สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Attention

Tag: Attention

พ่อแม่และคุณครูคือ “นั่งร้าน” ของเด็ก

ในการพัฒนาเด็ก พ่อแม่และคุณครูจะต้องเป็น "นั่งร้าน" ที่ดีให้เด็ก โดยสร้างกิจวัตรประจำวัน เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคม สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันในการพัฒนาเด็ก สภาพแวดล้อมของเด็กเปรียบเสมือน“นั่งร้าน”ที่จะทำให้อาคารก่อร่างสร้างตัว พ่อแม่ก็คือสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของลูก พ่อแม่จะต้องเป็น "นั่งร้าน" ที่ดีให้ก่อน โดยสร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูก เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคมสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันครูในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลที่ดูแลเด็กวัย 3-6 ปีก็เปรียบ "นั่งร้าน" ที่มีความสำคัญอย่างมากเป็นผู้ทีจะต้องฝึกฝนคุณลักษณะความสามารถ EF ทั้ง 9 ด้านในชีวิตประจำวันของเด็กและในหลักสูตรการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย...

ลูกจะเป็นอย่างไรถ้าขาดทักษะ EF

เด็กที่ขาดทักษะ EF มักมีปัญหาพฤติกรรมและขาดทักษะในการบริหารจัดการชีวิต นักจิตวิทยาพัฒนาการ Prof. Dr.Philip David Zelazo ชี้ไว้ว่า “เด็กที่ขาดทักษะ EF มักมีปัญหาพฤติกรรมด้วย เช่น แม้ว่าเด็กจะมีจุดมุ่งหมาย แต่ถ้าไม่สามารถวางแผน ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรม ไม่สามารถประเมินตัวเองได้ก็อาจจะนำไปสู่การกระทำที่ไม่เหมาะสมได้ และไม่รู้ว่าจะจัดการกับผลที่ตามมาอย่างไร” จากคำอธิบายนี้ ทำให้เรามองเห็นว่า ในการทำให้จุดมุ่งหมายใดๆ สำเร็จได้นั้น ใช่ว่าเพียงมีเป้าหมายตั้งไว้แล้ว...

ดนตรีส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนา EF

งานวิจัยที่ชี้ว่าการเรียน ฝึกฝนดนตรีส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาสมองส่วนหน้าซึ่งทำให้มีทักษะEF ที่ดี จากงานวิจัยที่ใช้เครื่องสแกนสมอง fMRI บ่งชี้ว่า การฝึกฝนดนตรีตั้งแต่วัยเด็กเล็กส่งผลต่อการพัฒนาทักษะ EF ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ การฝึกฝนดนตรีช่วยให้เด็กมีผลการเรียนในอนาคตดีขึ้น Dr.Nadine Gaab และทีมนักวิจัยจากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์ของโรงพยาบาลเด็กบอสตันในรัฐแมสซาชูเสตต์ สหรัฐอเมริกา มีผลงานวิจัยใหม่ๆ ที่สนับสนุนเรื่องการฝึกเล่นดนตรีอาจช่วยให้พัฒนา EF ได้ โดยได้วิจัยเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่ กลุ่มที่เป็นนักดนตรี และกลุ่มผู้ที่ไม่ได้เป็นนักดนตรี พบว่า...."ผู้ที่เป็นนักดนตรีสามารถทำการทดสอบได้ดีกว่าในด้านความถนัดทางภาษา เช่น สามารถคิดคำศัพท์แยกตามประเภท...

ไอคิวดี EF จะดีด้วยจริงไหม

คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าคนที่มีไอคิวสูง ฉลาด เรียนเก่ง น่าจะมี EF หรือทักษะความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่ดี หรือพูดง่ายๆ ว่า เราคาดหวังว่าเด็กที่เรียนดีจะมีนิสัยการทำงานที่ดีด้วย และจะสามารถจัดการการงานทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนได้ดีพ่อแม่มักห่วงกลัวลูกไอคิวไม่ดี เลยเน้นเร่งเรียนวิชาการกับลูกนักวิชาการชื่อดัง Joyce Cooper-Kahn และ Laurie Dietzel ชี้เรื่องนี้ไว้ว่า “คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าคนที่มีไอคิวสูง ฉลาด เรียนเก่งน่าจะมี EF หรือทักษะความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่ดี...แต่ในความเป็นจริง ไอคิว หรือความสามารถทางปัญญากับ...

ปฐมวัย วัยทองของการพัฒนาทักษะ EF

ในช่วงปฐมวัย(แรกเกิด-6 ปี)เป็นวัยทองของการพัฒนาทักษะ EF ที่พ่อแม่และครูอนุบาลจะต้องช่วยเด็กในวัยนี้ให้พัฒนาทักษะ EF เพื่อให้เด็กมีความพร้อมกับการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป “มีงานวิจัยจากการประเมินผลของโครงการ Chicago School Readiness ชี้ว่า ทักษะ EF ของเด็กที่พัฒนาในช่วงวัยอนุบาล สามารถทำนายถึงความสำเร็จในวิชาคณิตศาสตร์และการอ่านในเวลาอีก 3 ปีต่อมา ยิ่งไปกว่านั้น ทักษะ EF ยังแสดงถึงความพร้อมในการเข้าเรียนได้ดีกว่าการวัด IQ ของเด็ก ทักษะ EFในเด็ก ไม่ว่าการมีสมาธิจดจ่อในงานที่ผู้ใหญ่มอบหมายให้...

ทักษะสมอง EF คืออะไร

ทำไมต้อง EF (Executive Function) รู้จัก Executive Functions (EF) ศักยภาพสมองที่ทุกคนมีมาแต่เกิด ทักษะสมอง EF (Executive Functions) คือ ชุดกระบวนการคิด ที่ทำงานในสมองส่วนหน้าของเรา ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อข้อมูลจากประสบการณ์ในอดีตเข้ากับปัจจุบัน ทำให้รู้สึกยั้งคิดยั้งใจ ชะลอความอยาก กำกับพฤติกรรมและอารมณ์ของเราได้ ช่วยปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา วางแผนบริหารจัดการงานต่างๆ...

พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล

เมื่อดูพัฒนาการตามวัยของเด็กวัยอนุบาลแล้ว เราจะพบว่าเด็กเล็กมีพัฒนาการทางอารมณ์ รู้จักอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ และสามารถควบคุมอารมณ์ได้บ้างแล้ว ลองดูว่าลูกมีพัฒนาการดังนี้หรือไม่ ช่วงวัย 3 ขวบ บอกว่ารักพ่อแม่ คนใกล้ชิดได้ แสดงความดีใจ พอใจ เมื่อทำอะไรสำเร็จ ควบคุมอารมณ์ได้ เมื่อเจอเรื่องที่ไม่ได้ดังใจ ไม่อาละวาดโวยวาย เข้าไปในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย เช่น ไปตัดผม ไปหาหมอ ฯลฯ ก็ไม่ถึงกับกลัว เมื่อผู้ใหญ่ปลอบประโลมก็หยุดหรือสงบสติอารมณ์ลงได้บ้าง แบ่งปันการเล่นกับเพื่อนได้ ช่วงวัย 4ขวบ...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...