สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก ทักษะสมอง EF

Tag: ทักษะสมอง EF

IQ vs. EF

คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าคนที่มีไอคิวสูง ฉลาด เรียนเก่ง น่าจะมี EF หรือทักษะความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่ดี หรือพูดง่ายๆ ว่า เราคาดหวังว่าเด็กที่เรียนดีจะมีนิสัยการทำงานที่ดีด้วย และจะสามารถจัดการการงานทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนได้ดีศาสตราจารย์ Dr.Adele Diamonds นักวิชาการด้าน EF คนสำคัญซึ่งได้ทำการค้นคว้าวิจัยด้านต่างๆ ไว้มากมาย ชี้ไว้ว่า ทักษะ EF อย่าง Working Memory กับ Inhibition...

ข้อควรรู้ที่สำคัญในการพัฒนาทักษะ EF

การศึกษาวิจัยกระบวนการพัฒนาทักษะ EF ในเด็กด้วยวิธีการต่างๆ 6 แบบ ได้แก่ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับเกมต่างๆ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ศิลปะการต่อสู้ การฝึกสมาธิ และวิธีการมอนเตสซอรี พบประเด็นสำคัญในการพัฒนาทักษะ EF หลายประการ จากการศึกษาวิจัยกระบวนการพัฒนาทักษะ EF ในเด็กของ Dr.Adele Diamonds และ Kathleen Lee ด้วยวิธีการต่างๆ 6...

ขั้นตอนพัฒนาการ EF ในเด็กเล็กแต่ละวัย

ขั้นตอนพัฒนาการ EF ของเด็กแต่ละช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนโตเป็นผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่สามารถมองเห็นทักษะความสามารถ EF ในตัวลูกที่ค่อยๆ ก่อร่างสร้างขึ้นทีละน้อยตามวัยของเด็กตามที่นักวิชาการศึกษา Joyce Cooper-Kahn และ Laurie Dietzel แนะนำไว้ดังนี้ 0-2 ปี ทารกและเด็กเล็กก่อนเข้าโรงเรียน เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า “อยู่กับปัจจุบันขณะ” (“live in the moment”) ต้องการการตอบสนองในทันที เด็ก 1...

ทักษะสมอง EF คือ พื้นฐานของ “ทักษะในศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills)

คนรุ่นใหม่จะอยู่รอดและประสบความสำเร็จได้ ต้องมี ”ทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)  แต่เด็กๆ ของเราจะพัฒนาทักษะชุดนี้ขึ้นมาในตัวได้ ต้องมีทักษะสมอง EF ที่แข็งแรงเป็นพื้นฐาน คนรุ่นใหม่ที่จะอยู่รอดและประสบความสำเร็จในยุคนี้จะต้องมีทักษะและความรู้สำคัญที่เรียกว่า “ทักษะในศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) อันประกอบไปด้วยทักษะพื้นฐาน 3Rs ทักษะในการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม 4Cs ทักษะด้านสารสนเทศ ทักษะชีวิตและทักษะทำงาน การสร้างทักษะดังกล่าวให้แข็งแรงได้จะต้องมีกระบวนวิธีพัฒนาที่ดีมาตั้งแต่ต้นและตลอดช่วงอายุ 0-6...

ทักษะสมอง EF คืออะไร

ทำไมต้อง EF (Executive Function) รู้จัก Executive Functions (EF) ศักยภาพสมองที่ทุกคนมีมาแต่เกิด ทักษะสมอง EF (Executive Functions) คือ ชุดกระบวนการคิด ที่ทำงานในสมองส่วนหน้าของเรา ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อข้อมูลจากประสบการณ์ในอดีตเข้ากับปัจจุบัน ทำให้รู้สึกยั้งคิดยั้งใจ ชะลอความอยาก กำกับพฤติกรรมและอารมณ์ของเราได้ ช่วยปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา วางแผนบริหารจัดการงานต่างๆ...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...