความยับยั้งชั่งใจ

Tag: ความยับยั้งชั่งใจ

เข้าใจธรรมชาติของลูกเพื่อฝึกความยับยั้งชั่งใจ

พลังความอยากกับการยับยั้งชั่งใจมันคู่กัน ถ้าเด็กมีพลังอยากมากแล้วเราไปหยุดเขาเสียหมด บางทีอีกมุมหนึ่งอาจไปทำลายความอยากของเด็ก โอกาสที่เด็กจะ explore ทำสิ่งที่หลากหลายอย่างอิสระเป็นสิ่งจำเป็น ในขณะที่ขอบเขตก็จำเป็น ครูก้าหรือคุณครูกรองทอง บุญประคอง แห่งโรงเรียนจิตตเมตต์ปฐมวัย ได้กล่าวว่า ”ก่อนจะฝึกเด็กวัยอนุบาลให้รู้จักมีความยับยั้งชั่งใจ เราต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กวัยนี้เสียก่อน...” “ก่อนที่เราจะใช้สถานการณ์หรือโอกาสฝึกฝนเด็กจนกระทั่งเด็กคุ้นเคยกับการยับยั้งชั่งใจเข้าไปอยู่ในเนื้อตัวเขาโดยไม่ต้องคอยกำกับภายหลัง เราต้องเริ่มจากรู้จักธรรมชาติของเด็กเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น เด็กเล็กๆ ชอบการเคลื่อนไหว ชอบเสียงเพลง เพราะฉะนั้นเราก็ใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวกับเสียงเพลงทำได้ตั้งแต่เด็กเล็กๆ เลย “ที่โรงเรียนจิตตเมตต์ใช้กิจกรรมประเภทนี้ตั้งแต่ชั้นเนิร์สเซอรี่ พอเด็กได้ยินเสียงเพลงเราก็ชวนเขาเล่น เคลื่อนไหว พอเสียงเพลงหยุดปั๊บ เราก็หยุด การวิ่งการเดินเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็กถึงแม้จะยังอยู่ในวัยเตาะแตะ...

เครื่องมือฝึกลูกให้มีความยับยั้งชั่งใจ

เครื่องมือ 5 อย่างสำหรับใช้ในการฝึกเด็กให้มีความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งเราสามารถสร้างกิจกรรมหรือฉวยเอาวิถีชีวิตประจำวันมาฝึกเด็กได้ เช่น กิจกรรมที่เด็กต้องอดทนรอคอย กิจกรรมที่เด็กต้องปฏิบัติตามกฎ กติกา เงื่อนไข กิจกรรมที่เด็กต้องหยุด กิจกรรมที่ต้องมีการผลัดกันเล่นผลัดกันทำ เป็นต้น ในการฝึกเด็กให้มีความยับยั้งชั่งใจ เราสามารถสร้างกิจกรรมหรือฉวยเอาวิถีชีวิตประจำวันมาฝึกเด็กได้ครูก้าหรือคุณครูกรองทอง บุญประคอง แห่งโรงเรียนจิตเมตต์ปฐมวัย บอกว่ามีเครื่องมือ 5 อย่างที่จะช่วยให้การฝึกเด็กได้ผลดีมีดังนี้ความเข้าใจในธรรมชาติเด็ก ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติเด็กแล้ว ไม่ว่าใช้กิจกรรมใดก็จะมีประสิทธิภาพ เพราะเราจะรู้ว่าเราควรสร้างสถานการณ์อะไรขึ้นมาฝึกเด็ก หรือจะหยิบฉวยโอกาสอะไรในวิถีชีวิตประจำวันมาฝึกความยับยั้งชั่งใจได้...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...