สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

ทำให้ EF เป็นของธรรมดา

ถ้าอยากให้คนธรรมดา มี EF ก็… “ ทำให้ EF เป็นของธรรมดา”

คุณค่าและความหมายที่แท้จริงของ EF คือ EF เป็นเรื่องความสามารถของคน ความสามารถในการบังคับสัญชาตญาณอย่างสัตว์ได้ สัญชาตญาณสัตว์นั้นมีเพื่อการอยู่รอด เพื่อไม่ถูกจับกิน เป็นส่วนของสมองที่ต้องทำงานไวมาก แต่ EF เป็นส่วนที่ทำให้เกิดความยั้งคิด เมื่อเกิดความยั้งคิด ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่ถูกกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่ไม่ถูกต้อง ที่มาชักจูงไปในทางเสื่อม ชีวิตของคนคนนั้นก็จะดี ความสัมพันธ์ของเขาต่อคนอื่น หรือพฤติกรรม ความประพฤติต่างๆ ของเขาก็จะถูกกำกับโดยสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล EF จึงเป็นเรื่องความดี ฉะนั้นถ้าพลเมืองของเรามี EF เข้มแข็ง สังคมของเราก็จะอยู่เย็นเป็นสุขมากขึ้น นี่คือหัวใจสำคัญของ EF

ในอีกมุมหนึ่ง หากเราฝึก EF ให้เข้มแข็ง สมองส่วนความจำใช้งาน หรือ Working Memory มันจะใหญ่ขึ้น เปรียบเหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่มีส่วน CPU (Central Processing Unit) ที่ทำหน้าที่ process data ได้มากๆ เหมือน “Intel inside” เหมือน chip ที่อยู่ข้างในคอมพิวเตอร์ สามารถดึง data จากหลากหลายด้านมาใช้ได้ในเสี้ยววินาที โลกสมัยนี้ซับซ้อนอย่างยิ่ง คนที่คิดได้จากหลายมุม ก็จะเป็นคนที่มีมุมมองกว้างขวาง และเข้าใจเรื่องที่ซับซ้อนได้ดี

EF เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ อยู่ในชีวิตประจำวัน อยู่ในความรู้สึกนึกคิดของเรา อยู่ในระบบความปฏิสัมพันธ์ของตัวเรากับคนอื่น อยู่ในปฏิสัมพันธ์ของคนที่อยู่ในองค์กร คนที่ทำกิจกรรมร่วมกัน และดังนั้น มันก็ย่อมจะอยู่ในระบบต่างๆของประเทศทั้งหลาย เพราะระบบต่างๆ ก็มีคนเป็นองค์ประกอบสำคัญ EF จึงเปรียบเหมือน CPU ที่ซ่อนอยู่ข้างในคนและในระบบสังคม

เด็กที่ได้รับการฝึก EF แข็งแรง ก็จะมีบุคลิกภาพ (character) หรือจะเรียกว่ามีคุณลักษณะที่ดี การศึกษาสมัยใหม่ไม่ใช่เรียนเพื่อวิชาความรู้หรือเพื่อหางานทำเท่านั้น แต่เรียนเพื่อสร้างบุคลิกภาพ สร้าง mindset ในด้านบวกประกอบไปด้วยEF จึงเป็นตัวช่วยเสริมการพัฒนาบุคลิกหรือคุณลักษณะให้ดี

นับวันการเรียนรู้ของมนุษย์ต้องเปลี่ยนชุดความรู้มากขึ้น เร็วขึ้น รุนแรงขึ้น ผมเห็นว่า คนที่มี EF แข็งแรงจะมีพื้นฐานที่ทำให้ตนเองปรับตัว เปลี่ยนแปลงได้ง่าย โลกสมัยนี้ต้องการการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งมนุษย์ควรมีสมรรถนะหรือขีดความสามารถในการเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างเป็นผู้กระทำ ไม่ใช่ผู้ถูกกระทำ การมีชีวิตที่ดีได้ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาษาอังกฤษเรียกว่า Change Agent การมี EF เข้มแข็งจะทำให้คนนั้นเป็น Change agent ได้ง่าย ได้แข็งแรงกว่า เพราะว่ามีสมองที่มีความคิดยืดหยุ่น และมองสิ่งต่างๆ ได้หลายแง่หลายมุม

ดังนั้น ก็ต้องทำให้ EF เป็นของธรรมดา เป็นเรื่องสามัญที่ทำกันอยู่ในบ้าน ในโรงเรียน ในสังคมในที่ทำงาน พูดง่ายๆ คือในสังคมทั้งหมด เมื่อคนมี EF ดี คนจะฟังกันมากขึ้น ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจแนวดิ่งจะลดลง ปฏิสัมพันธ์ในเชิงรับฟังแนวราบมากขึ้น รับฟังซึ่งกันและกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกันมากขึ้น ลองไปสังเกตเด็กว่า เมื่อมีการนำ EF ไปฝึก เขาเปลี่ยนแปลงยังไง เด็กจะฟังกัน ให้เกียรติกัน เคารพผู้อื่น เคารพตัวเองด้วย มั่นใจตัวเองแต่ก็เคารพผู้อื่นเป็นด้วย เราต้องฝึกจนชิน จนเป็นธรรมดาของเขา

ต้องทำให้ EF เป็นของธรรมดา เป็นเรื่องสามัญที่ทำกันอยู่ในบ้าน ในโรงเรียน ในสังคม ในที่ทำงานถ้าในสังคม คนมี EF ดี ผู้คนจะฟังกันมากขึ้น ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจแนวดิ่งจะลดลง แนวราบจะมากขึ้น รับฟังและให้เกียรติซึ่งกันและกันมากขึ้น

ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช

สื่อชุด พลังสมองเด็กไทย สร้างได้ด้วยพลังชุมชน
ความรู้จากบทสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...