สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องเรียน หากจะต้องไม่เรียน

เมื่อเด็กๆ เต้นตามทำนองของตัวเอง พวกเขาจะกลายเป็นครีเอเตอร์ และเป็นผู้ประกอบการในอนาคตได้ แต่หากความอยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาตินี้ ไม่มีที่ทางให้เติบโต ก็จะกลายเป็นความสูญเสียความสามารถที่มีศักยภาพ และการเป็นผู้ประกอบการในอนาคต

เป็นความเชื่อผิด ที่ว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องของพรสวรรค์ ที่มีคนไม่กี่คนเท่าที่ได้มาแต่กำเนิด ในความเป็นจริงที่ผ่านการวิจัยมาครั้งแล้วครั้งเล่าก็คือ เมื่อแรกเกิด มนุษย์เราทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ในตัว มากกว่าที่เรามีอยู่ในขณะนี้ (George Land & Beth Jarman, 1992; James Higgins, 1996; Unda Naiman, 2000). ตอนเป็นเด็กเล็กเรามีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าตอนที่โตแล้วเพราะว่า ตอนเด็กเรามองสิ่งต่างๆด้วย​ “สายตาที่สดใหม่”  ไม่มี​”มลพิษ” เจือปน แต่พอโตเป็นวัยรุ่นและผู้ใหญ่ เราก็เริ่มจะมีตัวกรองสายตาในทุกสิ่งที่เราเห็น (Stephen Shapiro, 2001)   

ในช่วงเด็กเล็ก ทุกอย่างเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับเด็กๆเสมอ เด็กๆ จะไม่ค่อยกระโดดเข้าตะครุบข้อสรุปเร็วนัก แต่จะค่อยๆเก็บสะสมข้อมูลต่างๆ แล้วก็ประกอบข้อมูลเข้าด้วยกัน แต่พอไปโรงเรียนและเข้าสังคมกับคนอื่นๆ ความอยากรู้อยากเห็นและค่อยๆสะสมความรู้ก็จะถูกกำกับคัดท้าย ถูกปรับวิธีคิด วิธีมอง ให้ต้องสอดคล้องเข้าให้ได้กับกลุ่มเพื่อนและสังคม  โรงเรียนก็จะเน้นไปที่ข้อเท็จจริงที่มีข้อสรุปไว้ชัดเจนแล้ว มากกว่าที่จะให้เด็กๆ ไปค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ  พอเข้ามหาวิทยาลัยเด็กก็จะต้องเลือกวิชาหลัก แล้วก็ทำตัวเองให้เชี่ยวชาญในวิชาหลักนั้นๆ หรืออาจจะทำให้ตัวเองกลายเป็น Expert ในสาขานั้นๆ ต่อมาพอเป็นผู้ใหญ่ อายุมากขึ้น  ชีวิตเราก็จะหาแต่สิ่งที่เราชอบ เราคุ้นเคย  เราจะอ่านนิตยสารแนวเดิม บทความแบบเดิมๆ ดูหนังแนวเดิมๆ กินอาหารแบบเดิมๆ เข้ากลุ่มกับเพื่อนกลุ่มเดิมๆ ฯลฯ  จนแทบจะไม่ได้ลองทำสิ่งใหม่ที่แตกต่างออกไป เราไม่ค่อยลองคิดด้วยวิธีแบบใหม่ๆ เปลี่ยนวิธีสื่อสารแบบใหม่ๆ เปลี่ยนวิธีมองโลกด้วยมุมมองใหม่ๆ 

ยิ่งอายุมากขึ้น เราก็จะแคบลงๆ ไปในสิ่งที่เราคุ้นเคย เราสนใจ เราอยากรู้

ในปี  1968, George Land และ Beth Jarman (1992) ให้เด็กอายุ 5 ขวบจำนวน 1,600 คนทำการทดสอบความคิดสร้างสรรค์ (เป็นแบบทดสอบเดียวกับที่องค์การ NASA ใช้ในการคัดเลือกวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์) จากนั้นติดตามเด็กกลุ่มนี้อีกครั้งเมื่ออายุ 10 ขวบและ เมื่ออายุ 15 ปี จากนั้นก็ทดสอบผู้ใหญ่อีก 280,000 คน ด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกัน ผลที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง ปรากฏออกมาว่า

  • เด็ก 5 ขวบในปี 1968 ทำคะแนนทดสอบได้ 98%
  • เมื่ออายุ 10 ขวบในปี 1973 เด็กกลุ่มเดิมนี้ทำคะแนนทดสอบเดิมได้เพียง 30%
  • พออายุ 15 ปีในปี 1978 เด็กกลุ่มนี้ทำคะแนนทดสอบได้เพียง 12%
  • เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่ 280,000 คนในปี 1985  พบว่าผู้ใหญ่ทำคะแนนแบบทดสอบนี้ได้เพียง 2% เท่านั้นเอง !!

