Executive Functions Sanbox

คู่มือการพัฒนาทักษะสมอง EF เด็กปฐมวัยในโรงเรียนนวัตกรรมกรุงเทพมหานคร EF Sandbox

กรุงเทพมหานครให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพมาโดยตลอด ได้กำหนด “30 นโยบายเรียนดี” เพื่อพัฒนาโรงเรียนคุณภาพสำหรับเด็ก กทม. และลดความเหลื่อมล้ำ โดยสำหรับเด็กปฐมวัยช่วง 0-8 ปีได้วางนโยบายย่อยว่า “ส่งเสริมหลักสูตร คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น” มุ่งเน้นที่การส่งเสริมทักษะสมอง EF และพัฒนาการด้านตัวตน (Self) ของเด็กปฐมวัยนั่นเอง

ดังนั้นเมื่อมีการออกพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 จึงถือเป็นโอกาสของกรุงเทพมหานคร ที่ใส่ใจในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 437 โรงเรียน ได้ยื่นขอจัดตั้งเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (BMA Education Sandbox) และมีโรงเรียนสมัครเป็นสถานศึกษานำร่อง 54 โรงเรียน ในจำนวนนี้ โรงเรีียนวัดบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะเป็นโรงเรียนเพียงหนึ่งเดียวที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมในระดับปฐมวัย และมีโรงเรียนวิชากร (ระดับปฐมวัย)เขตดินแดง เข้าร่วมเป็นโรงเรียนร่วมเรียนรู้ (Co-Learning School) กับโรงเรียนวัดบางปะกอก

ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ทีมงานวิชาการของสถาบันรักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ปในฐานะหน่วยงานที่ปรึกษา ได้ร่วมกับผู้บริหารและบุคลากรครูระดับปฐมวัยของโรงเรียนวัดบางปะกอก และโรงเรียนวิชากร ดำเนินกิจกรรม ตามหลักคิด และแนวทางการพัฒนา EF Sandbox (ปฐมวัย)ของสถาบัน รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป เพื่อร่วมกันพัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัยในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษากรุุงเทพมหานคร อย่างต่อเนื่องตามแผนงาน

คู่มือการพัฒนา EF Sandbox (ปฐมวัย) กรุุงเทพมหานครโรงเรียนนวัตกรรมที่มุ่งส่งเสริมทักษะสมอง EF ในระดับปฐมวัย เล่มนี้คือผลจากของการหล่อหลอมรวมพลังกันของหน่วยงานหลายภาคส่วน เพื่อพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยมีบทเรียน มีประสบการณ์เทคนิค และความสำเร็จ เกิดขึ้นมามากมายที่ควรแค่การศึกษาเรียนรู้ นำไปเป็นข้อมูลในการกำหนดทิศทาง ปรับปรุงการดำเนินงาน และขยายผลแนวปฏิบัติที่ดีในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาอื่นต่อไป

" เราเห็นว่าประสบการณ์ในช่วงปฐมวัย มีความสำคัญเพียงไรต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาตลอดชีวิต ทั้งเห็นสภาพแวดล้อมในช่วงปฐมวัยได้ฝังลงใน "สมองของเด็ก" และเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสมองไปอย่างไร "

Andrew S. Garner