สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก Shift

Tag: Shift

ทำอะไรๆ ก็คลิก เพราะพลิกแพลงเก่ง

คนที่พลิกแพลงเก่ง มักจะประสบความสำเร็จในชีวิต คือมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายความคิดจากกิจกรรมหนึ่งไปยังอีกกิจกรรมหนึ่งได้ ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดสิ่งที่ต้องการ ไม่ติดตันอยู่กับงานหรือหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย สังเกตไหมว่า ทำไมคนบางคนถึงปรับตัวอยู่ได้ในทุกสถานการณ์ เข้าไปในสถานที่ใหม่สถานการณ์ใหม่ไม่นานก็ปรับตัวเข้ากับที่นั้นได้ เวลาเจอปัญหาก็หาทางแก้ปัญหาจนลุล่วง มีทางออกและทางเลือกให้ตัวเองเสมอ ในขณะที่บางคนเมื่อมีเหตุการณ์แปลกใหม่หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงก็ไม่อยากยอมรับ ไม่อยากปรับตัวปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือการทำงาน ทำงานเจอปัญหาก็ตีบตัน ไม่มีทางออก ถ้าเป็นเด็กก็มักมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวกับเพื่อนกับโรงเรียน หรือมักจะติดปัญหาในการเรียน การทำงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่สามารถพลิกแพลงแก้ปัญหาได้คนที่ไม่สามารถปรับตัว พลิกแพลง ปรับเปลี่ยนได้เช่นนี้เป็นเพราะขาดความคิดยืดหยุ่น หรือความสามารถในการปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายความคิดจากกิจกรรมหนึ่งไปยังอีกกิจกรรมหนึ่ง ซึ่งเป็นทักษะความสามารถในการปรับเปลี่ยน เปลี่ยนความคิดความสนใจ เปลี่ยนโฟกัสหรือเปลี่ยนทิศทางเพื่อให้เกิดสิ่งที่ต้องการ หรือจังหวะที่เหมาะสม ปรับตัวเข้ากับข้อเรียกร้องของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ประยุกต์ใช้อะไรบางอย่างในสถานการณ์ที่แตกต่างได้...

เด็กอย่างนี้มิใช่หรือ ที่พ่อแม่ ครู และสังคมต้องการ?

การที่เด็กได้รับโอกาสพัฒนา EF นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเองแล้ว สังคมยังได้รับประโยชน์ด้วย เพราะจะเป็นการสร้างบุคคลที่มีคุณภาพ มีพฤติกรรมเชิงบวกและเลือกตัดสินใจในทางที่สร้างสรรค์ต่อตัวเอง ครอบครัว และส่วนรวม คงต้องกล่าวว่า ทักษะความสามารถ EF ที่แข็งแกร่งมีความสำคัญสำหรับการเติบโตของเด็กยิ่งกว่าการเรียนรู้เรื่องตัวเลขหรือการอ่านเขียน การที่เด็กได้รับโอกาสพัฒนา EF นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเองแล้ว สังคมยังได้รับประโยชน์ด้วย เพราะจะเป็นการสร้างบุคคลที่มีคุณภาพ มีพฤติกรรมเชิงบวกและเลือกตัดสินใจในทางที่สร้างสรรค์ต่อตัวเอง ครอบครัว และส่วนรวม หากเด็กได้รับการสร้างเสริมทักษะ EF เขาจะ... มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องจนเสร็จ รู้จักการวิเคราะห์ มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ ลงมือทำงานได้ และจัดการกับกระบวนการทำงาน...

