สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

เอกสารแปลและเรียบเรียง ลำดับที่ 9 (ตอนที่ 2) กิจกรรมพัฒนาทักษะ EF ในเด็กวัย 5-7 ปี

กิจกรรมพัฒนาทักษะ EF ในเด็กวัย 5-7 ปี

เด็กวัย 5-7 ขวบมีพัฒนาการทางร่างกายที่ยืดสูงขึ้น เหมือนผู้ใหญ่ เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ว่องไว วิ่งและทรงตัวได้ดี สามารถยืนขาเดียวได้อย่างมั่นใจ เมื่อควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น เด็กในวัยนี้จึงชอบกระโดดโลดเต้น  ชอบความท้าทายโดยเฉพาะทางร่างกาย ภาษาที่ดีขึ้นมาก ในทางสติปัญญาเด็กเริ่มเข้าใจเหตุผลเชิงรูปธรรม (Concrete operation) เช่น เข้าใจเรื่องความคงอยู่ (Conservation) ของน้ำหนัก ปริมาตร และมวลสาร ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปอย่างไร เข้าใจเรื่องเวลา สามารถคิดเลขในใจได้ ในความสามารถทางด้านภาษามีความเข้าใจความหมายของคำและเลือกใช้คำเป็นเข้าใจความหมายที่ซับซ้อนในเรื่องที่อ่านมากขึ้น วิเคราะห์เรื่องราวได้ว่าเป็นเช่นไร เข้าใจเหตุผล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ พัฒนาการเชิงสังคมก็ก้าวขึ้นไปอีก เด็กมีความเข้าใจเรื่องบทบาท และกำลังพัฒนาทักษะการอยู่และทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ทักษะสมองส่วนหน้าที่พัฒนาและได้ฝึกฝนมาก่อนหน้านี้ ทำให้เด็กในวัยนี้รู้จักการอดทนรอคอย ควบคุมตนเองได้ดีขึ้น ทักษะยืดหยุ่นความคิดที่เริ่มพัฒนามาทำให้เรียนรู้ที่จะประนีประนอมและต่อรองเป็น 

          การเล่นยังเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งสำหรับเด็กวัยนี้ ทักษะสมองส่วนหน้าหรือ EF เป็นความสามารถของสมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ในการมองเห็นอนาคต ตั้งเป้าหมาย และควบคุมตนเอง ตั้งแต่อารมณ์ ความคิด การกระทำ ฝ่าฟันความยากลำบาก อุปสรรคต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตนกำหนดไว้ เด็กที่เห็นอนาคต แสดงว่าสมองส่วนหน้า ซึ่งเปรียบเหมือนไฟหน้ารถ สาดไฟสูง แรงกว่า เห็นอนาคตไกลกว่า เด็กที่เติบโตขึ้นมาจะทำอย่างนี้ได้ หมายถึงช่วงปฐมวัยนั้นได้เล่นและทำงานมากพอที่จะรู้จักกำลังความสามารถของตนเอง รู้ว่าตนเองชอบอะไร ทำอะไรได้ดี และต้องการทำอะไรในอนาคต ในระหว่างการเล่นที่ดูเหมือนไม่มีสาระอะไร แต่แท้ที่จริง ในระหว่างการเล่นเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายของการเล่น สมองต้องดึงเอาทักษะเชิงบริหาร (Executive Function) พื้นฐานสามอย่างออกมาใช้ตลอดเวลา คือ ทักษะความจำเพื่อใช้งาน ดึงเอาข้อมูลเดิม (ประสบการณ์ที่ผ่านมา) ออกมาใช้กับสถานการณ์การเล่นที่อยู่ตรงหน้า ทักษะยั้งคิดไตร่ตรองคือ ชะลอหรือหยุดหากไปต่อไม่ได้ และทักษะยืดหยุ่นความคิด คือปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อไปบรรลุเป้าหมาย หรือเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ เพื่อไปให้ถึง ในระหว่างการเล่นเด็กต้องควบคุมตนเอง ในการจะควบคุมตนเองได้นั้น เด็กได้พัฒนาทักษะจดจ่อใส่ใจอยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ยิ่งสนุกใจยิ่งจดจ่อ ตั้งใจไปจนกว่าจะเสร็จหรือทำสำเร็จ เป็นความสามารถที่ต้องฝึกฝน การฝึกฝนจากการเล่นเป็นเรื่องสนุก แล้วค่อยพัฒนาไปสู่ความสามารถไปจดจ่อตั้งใจมั่นกับงาน กับการเรียนที่ยากขึ้นและอาจไม่สนุกเท่ากับการเล่น

การเล่นของเด็กพัฒนาตามพัฒนาการตามวัยของเด็ก

          การเล่นการ์ดเกมและบอร์ดเกม เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function: EF) และทักษะกำกับตัวเองของเด็กในวัย 5-7 ปีได้เป็นอย่างดี เด็กวัยนี้มีพัฒนาการทางสมองชอบที่จะเล่นเกมและเรียนรู้กติกาต่างๆ เด็กชอบความท้าทาย แต่อย่างไรก็ตามคนทุกคนต้องการประสบความสำเร็จ ควรชวนเด็กเล่นเกมที่เด็กต้องการเล่น ไม่บังคับและไม่ควรให้เด็กเล่นเกมที่ยากเกินไป ไม่พยายามเอากติกาการเล่นที่ใช้กับผู้ใหญ่มาเป็นกฎในการเล่นกับเด็ก และจะยิ่งดีไปกว่านั้นคือ ท้าทายให้เด็กตั้งกติกาขึ้นมาเอง และชวนกันเล่นตามกติกาที่สร้างสรรค์กันขึ้นมาใหม่

การ์ดเกมและบอร์ดเกมส์ที่สามารถนำเข้ามาช่วยการพัฒนาทักษะสมอง

เกมที่พัฒนาความจำ เป็นเกมที่ช่วยให้ทักษะความจำเพื่อใช้งานได้ฝึกฝนเต็มที่ ในระดับการเล่นที่พื้นฐานที่สุด เช่น เกมจับคู่ไพ่ เพื่อให้เด็กเปิดไพ่เพื่อจับคู่ไพ่ที่เหมือนกัน ฝึกให้เด็กต้องพยายามจำให้ได้ว่า ไพ่ที่เหมือนอยู่ตรงไหนแล้วเอามาจับคู่กัน เช่น เกมไพ่ Go Fish เกมไพ่คลาสสิกที่มีกติกาการเล่น ให้จับคู่ไพ่ที่เหมือนกันให้ได้หมดก่อนคนอื่น เป็นเกมที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศมาก แต่ประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก เล่นง่าย เล่นได้ทั้งครอบครัวทุกเพศทุกวัย เล่นกันครั้งละ 3-5 คนขึ้นไปกำลังสนุก 

เกมจับคู่เพื่อพัฒนาทักษะยืดหยุ่นความคิด เป็นเกมจับคู่ตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ที่ซับซ้อนขึ้นอย่างเช่นเกม UNO ที่มีกติกาซับซ้อนขึ้น จับคู่การ์ดได้หลายเงื่อนไขมากขึ้น ยังเป็นเกมที่เด็กเล่นได้สนุก ไม่เบื่อ

เกมฝึกความเร็วในการตอบโต้ ลองใช้เกมที่จะช่วยฝึกฝนและท้าทายให้เด็กได้ใช้ทักษะจดจ่อใส่ใจและยั้งคิดไตร่ตรอง ส่วนมากที่เล่นในอเมริกาคือการ์ดเกม ชื่อ Snap และเกม Slapjack ซึ่งทักษะที่ต้องการคือการตื่นตัว และความฉับไว เกมใช้สำรับไพ่มาตรฐานมาเล่นกันเป็นกลุ่ม 3-4 คน ประมาณรอบละ 15 นาที (สามารถหาอ่านรายละเอียดในการเล่นใน google เกมตอบคำถามก็เป็นเกมที่ฝึกเด็กให้ใช้ความจำเพื่อใช้งานได้ดี)

เกมเชิงกลยุทธ ที่ต้องวางแผน นอกจากเกมที่กล่าวมาแล้ว เกมที่ฝึกให้เด็กต้องวางแผนในใจ สามารถนำมาฝึกเด็กในวัยนี้ได้โดยเริ่มจากเกมง่าย เกมที่ต้องวางแผน เด็กต้องใช้ทั้งทักษะความจำเพื่อใช้งาน ยั้งคิดไตร่ตรอง ยืดหยุ่นความคิด ในการทำงานไปด้วยกันในระหว่างที่คิดและเล่นตอบโต้กันกับคู่เล่น ซึ่งไม่เพียงแต่สนุก แต่ท้ายที่สุดแล้ว เป็นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับเด็กเป็นอย่างดี หมากฮอส เป็นอะไรที่สามารถทำเองและหาได้ง่ายในบ้านเรา เด็กในวัยนี้เริ่มเล่นและสนุกกับการเล่น หมากฮอล หรือแม้แต่หมากรุก นอกจากนี้ยังมีเกมสงครามทางทะเล (Battleship)ซึ่งเป็นเกมคลาสสิกที่เล่นกันมานานในประเทศแถบตะวันตก ที่ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ง่ายทางออนไลน์ ก็สามารถนำมาชวนเด็กวัยนี้เล่นได้

เกมที่เกี่ยวกับการใช้ตรรกะและเหตุผล เช่น เกมประเภท Puzzle แบบต่างๆ เช่น Lego นั้น เป็นของเล่นที่มีลักษณะเด่นคือ ของเล่นมีปัญหาให้ผู้เล่นเข้าไปแก้ เช่น เป็นภาพที่ไม่สมบูรณ์ ผู้เล่นต้องขยับ ปรับ ประกอบให้เสร็จสมบูรณ์ หรือมีมาแต่ส่วนประกอบ เด็กสามารถตั้งเป้าหมายว่าตนเองต้องการทำอะไร ก็เอาชิ้นส่วนนั้มาประกอบสร้างขึ้นมา ของเล่นประเภทนี้ช่วยพัฒนาทักษะความจำและการยืดหยุ่นความคิดได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับเกมประเภททายคำตอบ แต่ที่น่าสนใจคือ เกมประเภท Puzzle มักจะเป็นเกมที่ต้องอาศัยการจับ หยิบ เคลื่อนย้าย พลิก หมุน ประกอบ ที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงขึ้น สามารถเล่นได้ด้วยกันกับเพื่อน พี่น้อง  ผู้ปกครอง ซึ่งทำให้ทักษะสมอง EF ทำงานตลอดเวลาในการเล่น ต่อยอด ตอบโต้ แลกเปลี่ยน ทำให้ได้ทักษะเชิงสังคมเพิ่มขึ้นไปด้วย เด็กสามารถเล่นได้ตามพัฒนาการของตน

การเคลื่อนไหวทางร่างกายและการเล่นเกมอื่นๆ เกมการละเล่นที่เด็กต้องตื่นตัวและใช้ความเร็วในการเอาชนะหรือไปให้ถึงเป้าหมายที่ตกลงกันไว้ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสในการฝึกทักษะสมองส่วนหน้าเรื่องจดจ่อใส่ใจ ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะกำกับตนเองของ EF และได้ฝึกการยั้งคิดไตร่ตรอง การเอาดนตรีมาประกอบการเล่นเกม เช่น เกมระบำกระด้าง (Freeze Dance) เก้าอี้ดนตรี  เกมออกท่าทางตามคำสั่ง เกมทำท่าทางตามผู้นำ ร้องเพลงและทำท่าทางตามเพลง ปรบมือตามจังหวะเพลง เป็นต้น การเล่นเกมส์ทางกายช่วยให้เด็กตระหนักรู้ในตัวตนของตนเอง (Self-awareness) และควบคุมตนเอง (Self-control) เช่น ในช่วงที่ต้องจดจ่อค้างท่าทาง หรือจับเก้าอี้ในทันทีที่ดนตรีจบลง กีฬา เช่น โยคะ เทควนโด หรือแม้แต่กระโดดเชือก ร้องเพลงเสียงดังและเต้นรำร่วมกัน ก็ช่วยส่งเสริมในการพัฒนาทักษะสมองเช่นกัน 

การเล่นแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เด็กในวัยนี้เริ่มเล่นกีฬาที่มีกฎ กติกาชัดเจน เช่น การเล่นฟุตบอล บาสเกตบอล อย่างง่ายๆได้ กีฬาทำให้เด็กได้มีความพยายามเรียนรู้และจำกติกา เช่น เล่นฟุตบอลใช้เท้าเตะ ใช้มือไม่ได้ เล่นบาสเกตบอลใช้เท้าไม่ได้ ทำให้เด็กได้ฝึกนำความจำเพื่อใช้งานมาใช้ ทำให้ต้องควบคุมตนเอง และตระหนักรู้ในตัวตนของตนเอง

เด็กในวัยนี้เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น การมอบหมายงานง่ายๆ หรือให้อิสระแก่เด็กในการเลือกทำกิจกรรมที่ตนสนใจ เช่น ปั้นตุ๊กตาด้วยดินน้ำมัน วาดภาพหรือวาดการ์ตูน งานประดิษฐ์ ช่วยพ่อทำงานช่าง ลองปลูกต้นไม้ ล้วนเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยทักษะจดจ่อใส่ใจ และการแก้ปัญหา ซึ่งเด็กต้องดึงเอาความจำเพื่อใช้งานและการยืดหยุ่นความคิดเข้ามาใช้ตลอดเวลาการทำงาน (เล่น) ดังกล่าว

          จะเห็นได้ว่า มีแนวทางวิธีการและกิจกรรมมากมายที่ช่วยพัฒนทักษะสมองส่วนหน้า EF ของเด็กวัย 5-7 ปี ซึ่งเด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่เป็นวัยที่กำลังเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 กำลังปรับตัวเข้ากับโรงเรียนและระบบการเรียนที่ต่างไปจากชั้นอนุบาลที่ตนเรียนมา กิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนผ่านการเขียนและอ่าน ทำเลข เช่นที่กล่าวมานี้ควรทำให้บ่อย ให้มาก และค่อยๆ เพิ่มความท้าทาย โดยที่เด็กยังสนุก ไม่ทำซ้ำซากเหมือนเดิม เมื่อสังเกตเห็นว่าเด็กๆ ทำกิจกรรมใดได้เป็นอย่างดีแล้วให้เปลี่ยน พัฒนาไปทำกิจกรรมอื่นที่ท้าทายมากขึ้นทีละเล็กทีละน้อย

          และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่เด็กวัยนี้โตพอที่จะเข้าใจคือ การเข้าใจเรื่องนามธรรม โดยเฉพาะการเข้าใจ Concept เรื่องเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้  ผู้ใหญ่สามารถวางรากฐานพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าที่ซับซ้อนและสำคัญยิ่งที่จะได้ใช้ในช่วงชีวิตที่เติบโตขึ้นไปเรียนในชั้นมัธยมและมหาวิทยาลัย คือ “ทักษะการบริหารเวลา” ด้วยการชวนลูกทำ แผนประจำวัน แผนสัปดาห์ หรือแม้กระทั่งแผนปี และฝึกให้เด็กใช้สัญญานเตือน เพื่อช่วยกระตุ้นให้ตนเองบริหารเวลา ดำเนินชีวิตในช่วงเวลาแต่ละวันตามแผนได้ เช่นอาจจะใช้นาฬิกา นาฬิกาปลุก app ในมือถือ หรือกระดิ่งในการเตือนตนเอง

อ้างอิง
• Center on the developing child, Harvard University, Enhancing and Practicing Executive Function Skills with Children from Infancy to Adolescence, https://46y5eh11fhgw3ve3ytpwxt9r-wpengine.netdna-ssl.com/wp-content/uploads/2015/05/Enhancing-and-Practicing-Executive-Function-Skills-with-Children-from-Infancy-to-Adolescence-1.pdf,

Hillary Swetz, Executive Functioning Activities: 50 Skill Builders for Kids of All Ages!, https://thehomeschoolresourceroom.com/2020/10/17/executive-functioning-activities/, 17 Oct 2020

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...