สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

โรงเรียนที่ทุกคนมีส่วนร่วม

ครูใหญ่คือคนสำคัญ

เมื่อคิดถึงการศึกษา ภาพที่เกิดขึ้นในหัวของเราก็มักจะเห็นภาพนักเรียนสวมชุดเครื่องแบบเป็นระเบียบเรียบร้อย เห็นภาพครูในชั้นเรียนยืนอยู่หน้าห้อง แล้วก็อาคารเรียนหลังมหึมา แต่ในความเป็นจริง การศึกษาไม่ได้เกี่ยวกับโรงเรียน ครู และนักเรียนเท่านั้น ครูใหญ่ของโรงเรียนก็เป็นหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่ง ต่อการกำหนดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน  

เพราะครูใหญ่ที่สร้างสรรค์ไม่เพียงแต่บริหารจัดการโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังแสดงบทบาทเป็นผู้นำด้วยวิสัยทัศน์และค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการปรับปรุงโรงเรียนเสมอๆ หนังสือ Creative School ที่เซอร์เคน โรบินสัน เขียน ได้ยกตัวอย่าง ริชาร์ด เกอร์เวอร์ ครูใหญ่ของโรงเรียนประถมศึกษา Grange ว่าเป็นคนมีวิสัยทัศน์ และเริ่มต้นการทำงานด้วยการเปลี่ยนโรงเรียนให้เป็น Grangeton เมืองต้นแบบที่ดำเนินการทุกอย่างโดยนักเรียน เพราะเขาต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้โลกแห่งความเป็นจริงผ่านกิจกรรมที่ออกแบบขึ้น

ตัวอย่างของกิจกรรมของเมือง Grangeton ที่ครูใหญ่ริชาร์ดริเริ่มออกแบบ เช่น การออกหนังสือพิมพ์ประจำเมือง ซึ่งนักเรียนประถมศึกษาเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด ทั้งเป็นกองบรรณาธิการ ผู้สื่อข่าว กราฟฟิคดีไซเนอร์ รวมถึงการขาย (ฉบับละ 50 เพนนี)ด้วย ในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก็จะมีคอลัมน์ต่างๆ ที่หลากหลาย ข่าว เพลง เกม สารคดี ข่าวกีฬา ฯลฯ พร้อมตอบสนองต่อผู้อ่าน

ทุกปีแต่ละชั้นเรียนจะจัดการแสดง 1 ชุดใหญ่ซึ่งมีอย่างน้อย 3 การแสดงประกอบอยู่ในนั้น โดยเป็นการจัดแสดงที่ผู้ปกครองจะเข้ามาชมด้วยความตื่นตาตื่นใจ ทั้งจากการแสดงของเด็กๆ การจัดอุปกรณืประกอบฉาก และความสนุกสนานบันเทิงที่หลากหลาย กิจกรรมของเมือง Grangeton นี้เป็นที่ชื่นชอบของทุกคน และเด็กๆที่ต้องเป็นผู้เข้าร่วมในทุกกระบวนการ ก็มักจะมีแรงบันดาลใจและความหลงใหลในงานด้านการแสดงที่ติดตัวไป

นอกจากนี้ตลอดปี จะมีเวิร์คช็อปของนักเรียน 3 รายการโดยเป็นเวิร์คช็อปที่ใช้เวลาสัปดาห์ละชั่วโมงเป็นเวลา 7 สัปดาห์ ให้เด็กๆทุกคนเลือกเข้าร่วมกิจกรรมเอง ซึ่งจะต้องทำงานกับเพื่อนจากหลากหลายชั้นเรียน ที่สนใจในเวิร์คช็อปเดียวกัน ตลอดปีพวกเขาจะได้เรียนรู้ทักษะที่แตกต่างกันไป ซึ่งครูและเจ้าหน้าที่โรงเรียนเป็นผู้ออกแบบวางแผนกระบวนการอย่างพิถีพิถัน ตัวอย่างเวิร์คช็อปดูน่าสนใจมาก เช่น บอร์ดเกม, ภาษาเยอรมัน, การเลี้ยงสัตว์เลี้ยง, การสร้างสรรค์สื่อ, ศิลปะโมเสค, การปฐมพยาบาล, puzzles & riddles,  LEGO, บัลเลต์, เต้นแท็ป, street dance, กีฬา, Superhero, ละครเพลง,  Design Challenge เป็นต้น เมื่อเวิร์คช็อปเสร็จเด็กๆก็จะนำผลงานแสดง และได้รับใบประกาศณียบัตรกลับไปให้พ่อแม่ชื่นใจ เด็กๆชอบเวอร์คช็อปเหล่านี้มาก

เพียงเห็นตัวอย่างกิจกรรมของชาวเมือง Grangeton เราก็คงจะนึกออกว่า เด็กที่ในแต่ละปีได้เข้าร่วมกิจกรรมหลากหลายด้วยความสนุก ตื่นเต้น มีส่วนร่วมเหล่านี้ จะได้สะสมทักษะความสามารถไปแต่ละปีมากเพียงไร กว่าจะจบชั้นประถม 6 ก่อนย้ายไปเรียนมัธยมที่อื่น

ดังนั้น จะเห็นว่า วิสัยทัศน์ของครูใหญ่ริชาร์ด กระตุ้นทำให้เกิดเป้าหมายร่วม ทั้งของเด็ก ของครู และทำให้ทุกคนในชุมชนโรงเรียนรู้สึกว่าการกระทำในแต่ละวันของพวกเขา มีส่วนช่วยให้บรรลุเป้าหมายใหญ่ได้ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริหารระดับสูงยังต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อเชิญทุกคนในโรงเรียนให้มาแบ่งปันความคิด ซึ่งช่วยสร้างชุมชน และแสดงให้ผู้คนเห็นว่าพวกเขามีความสำคัญ

กรรมการสถานศึกษาก็สำคัญ

ผู้บริหารไม่ใช่คนเดียวที่สามารถกำหนดวิสัยทัศน์ด้านการศึกษาได้ทั้งหมด กรรมการสถานศึกษาจะต้องร่วมมือกับโรงเรียน และชุมชน เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้แก่โรงเรียน ขณะเดียวกันก็จะต้องให้อิสระ และให้ทรัพยากรแก่โรงเรียนในการที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์ในโรงเรียนด้วย

ตัวอย่างเช่น กรณีที่นักเรียนของรัฐแคโรไลนาใต้ ประเทศสหรัฐอเมริกามีค่าเฉลี่ยการอ่าน และคณิตศาสตร์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ หนึ่งในสี่ของนักเรียนไม่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในปี 2555 กลุ่มนักการศึกษาได้ขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการการศึกษาของรัฐ ปรากฏว่า นักการเมืองในรัฐแคโรไลนา ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาไม่แสวงหาผลกำไรได้เข้ามา และถามผู้คนในชุมชน เช่น ครู ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ของเมืองว่า   ต้องการให้โรงเรียนของพวกเขาเปลี่ยนแปลงอย่างไร ผู้คนจำนวนมากได้ช่วยกันเสนอแนวคิดและเห็นพ้องต้องกันว่า ควรปรับปรุงวิธีจัดการระบบการศึกษาทั้งระบบ  

ผลของการรับฟังความคิดเห็นของชุมชน และนักการเมืองนำมาผลักดันอย่างจริงจัง ทำให้ปัจจุบันการปรับปรุงพัฒนาถูกนำไปใช้ทั่วทั้งรัฐ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องพากันจับมือเข้าร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน ในระบบการศึกษาของรัฐแคโรไลน่าใต้กันอย่างกระตือรือร้น

เจ้าหน้าที่ในโรงเรียนทุกคนก็สำคัญ การให้ความร่วมมือ ความเอาใจใส่ที่แสดงออกในการจัดการให้มีสถานที่ที่ปลอดภัย สะอาด อาหารที่สะอาดถูกหลักโภชนาการ การดูแลให้เกิดชึวิตการเรียนรู้ที่เป็นไปโดยความราบรื่น การสนับสนุนอุปกรณ์ สื่อ บรรยากาศ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กๆเกิดการเรียนรู้ และผู้ใหญ่รอบตัวเหล่านี้ก็จะเป็นแบบอย่างของท่าที พฤติกรรม รวมถึงการดำเนินชีวิตการงานสำหรับเด็กๆ ด้วย

พ่อแม่ผู้ปกครองคือหัวใจที่สำคัญที่สุดของการ เพราะทุกครอบครัวมีอิทธิพลต่อความสำเร็จและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับลูกหลานของตน สายสัมพันธ์ของพ่อแม่กับเด็กควรแข็งแรงกว่าสายสัมพันธ์อื่นใด เพราะเป็นสายสัมพันธ์ธรรมชาติที่ไม่อาจตัดขาด ชีวิตเด็กที่บ้านก็มีช่วงเวลาอันยาวนานกว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในครอบครัวล้วนส่งผลต่อเด็กทางร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม รวมถึงสติปัญญาและการเรียนรู้เสมอ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรได้รับการเชิญชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนอย่างเหมาะสม เพื่อจะเสริมวิถีวัฒนธรรม ความรู้ที่เมหาะสม การร่วมมือกันดูแลเด็กอย่างเข้าอกเข้าใจ ไปในทิศทางเดียวกันครูและโรงเรียน

ด้วยความร่วมมือที่แข็งแรงระหว่างบ้านกับโรงเรียน เด็กๆก็จะพร้อมที่จะเติบโตและประสบความสำเร็จ

สรุปได้ว่า ทุกฝ่ายไม่ว่า นักเรียน ครู เจ้าหน้าที่ ผู้บริหาร พ่อแม่ และชุมชน ล้วนมีบทบาทสำคัญ ในแบบใดแบบหนึ่งต่อการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ การสร้างความร่วมมือระหว่างกันของแต่ละฝ่ายเป็นกลยุทธสำคัญ  และเป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงในระบบการดูแลพัฒนาเด็กและเยาวชนที่ดี จะมีการสื่อสารที่ดีเกิดขึ้น มีการประสานงาน มีความร่วมมือพร้อมเพรียงที่เห็นได้ชัดเจน ทุกคนมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว เป็นเจ้าของโรงเรียนร่วมกัน เมื่อชุมชนกับโรงเรียนทำงานด้วยกัน ผลลัพธ์คุณภาพจะปรากฏเกิดที่ตัวเด็กแน่นอน

ความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นระหว่างทุกภาคส่วนของโรงเรียนเช่นนี้ จะสร้างบรรยากาศเชิงบวกและโอบอุ้มประคองเด็กๆ ไปจนกว่าพวกเขาจะแข็งแรงและสามารถยืนได้ด้วยตนเองอย่างสง่างามในวันข้างหน้า


อ้างอิง

  • BEN JOHNSON, 4 Ways to Develop Creativity in Students, HTTPS://WWW.EDUTOPIA.ORG/ARTICLE/4-WAYS-DEVELOP-CREATIVITY-STUDENTS), 2019
  • SIR KEN ROBINSON AND LOU ARONICA, CREATIVE SCHOOLS: THE GRASSROOTS REVOLUTION THAT’S TRANSFORMING EDUCATION, 2016
  • Usher, A., Kober, N., & Center on Education, P. (2012). 4. What Roles Do Parent Involvement, Family Background, and Culture Play in Student Motivation?. Center On Education Policy

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...