กรอบ กติกา ทีฝึกเด็กให้ใช้ความคิดยืดหยุ่น

การตั้งกรอบ การตั้งโจทย์ที่เหมาะสมจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กได้พยายามใช้ความคิดยืดหยุ่นหาทาง วิธีการที่จะปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกรอบกติกาหรือโจทย์ที่ผู้ใหญ่ตั้งไว้ การให้อิสระทางคิดแก่เด็ก จะทำให้เด็กมีความคิดนอกกรอบ คิดยืดหยุ่นสร้างสรรค์ได้ดี แต่ใช่ว่าผู้ใหญ่ เช่น คุณพ่อคุณแม่ คุณครู จะไม่ต้องมีการสร้างกรอบกติกาให้เด็กปฏิบัติตามเสียทีเดียว ในทางตรงข้ามการตั้งกรอบ การตั้งโจทย์ที่เหมาะสมจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กได้พยายามใช้ความคิดยืดหยุ่นหาทาง วิธีการที่จะปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกรอบกติกาหรือโจทย์ที่ผู้ใหญ่ตั้งไว้ ลองดูตัวอย่างกิจกรรมของโรงเรียนเพลินพัฒนา ที่เด็กจะต้องใช้ความคิดพลิกแพลงให้เข้ากับกติกาที่คุณครูตั้งไว้ ในชั่วโมงศิลปะ คุณครูให้เด็กทำกิจกรรมตัดปะกระดาษสีอย่างอิสระ คุณครูมีโจทย์กำหนดไว้ว่า ให้เด็กเลือกกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีใดก็ได้ที่ชอบเพียง 1 ชิ้น แล้วจะตัดหรือฉีกหรือทำอะไรก็ได้ ให้กระดาษเปลี่ยนเป็นรูปร่างอื่น เช่น เด็กอนุบาล 3 คนหนึ่งเล่านิทานเกี่ยวกับ...

กิจกรรมฝึกความคิดยืดหยุ่นของเด็กอนุบาล

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อจะจัดกิจกรรมฝึกความคิดยืดหยุ่นให้ลูก พร้อมตัวอย่างกิจกรรมฝึกความคิดยืดหยุ่นที่คุณครูจัดให้เด็กอนุบาล ข้อคิดเมื่อคุณแม่ต้องการฝึกลูกให้ให้มีความคิดยืดหยุ่นดังนี้ คุณพ่อคุณแม่พยายามตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้ลูกใช้ความคิดหลากหลาย ให้ลูกได้เจออุปสรรค และได้คิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ให้ลูกได้รับประสบการณ์จากสื่อที่หลากหลาย เช่น หนังสือ ทีวี อินเทอร์เน็ต ของจริง สถานที่เที่ยวต่างๆฯลฯ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก ให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่มั่นใจไว้วางใจในตัวลูก คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ เห็นความสำคัญของความคิดยืดหยุ่น เป็นแบบอย่างที่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกมีกิจกรรมร่วมกับคนอื่นๆ เพื่อฝึกความคิดที่ยืดหยุ่น เขาจะได้เห็นว่าแต่ละคนมีความคิดที่แตกต่างหลากหลาย เด็กจะเรียนรู้ว่าไม่จำเป็นต้องคิดแบบเดียว มีวิธีคิดที่หลากหลายมากมายให้เรานำไปใช้ได้ให้สำเร็จได้ “พยายามตั้งโจทย์หรือมีคำถามที่เป็นคำถามปลายเปิดที่ทำให้เด็กต้องใช้ความคิดหลากหลายมีทางเลือก” “เปิดโอกาสให้เด็กได้เจออุปสรรค ได้ใช้ความคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง” “เปิดโอกาสให้เด็กได้เจออุปสรรค ได้ใช้ความคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง”

“กิจกรรมวิเคราะห์ภาพถ่าย” : คำถามปลายเปิดที่ฝึกความคิดยืดหยุ่น

คำถามปลายเปิดเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะกระตุ้นเด็กให้ดึงความจำ (Working Memory) ออกมาใช้ แล้วคิดยืดหยุ่นดัดแปลงแก้ปัญหาผู้ใหญ่ที่เข้าไปช่วยเด็กในทุกเรื่อง เด็กก็จะขาดโอกาสได้ใช้ความคิดยืดหยุ่น คำถามปลายเปิดเป็นเครื่องมือสำคัญมากที่จะสร้างโอกาสให้ลูกได้ใช้ความคิดของตัวเอง โดยดึงความจำ (Working Memory) ออกมาใช้ แล้วนำมาใช้ดัดแปลง ยืดหยุ่น คุณครูก้า (อ.กรองทอง บุญประคอง แห่งโรงเรียนจิตตเมตต์ปฐมวัย) เสนอแนะว่า กิจกรรมวิเคราะห์ถ่ายภาพ ทำได้ง่ายๆ โดยเลือกภาพมาให้เด็กดู แล้วตั้งคำถามจากรูปภาพให้เด็กคิด วิเคราะห์ เช่น ”หนูคิดว่า...

