Less Structured activities vs. EF

นักวิจัยพบว่า เมื่อเด็กเป็นผู้กำหนดด้วยตนเอง ว่า จะใช้เวลาในการทำกิจกรรมอะไร อย่างไร เด็กจะสามารถทำชิ้นงานให้บรรลุเป้าหมายได้มากกว่า และสามารถรู้ได้ว่าหลังจากจบชิ้นงานนี้ๆ แล้วจะต้องไปทำงานชิ้นใดต่อไป
ยกตัวอย่างเช่น เด็กคนหนึ่งตัดสินใจที่จะอ่านหนังสือในช่วงบ่ายที่คุณครูให้เลือกกิจกรรมเอง หลังจากเสร็จจากการอ่านแล้วเด็กก็ไปวาดรูปเกี่ยวกับหนังสือเล่มที่อ่านมา แล้วก็เอาภาพที่วาดได้ไปเล่าให้พ่อแม่ฟังที่บ้าน นักวิจัยสรุปว่า เด็กคนนี้ได้เรียนรู้มากกว่าเด็กอีกคนหนึ่งที่ทำกิจกรรมเหมือนกันทุกอย่าง แต่มีครูคอยกำกับบทให้ตลอดกระบวนการ เมื่อครบสัปดาห์ นักวิจัยทดสอบเด็กในทักษะด้านคำศัพท์และการอ่านเพื่อวัด EF ผลปรากฏว่า ยิ่งเด็กใช้เวลากับการทำกิจกรรมแบบที่คิดเองทำเองมากเท่าไร คะแนนคำศัพท์กับคะแนนอ่านออกเสียงก็จะสูงมากขึ้นเท่านั้น
นักวิจัยชี้ว่า “กิจกรรมที่ถูกผู้ใหญ่กำหนดให้ทุกอย่างแล้วนั้น จะทำให้พัฒนาการในการกำกับสั่งการตนเองช้าลง งานวิจัยชิ้นนี้จะส่งผลให้นักการศึกษาเห็นความสำคัญของการเล่นอิสระ free play มากขึ้น”

ความสามารถในการกำกับสั่งการตนเองนั้น จะทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างนักเรียนที่เป็นตัวของตัวเอง สามารถทำงานให้ลุล่วงได้ ไม่ว่าสถานการณ์รอบตัวจะวุ่นวายขนาดไหน กับเด็กที่ขาดเป้าหมาย ต้องพึ่งพาให้คนอื่นคิดให้หมด

Jane E. Barker, Andrei D. Semenov, Laura Michaelson, Lindsay S. Provan, Hannah R. Snyder and Yuko Munakata, Less-structured time in children’s daily lives predicts self-directed executive functioning / Original Research ARTICLE Front. Psychol., 17 June 2014 | doi: 10.3389/fpsyg.2014.00593http://journal.frontiersin.org/Journal/10.3389/fpsyg.2014.00593/full

Related Posts: