สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

Stay Connected

69,770แฟนคลับชอบ

ปัณนธร นันทิประภา

9 โพสต์0 ความคิดเห็น

ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องเรียน หากจะต้องไม่เรียน

เมื่อเด็กๆ เต้นตามทำนองของตัวเอง พวกเขาจะกลายเป็นครีเอเตอร์ และเป็นผู้ประกอบการในอนาคตได้ แต่หากความอยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาตินี้ ไม่มีที่ทางให้เติบโต ก็จะกลายเป็นความสูญเสียความสามารถที่มีศักยภาพ และการเป็นผู้ประกอบการในอนาคต เป็นความเชื่อผิด ที่ว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องของพรสวรรค์ ที่มีคนไม่กี่คนเท่าที่ได้มาแต่กำเนิด ในความเป็นจริงที่ผ่านการวิจัยมาครั้งแล้วครั้งเล่าก็คือ เมื่อแรกเกิด มนุษย์เราทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ในตัว มากกว่าที่เรามีอยู่ในขณะนี้ (George Land & Beth Jarman, 1992; James Higgins, 1996; Unda...

ความคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียน

เมื่อมีการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ ครูสามารถวางแผน และกำหนดกรอบหลักสูตร พร้อมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือ และตัวเลือกต่างๆเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในงานของตนเอง หลักการที่จะช่วยให้ครูประสบความสำเร็จในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แก่นักเรียน มีมากมาย ตัวอย่างเช่น สร้างสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์ ครูไม่ใช่เพียงทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitate) หรือเป็นตัวกลางในการเรียนรู้ของเด็กๆ (Mediate) เท่านั้น หากแต่มีหน้าที่ส่งเสริมให้กำลังใจ หรือเป็น “นั่งร้าน” โดยเฉพาะด้วยการใช้คำพูดของครูเพื่อให้กำลังใจ และเป็นนั่งร่านที่ต่อให้สูงขึ้นๆ คำพูดที่มีความหมายที่คุณครูควรใช้ เช่น           ครูเห็นด้วย เพราะ......           ครูอยากเสริมว่า....           ช่วยอธิบายเพิ่มอีกนิดได้ไหม...          ...

การเล่นคือหัวใจของการเรียนรู้ของเด็กเล็ก (ตอนต่อจากเรื่อง Creative Play)

ขณะที่เด็กเล่น พวกเขาเรียนรู้แต่ที่สำคัญที่สุด ในขณะเล่น เด็กเรียนรู้ว่าจะเรียนรู้อย่างไร ~ O. FRED DONALDSON ~ ตลอดช่วงปฐมวัย การเล่นส่งเสริมพัฒนาร่างกายของเด็ก เพิ่มทักษะการใช้ประสาทสัมผัส การใช้กล้ามเนื้อ และการสำรวจ เด็กๆจะค่อยๆ เสริมความสามารถในการใช้ร่างกายให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนทางด้านจิตใจ การเล่นเติมเต็มความสุขอย่างยิ่งยวด เสียงหัวเราะ รอยยิ้มและแววตาสดใสเกิดขึ้นตลอดเวลา และแน่นอน การเล่นส่งเสริมทักษะการคิดและการแก้ปัญหาใหม่ๆ ได้ฝึกวางแผน ฝึกเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่หลากหลาย ได้เรียนรู้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ไม่ว่า...

Creative Play (1)

ความรู้ที่เด็กต้องการมากที่สุด คือความรู้ที่จะช่วยให้พวกเขาเข้าถึงความรู้ได้มากขึ้น ...

4 วิธีพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในนักเรียน

Benjamin Bloom นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้นำเสนอทฤษฎีการเรียนรู้ที่รู้จักกันในชื่อ Bloom’s Taxonomy ได้จัดอันดับ “ความคิดสร้างสรรค์” ให้เป็นทักษะขั้นสูงสุดของการเรียนรู้ เพราะบุคคลต้องใช้ทักษะความรู้ความเข้าใจอื่นๆ ตั้งแต่ขั้นต้น เริ่มจาก 1) การจดจำข้อมูลและคอนเซ็ปต์2) การเข้าใจและอธิบายความคิดและคอนเซ็ปต์3) การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่4) การวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยงความคิด5) การประเมินและตัดสินใจ กว่าจะไปจนถึงขั้นสูงสุด คือ…6) การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่ ความคิดสร้างสรรค์มักเริ่มต้นด้วยจินตนาการ และจากข้อมูลในอดีตก็ยืนยันให้เห็นว่า หลายสิ่งหลายอย่างที่มนุษย์เราเคยจินตนาการไว้...

โรงเรียนที่ทุกคนมีส่วนร่วม

ครูใหญ่คือคนสำคัญ เมื่อคิดถึงการศึกษา ภาพที่เกิดขึ้นในหัวของเราก็มักจะเห็นภาพนักเรียนสวมชุดเครื่องแบบเป็นระเบียบเรียบร้อย เห็นภาพครูในชั้นเรียนยืนอยู่หน้าห้อง แล้วก็อาคารเรียนหลังมหึมา แต่ในความเป็นจริง การศึกษาไม่ได้เกี่ยวกับโรงเรียน ครู และนักเรียนเท่านั้น ครูใหญ่ของโรงเรียนก็เป็นหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่ง ต่อการกำหนดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน   เพราะครูใหญ่ที่สร้างสรรค์ไม่เพียงแต่บริหารจัดการโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังแสดงบทบาทเป็นผู้นำด้วยวิสัยทัศน์และค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการปรับปรุงโรงเรียนเสมอๆ หนังสือ Creative School ที่เซอร์เคน โรบินสัน เขียน ได้ยกตัวอย่าง ริชาร์ด เกอร์เวอร์ ครูใหญ่ของโรงเรียนประถมศึกษา Grange ว่าเป็นคนมีวิสัยทัศน์...

โรงเรียนที่สอน 8 หลัก (ไม่ใช่ 8 กลุ่มสาระ)

ทุกวันนี้โรงเรียนทั่วไปในประเทศไทยถูกกำหนดให้สอนหลักสูตรที่ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระวิชา ตั้งแต่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี  สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษา และพลศึกษา  ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ เรียกว่าการเรียนทั้งหมดนี้ อัดแน่นวันละ 8 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นที่รู้กันว่า ที่ผ่านมาเด็กไทยนั้นจำนวนชั่วโมงเรียนมากที่สุดในโลก แล้วได้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูง  ตามที่จัดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบนี้ไหม     ...

โรงเรียนแบบเกษตรอินทรีย์ ?

ผลจากการไม่ลงตัวกับการเรียนในระบบโรงเรียนที่พบเห็นกันได้ทั่วไปในปัจจุบัน นักเรียนได้เรียนในสิ่งที่ไม่ชอบ สิ่งที่ชอบกลับไม่ได้เรียน ก็อาจจะส่งผลต่อเด็กต่อเนื่องไปหลายอย่าง บางคนถึงขั้นรู้สึกเสียตัวตน ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง เชื่อว่าตัวเองไม่เอาไหน เรียนไม่ได้ เด็กหลายคนเป็นโรคซึมเศร้าเพราะรู้สึกตลอดเวลาว่าตนไม่สามารถไล่ตามความคาดหวังของโรงเรียน ของผู้ปกครองและกระแสสังคมได้ แย่ไปกว่านั้น นักเรียนที่มีฐานะเศรษฐกิจไม่ดี หรือกลุ่มที่ด้อยโอกาสจำนวนไม่น้อย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะไม่ประสบความสำเร็จในระบบการศึกษาอยู่แล้ว ก็จะยิ่งถูกซ้ำเติมหนักขึ้นไปอีก  จนส่งผลต่อไปในอนาคต  เช่น บางคนอาจจะไม่มีงานทำ บางคนอาจจะจนตรอก ตีตัวออกห่างจากสังคม จนไปกระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทำผิดกฎหมาย ติดคุก เป็นต้น สถานการณ์เช่นว่านี้...
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...