ทำอะไรๆ ก็คลิก เพราะพลิกแพลงเก่ง

คนที่พลิกแพลงเก่ง มักจะประสบความสำเร็จในชีวิต คือมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายความคิดจากกิจกรรมหนึ่งไปยังอีกกิจกรรมหนึ่งได้ ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดสิ่งที่ต้องการไม่ติดตันอยู่กับงานหรือหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย คนบางคนปรับตัวอยู่ได้ในทุกสถานการณ์ ในขณะที่บางคนเมื่อมีเหตุการณ์แปลกใหม่หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงก็ไม่อยากยอมรับ ไม่อยากปรับตัวปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต คนที่ไม่สามารถปรับตัว พลิกแพลง ปรับเปลี่ยนได้เช่นนี้เป็นเพราะขาดความคิดยืดหยุ่น หรือความสามารถในการปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายความคิดจากกิจกรรมหนึ่งไปยังอีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งเป็นทักษะความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดความสนใจ เปลี่ยนโฟกัสหรือเปลี่ยนทิศทางเพื่อให้เกิดสิ่งที่ต้องการ ทักษะนี้จะช่วยให้เด็กเรียนรู้การไม่ยึดติดตายตัว มองเห็นจุดผิดแล้วแก้ไข และปรับเปลี่ยนวิธีทำงานด้วยข้อมูลใหม่ๆ ช่วยให้พิจารณาสิ่งต่างๆ จากมุมมองใหม่ คิดนอกกรอบ คิดแก้ปัญหา รู้จักหาสิ่งอื่นมาทดแทน ช่วยให้เด็กเรียนรู้ว่า ในกฎเกณฑ์ต่างๆ มีข้อยกเว้นได้ พวกเขาสามารถทดลองวิธีใหม่ๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีเดิมเสมอไป...

เล่นเกมพัฒนาความคิดยืดหยุ่น

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานยาง (Nanyang Technological University-NTU) ชี้ว่า ผู้ใหญ่ที่เล่นเกม “Cut the Rope” สม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง ทำให้ EF ดีขึ้น เช่นเดียวกับเด็กที่เล่นเกมนี้ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานยาง (Nanyang Technological University -NTU) ชี้ว่า ผู้ใหญ่ที่เล่นเกม “Cut...

พ่อแม่และคุณครูคือ “นั่งร้าน” ของเด็ก

ในการพัฒนาเด็ก พ่อแม่และคุณครูจะต้องเป็น "นั่งร้าน" ที่ดีให้เด็ก โดยสร้างกิจวัตรประจำวัน เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคม สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันในการพัฒนาเด็ก สภาพแวดล้อมของเด็กเปรียบเสมือน“นั่งร้าน”ที่จะทำให้อาคารก่อร่างสร้างตัว พ่อแม่ก็คือสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของลูก พ่อแม่จะต้องเป็น "นั่งร้าน" ที่ดีให้ก่อน โดยสร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูก เป็นแบบอย่างพฤติกรรมทางสังคมสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง บนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันครูในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลที่ดูแลเด็กวัย 3-6 ปีก็เปรียบ "นั่งร้าน" ที่มีความสำคัญอย่างมากเป็นผู้ทีจะต้องฝึกฝนคุณลักษณะความสามารถ EF ทั้ง 9 ด้านในชีวิตประจำวันของเด็กและในหลักสูตรการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย...

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...