นักวิจัยจึงสรุปว่า ยิ่งโต คนเราก็ยิ่งได้เรียนรู้พฤติกรรมที่ไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์  ดังนั้น “ความคิด สร้างสรรค์จึงไม่ใช่สิ่งที่ต้องเรียนรู้ หากแต่ต้องเป็นสิ่งที่ไม่ต้องเรียนรู้” (Creativity is Not Learned, but Rather Unlearned)

หมายความว่าอย่างไร

หมายความว่า คุณครูต้องไม่สอนความคิดสร้างสรรค์ เพราะยิ่งสอนเท่าไรก็จะไม่ได้ผลเท่านั้น หากแต่ต้องสร้าง “บรรยากาศและวัฒนธรรม” การเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดนอกกรอบ การคิดหาแนวทางหรือคำตอบใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระตุ้นให้เด็กๆ คิดค้นในสิ่งที่คิดว่าตัวเองทำไม่ได้มาก่อน แล้วนั่นจะทำให้เด็กๆ เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง

รากฐานของการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมคือความคิดสร้างสรรค์

ดังนั้นคุณครูสามารถลองดู 7 วิธีในการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการประดิษฐ์คิดค้น ดังนี้

สังเคราะห์และเชื่อมโยงประสบการณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน ความคิดสร้างสรรค์คือความสามารถในการเชื่อมโยงและนำบรรดาไอเดีย หลักคิด วิธีมองปัญหา และประสบการณ์ต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน ควรกระตุ้นให้นักเรียนใช้วิธีทบทวน รวบรวมและบันทึกประสบการณ์เดิมที่มีคุณภาพไว้เสมอ ด้วยการเขียนไดอารี่ การจัดทำวารสาร การเขียนบันทึก การถ่ายภาพ ฯลฯ เพื่อนำมาใช้กระตุ้นหรือประกอบกันเป็นไอเดียใหม่ๆในภายหลัง เด็กที่มีฐานประสบการณ์กว้างขวางและวิเคราะห์สังเคราะห์เป็น จะมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่า

ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องซับซ้อน การให้เด็กคิดง่ายๆ ด้วยจินตนาการ ด้วยมุมมองที่มีต่อสิ่งนั้นๆ แบบสดใหม่ ไม่เคยมองมาก่อน จะช่วยให้เด็กมองเห็นสิ่งที่ไม่เคยมองมาก่อน เด็กจะขยายโฟกัสเดิมให้กว้างขึ้น และตีความหรือสัมผัสกับสิ่งที่เคยเห็น ด้วยเลนส์กรองสายตาแบบใหม่

ยกเลิกแบบแผนเก่าๆ เสียบ้าง การทำซ้ำๆทำให้เกิดความเคยชิน มองไม่เห็นมุมใหม่ ลองให้เด็กๆได้รับทรัพยากรใหม่ๆ ที่ดูแปลกๆ ขัดแย้งกับความคุ้นเคยเดิม ไม่เคยเห็นมาก่อน หรือน่าวิพากษ์วิจารณ์  แล้วลองดูว่าเด็กๆคิดอย่างไร  นอกจากนี้การได้พบเจอคนใหม่ๆ สภาพแวดล้อมใหม่ๆ บ้าง ลองคิดวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีใหม่ๆ ยิ่งทำแบบนี้บ่อยเท่าไร เด็กๆก็จะมีประสบการณ์เพิ่มขึ้น แล้วก็จะมีไอเดียมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

สร้างการตีความใหม่ ที่สะท้อนสถานการณ์ปัจจุบัน ปกติเวลาที่เราพยายามแก้ไขปัญหา เรามักจะดึงเอาความรู้มาจากคลังเดิมของเรา ซึ่งก็จะจำกัดความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพราะเราก็มักจะก็อปปี้ ทำซ้ำหรือไม่ก็สำรอกของเก่าลงไป แต่ถ้าเราสร้างความเชื่อมโยงของปัจจัย เปรียบเทียบ หรือประกอบไอเดียด้วยวิธีใหม่ที่ไม่เคยคิดมาก่อน ก็อาจจะทำให้มีโครงสร้างใหม่ๆ กระบวนการใหม่ๆ หน้าที่ใหม่ๆ หรือเครื่องมือใหม่ๆ เกิดขึ้นก็ได้ การสร้างนวัตกรรมนั้นเป็นการตีความสถานการณ์ใหม่เพื่อสร้างฉากทัศน์ใหม่ๆ (Innovation is about reinterpreting situations to create scenarios)

มองไปที่หลักของธรรมชาติให้มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต หรือของโลก ระบบนิเวศน์ ระบบดาราศาสตร์ ระบบจุลินทรีย์ ระบบดนตรี พืชพันธุ์วิทยา ฯลฯ ซึ่งหลักของธรรมชาติเหล่านี้จะให้มุมมองและบันดาลใจที่ไม่สิ้นสุด การเฝ้าสังเกตและวิเคราะห์ธรรมชาติจะช่วยให้มองเห็นความเป็นโครงสร้าง รูปแบบ กลไก ภาษา แบบแผน หรือกลยุทธของธรรมชาติในหลากหลายมิติที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างสรรค์ความคิดได้

ท้าทายสมมติฐานเก่าๆ  ลองหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่ปกติไม่เคยทำ ลองให้นักเรียนหาคำตอบต่อสมมติฐานหนึ่งๆให้หลากหลายเท่าที่ทำได้  แล้วลองสุ่มจับคำตอบเหล่านั้นมาเข้าคู่กัน แบบ Mix & Match  แล้วดูสิว่าจะได้ผลลัพธ์ใหม่ๆ ที่เข้าท่าหรือน่าสนใจอย่างไร 

เริ่มจากความรักความชอบที่ให้แรงบันดาลใจ  เด็กไม่ว่าวัยใด มักชอบเล่นของเล่น เล่นกีฬา เล่นอุปกรณ์ (Gadget) เล่นเทคโนโลยี ที่ทำให้พวกเขาได้เล่นไป ใช้จินตนาการไป ลองปล่อยให้พวกเขาเล่นนานพอควร หลายครั้งจะเกิดไอเดียใหม่ๆขึ้นได้

ความคิดสร้างสรรค์มักมาจากการต่อยอดความคิดของคนอื่น เวลาผู้ใหญ่เราประชุม เราจะหมดเวลาไปกับการวิจารณ์ ตัดสิน แทนที่จะเสนอแนะหรือสร้างสรรค์ แล้วที่สุดก็มักจะไม่เกิดไอเดียใหม่ใดๆ ลองสร้างสถานการณ์ด้วยกติกาใหม่  เช่น เมื่อมีโจทย์ว่า “เราควรออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ใหม่อย่างไร” ลองให้นักเรียนคนหนึ่งเป็นผู้เริ่มต้นไอเดียขึ้นมาก่อน แล้วให้คนอื่นๆ คิดต่อยอด ด้วยคำขึ้นต้นว่า “เห็นด้วย และ…….” โดยมีกติกาไม่ให้พูดว่า “ดี แต่……” ซึ่งเป็นการวิจารณ์ความคิดของคนอื่นที่พูดมาก่อน ในที่สุดก็จะมีไอเดียดีๆ สดใหม่ ปรากฏตัวขึ้นมาจากฐานที่ต่อยอดกันมา หัวใจสำคัญอีกอย่างคือ ทุกคนต่อยอดคำตอบของตนให้เร็ว ไม่ต้องคิดมากเกินไป เพราะคำตอบสร้างสรรค์ที่ได้ มักจะมาแบบสด ไม่ได้มาจากกระบวนการคิดปกติของเรา

ต้อนรับความตึงเครียดนิดๆที่สร้างสรรค์บ้าง คนเรามีธรรมชาติที่จะเข้ากลุ่มกับคนที่เหมือนๆกัน หรือเคมีตรงกัน แต่นั่นจะเป็นตัวจำกัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น คุณครูอาจจะจัดให้เด็กที่มีวิธีคิด วิเคราะห์ บุคลิก ที่แตกต่างกัน มาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความตึงเครียดเล็กๆ ในกลุ่ม  ตราบเท่าที่ความตึงเครียดนี้ไม่เกิดเป็นความขัดแย้ง ทุกคนยังใจกว้างที่จะแลกเปลี่ยนพูดคุย สถานการณ์แบบนี้มักจะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ผุดบังเกิดขึ้น ส่วนผสมแบบนี้จะเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีในการสร้างคอนเซ็ปต์หรือไอเดียเจ๋งๆ


อ้างอิง

  • Larry A. Vint, Fresh Thinking Drives Creativity & Innovation, Journal of the Queensland Society for Information Technology in Education, 2005
  • Larry A.Vint, 3CS: CREATING A CULTURE OF CREATIVITY, INTERNATIONAL DESIGN CONFERENCE, Dubrovnik, Croatia, May 15 – 18, 2006.

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...