สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ความรู้ฐานราก 3 มิติในการพัฒนาเด็กและเยาวชน

ในทางหลักการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในประเทศไทยไม่ว่าโดยหน่วยงานด้านอนามัยแม่และเด็ก หรืองานด้านการศึกษา ต่างได้ให้ความสำคัญและมุ่งดำเนินการตามแนวทาง “พัฒนาการ 4 ด้าน” ได้แก่ พัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ต่อเนื่องมากว่าครึ่งศตวรรษ แต่ในทางปฏิบัติ กล่าวได้ว่า เมื่อเติบโตเข้าสู่ระบบการศึกษาระดับอนุบาล ประถมและมัธยมนั้น พัฒนาการด้านอื่นๆ ของเด็กๆ ก็ถูกละเลยไปเกือบสิ้น ถนนทุกสายมุ่งสู่การพัฒนาด้านสติปัญญา คือ การเรียนเขียน อ่าน คิดคำนวณ เป็นสำคัญ  ซึ่งแท้ที่จริงก็เป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ เสี้ยวเดียวเท่านั้นของการพัฒนาสติปัญญาในภาพรวม

นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งของปัญหาการพัฒนาเด็กไทย นับตั้งแต่พัฒนาการที่ล่าช้าในเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะด้านภาษา ต่อเนื่องเป็นปัญหา IQ, EQ ต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กประถมศึกษา และปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ทั้งปวงในวัยรุ่น; ติดยา ติดเกม ก้าวร้าว ซึมเศร้า และสมรรถนะการคิดและกำกับตนเองต่ำ ทั้งนี้ก็เพราะตั้งแต่ในช่วงปฐมวัยซึ่งเป็นช่วงวางเสาเข็มของชีวิต พัฒนาการของเด็กปฐมวัยไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และสมดุลทุกด้านนั่นเอง

กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา งานวิจัยของนานาชาติด้านประสาทวิทยาศาสตร์ ​(Neuroscience) มีความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด ช่วยเผยความลี้ลับของสมองที่มนุษย์ไม่เคยเข้าใจมาแต่อดีต ให้ปรากฏชัดเจนขึ้นว่า ธรรมชาติการทำงานสมองของมนุษย์เราเป็นอย่างไร และที่สำคัญ ช่วยให้เราได้เห็นว่า สมองส่วนหน้าที่ทำหน้าที่ควบคุมบัญชาการชีวิตนั้น เกี่ยวข้องกับพัฒนาการในด้านอื่นๆ ทั้งร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และการเรียนรู้ของเราอย่างไร โดยเฉพาะความเข้าใจต่อพัฒนาการด้านทักษะสมองส่วนหน้าที่เรียกว่า Executive Functions (EF) ซึ่งมีงานวิจัยมากมายชี้ชัดว่า เป็นพัฒนาการที่มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพอยู่ในตัว เมื่อได้รับการฝึกฝนจนทักษะ EF นี้ฝังเป็นโครงสร้างถาวรในสมองตั้งแต่ช่วงปฐมวัย จะเป็นต้นธารสำคัญของการสร้างบุคลิกภาพหรือคุณลักษณะที่สำคัญและจำเป็น นำไปสู่ความสำเร็จของชีวิตได้ เพราะ EF เป็นทักษะที่ช่วยให้เด็กเยาวชน คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และมีความสุขในชีวิตเป็น  และหาก EF ไม่ได้รับการส่งเสริม ก็จะส่งผลตรงข้าม กลายเป็นผลลบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม

ดังนั้น พัฒนาการด้านทักษะสมอง EF จึงเป็นธรรมชาติของสมองที่พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรที่ทำงานกับเด็ก จำเป็นต้องเข้าใจ และนำความเข้าใจเรื่องธรรมชาตินี้ไปส่งเสริมเด็กทุกช่วงวัยให้สอดคล้อง ไม่ทำในสิ่งที่ขัดขวางต่อพัฒนาการของสมอง EF โดยควรฝึกฝนต่อเนื่องให้เด็กมีความสามารถในคิด ด้วยการให้ประสบการณ์ที่หลากหลาย ได้ลงมือทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ให้เด็กฝึกคิดยืดหยุ่น พร้อมๆ ไปกับการฝึกการยับยั้ง อดทนรอคอยได้ ฝึกให้เด็กได้วางแผนตามวัยและลงมือทำด้วยตนเอง เมื่อทำสิ่งใด ก็ให้มุ่งมั่นจนกว่าสำเร็จ ไม่ท้อถอยต่อความยากลำบากง่ายๆ ยอมรับความท้าทายได้เหมาะสมตามวัย ได้รับการส่งเสริมให้ริเริ่มกล้าลงมือทำในสิ่งที่ไม่เคยมาก่อน ขณะเดียวกัน ให้โอกาสเด็กฝึกการกำกับตนเอง ฝึกการมีสมาธิ ทำสิ่งใดๆ ให้จดจ่อยาวนานขึ้น  ได้ฝึกจัดการและกำกับอารมณ์ตนเอง และให้ได้ฝึกการทบทวนประเมินตนเองเสมอๆ ในความควรหรือไม่ควรใดๆ การฝึกฝนเหล่านี้อย่างต่อเนื่องจะเพิ่มความสามารถของสมอง ทำให้กระบวนการคิด การทำ การจัดการของเด็กฝังตัวเป็นคุณลักษณะที่ดี และมีสมรรถนะสูงขึ้นเรื่อยๆ

“งานวิจัยยังชี้ว่า การฝึก EF สามารถนำพาไปสู่การมีมโนธรรมสำนึกหรือศีลธรรมในบุคคล”

นอกจากพัฒนาการด้านทักษะสมอง EF แล้ว พัฒนาการด้านตัวตน (Self) ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องได้รับโอกาสพัฒนาไปพร้อมๆ กันอย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่ Self ก็เป็นอีกหนึ่งธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน เป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยทารก จากการที่มี “แม่ (หรือผู้ดูแลหลัก) ที่มีอยู่จริง” ทารกได้รับการตอบสนองจาก “แม่” ได้รับความรัก ความเอาใจใส่ มีสายสัมพันธ์ทางบวกกับ “แม่”ต่อเนื่อง จนถึงวัยประมาณ 3 ขวบ เด็กน้อยก็จะเกิดความรับรู้ในตัวตนของตนเอง (Self) ว่า “ตัวเรานั้นมีอยู่จริง” ตนเป็นอีกหนึ่งชีวิตที่แยกจาก “แม่” นั่นคือจุดตั้งต้นของพัฒนาการด้านตัวตน และจากการรับรู้ตัวตนของตนเอง ด้วยการเลี้ยงดูที่มีความรัก ความใส่ใจ เด็กจะค่อยๆพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง (Self – Esteem) และจากการตระหนักคุณค่าของตนเองนี้เอง เด็กก็จะดูแลรักษาและธำรงคุณค่าในตนนี้ ไม่ปล่อยตนเองให้เกิดความเสียหาย นี่จึงเป็นพื้นฐานของการพัฒนา Self – Control หรือความสามารถในการกำกับควบคุมตนเอง ให้ดำเนินชีวิตไปในครรลองหรือไปสู่เป้าหมายของตนเองต่อไป

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริบทของวัฒนธรรมไทยโดยพื้นฐานไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อพัฒนาการด้านตัวตน (Self) ของเด็ก คตินิยมที่ว่า “ชมนักมักเหลิง” หรือการมุ่งเน้นให้เด็กต้องนอบน้อม สละตัวตนเพื่อเดินตามวิถีที่ผู้ใหญ่กำกับ ทำให้การส่งเสริมพัฒนาการด้านตัวตนในเด็กขาดหายไปจากกระบวนการดูแล พัฒนาและจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนไทยอย่างน่าเสียดาย 

ทั้งการไม่เข้าใจธรรมชาติของทักษะสมอง EF และไม่เข้าใจธรรมชาติของตัวตน (Self) ในเด็ก  ก็เป็นอีก 2 สาเหตุที่ทับถมซ้อนกับระบบการศึกษาที่เน้นแข่งขันเพื่อสอบ ทำให้โอกาสในการพัฒนาที่สำคัญของเด็กไทยแหว่งวิ่นหายไป และส่งผลต่อสถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนที่กล่าวไว้ข้างต้นหนักหน่วงยิ่งขึ้น ดังนั้น จากการขับเคลื่อนองค์ความรู้เรื่องทักษะสมอง  EF ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2557 คณะนักวิชาการภาคี Thailand EF Partnership และสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) จึงเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่เด็กไทยควรได้รับการพัฒนาอย่างถูกทิศทาง ตามธรรมชาติจริงแท้ของชีวิต  โดยผู้ใหญ่ทุกคนที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้พื้นฐาน (Knowledge Foundation) ที่เรียกว่า “ความรู้ฐานราก 3 มิติการพัฒนาเด็ก” ประกอบด้วย

  • มิติพัฒนาการ 4 ด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม ละสติปัญญา (ที่ไม่เน้นเฉพาะการอ่านออกเขียนได้)
  • มิติพัฒนาการด้านทักษะสมอง EF
  • มิติพัฒนาการด้านตัวตน (Self)

โดยพัฒนาไปพร้อมกันในตัวเด็กคนเดียวกัน ไม่แยกส่วน ให้ทุกประสบการณ์ที่เด็กได้รับไม่ว่าจากที่บ้านหรือโรงเรียน ชุมชน มีทั้ง 3 มิติเกิดขึ้นไปอย่างสอดคล้องกลมกลืน บนฐานความรู้ความเข้าใจของผู้ใหญ่ทุกคน

การขับเคลื่อนของคณะนักวิชาการภาคี Thailand EF Partnership และสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง  กรุ๊ป) โดยการสนับสนุนของ สสส. ได้แสดงให้เห็นเชิงประจักษ์ทั้งในพื้นที่ต้นแบบ โรงเรียนต้นแบบ ฯลฯ แล้วว่า การส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 3  มิติไปพร้อมกันนี้เป็นสิ่งที่ทำได้โดยง่าย ไม่ต้องใช้เงิน ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพงใดๆ เพียงใช้มุมมอง หรือ Mindset ของผู้ใหญ่เท่านั้น ก็สามารถจะสร้างสรรค์และจัดกระบวนการ เพื่อพัฒนาเด็กไทยทุกคน ในทุกพื้นที่ ให้ได้รับการพัฒนาโดยสมบูรณ์ได้อย่างแน่นอน

สุภาวดี หาญเมธี
ประธานสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

1 ความคิดเห็น

  1. เด็กๆเรียนรู้เ้วยความสุขและทุกคนได้ลงมือทำผลงานด้วยตนเอง มีความภาคภมูิใจในผลงานของตนเอง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...