สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

การเล่นคือหัวใจของการเรียนรู้ของเด็กเล็ก (ตอนต่อจากเรื่อง Creative Play)

ขณะที่เด็กเล่น พวกเขาเรียนรู้
แต่ที่สำคัญที่สุด ในขณะเล่น เด็กเรียนรู้ว่าจะเรียนรู้อย่างไร

~ O. FRED DONALDSON ~

ตลอดช่วงปฐมวัย การเล่นส่งเสริมพัฒนาร่างกายของเด็ก เพิ่มทักษะการใช้ประสาทสัมผัส การใช้กล้ามเนื้อ และการสำรวจ เด็กๆจะค่อยๆ เสริมความสามารถในการใช้ร่างกายให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนทางด้านจิตใจ การเล่นเติมเต็มความสุขอย่างยิ่งยวด เสียงหัวเราะ รอยยิ้มและแววตาสดใสเกิดขึ้นตลอดเวลา และแน่นอน การเล่นส่งเสริมทักษะการคิดและการแก้ปัญหาใหม่ๆ ได้ฝึกวางแผน ฝึกเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่หลากหลาย ได้เรียนรู้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ไม่ว่า เรียนรู้ทางภาษา เรียนรู้การคิดคำนวณ การพัฒนาคอนเซ็ปต์ การเสริมทักษะมือตา ฯลฯ

แต่อีกประการที่สำคัญที่สุดของการเล่นคือ การเสริมทักษะทางสังคม การเล่นบทบาทสมมติ ทำให้เด็กเรียนรู้บทบาททางสังคม รู้จักสร้างมิตรภาพ ต่อรอง ประนีประนอม แก้ไขความขัดแย้ง เรียนรู้ที่จะเห็นอกเห็นใจ และเรียนรู้คุณค่าและมุมมองอื่นๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตต่อไป

การเล่น ยังช่วยให้เด็กรู้จักอารมณ์ และรับมือกับอารมณ์ของตนเอง ช่วยบรรเทาเยียวยาความทุกข์ความเครียดหรือแรงกดดันที่มีในตัวเด็กๆ และเป็นตัวของตัวเองได้ โดยไม่ต้องถูกบังคับกะเกณฑ์ เด็กจะได้ฝึกฝนการตัดสินใจ การใช้จินตนาการ และการกำกับสภาพแวดล้อมของตนเอง การเล่นช่วยพัฒนามุมมองเฉพาะตัวและสไตล์การแสดงออกที่สร้างสรรค์ของเด็กแต่ละคน

ขณะเดียวกันการเล่น โดยเฉพาะการเล่นกับเพื่อนที่แตกต่าง เช่น เพื่อนที่ด้อยโอกาส หรือเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษ จะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจคนอื่น เห็นอกเห็นใจในความแตกต่าง และเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ดังนั้น จากพลังการเล่นที่มีต่อเด็กดังกล่าวมาข้างต้น เราจำเป็นต้องให้โอกาสการเล่นของเด็กอย่างเปิดกว้าง  เป็นการเล่นแบบปลายเปิด ไม่มีรูปแบบบังคับ ให้เด็กมีอิสระที่จะทดลองไอเดียใหม่ๆ ของตนเองได้เสมอ

ส่งเสริม Creative Play ของเด็ก

ผู้ใหญ่ต้องสะกดกลั้นความรู้สึกของตนเองที่จะไม่ครอบงำวิธีเล่นของเด็ก การเล่นต้องเป็นผลของความคิดและการเลือกของเขาเอง มาจากแรงบันดาลใจของเขาเอง ไม่ใช่ผู้ใหญ่จัดการให้ หรือเอาความต้องการของผู้ใหญ่ไปกำหนด

ผู้ใหญ่เพียงวางเป้าหมายที่จะกระตุ้นให้เขาลองเล่นแบบใหม่ๆ ใช้อุปกรณ์ด้วยวิธีใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนเดิม ให้กำลังใจ ให้เขาสนุกกับการเล่น หรือเล่นกับเพื่อน ขยายขอบเขตการเล่นของเด็กด้วยคำถาม  ไม่ใช่การควบคุม   

ตอบรับความคิดใหม่ๆ ของเขา ส่งเสริมให้กำลังใจให้เด็กหาคำตอบ หรือวิธีเล่นที่หลากหลายมากกว่าหนึ่งวิธี

พยายามเลี่ยงของเล่นหรืออุปกรณ์ที่มีเงื่อนไขหรือวิธีตายตัว

ถ้าจะซื้อของเล่น พยายามซื้อของที่ส่งเสริมการคิด จินตนาการ  ควรหลีกเลี่ยงการซื้อของเล่นที่ทำให้เด็กไม่มีโอกาสคิดสร้างสรรค์

ของเล่นหรืออุปกรณ์ควรมีความหลากหลาย เพื่อให้สมดุลในหลายมิติ เช่น ด้านศิลปะ ดนตรี กับ ด้านประดิษฐ์ คิดค้น วิทยาศาสตร์  ด้านการใช้ร่างกาย กับด้านที่ส่งเสริมจิตใจ ของเล่นที่เล่นคนเดียวกับการเล่นเป็นกลุ่ม เป็นต้น

เมื่อเด็กๆ มีไอเดียอยากทำอะไร หากเป็นไปได้พยายามตอบสนอง เสนอแนะวัสดุให้ทันกับจังหวะความความสนใจนั้น


อ้างอิง
-SIR KEN ROBINSON AND LOU ARONICA, CREATIVE SCHOOLS: THE GRASSROOTS REVOLUTION THAT’S TRANSFORMING EDUCATION, 2016
-BEN JOHNSON, 4 Ways to Develop Creativity in Students, HTTPS://WWW.EDUTOPIA.ORG/ARTICLE/4-WAYS-DEVELOP-CREATIVITY-STUDENTS), 2019
-POWER OF CREATIVE PLAY | IMAGINATION.ORG

บทความก่อนหน้านี้Creative Play (1)
บทความถัดไปความคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียน

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...