ผลการวิจัยระยะยาว พบว่า เด็กที่มีการพัฒนา EF ได้น้อยจะมีสุขภาพที่แย่กว่า ความมั่นคงทางการเงินและทางสังคมในวัยผู้ใหญ่จะต่ำกว่าเด็กที่มี EF ดีกว่าฐานของทักษะEF ที่แข็งแกร่งมีความสำคัญยิ่งกว่าการรู้จักตัวเลขหรือตัวหนังสือ
Lewitt, E. M. & Baker, L. S. (1995). School readiness. TL. S. (1995). School readiness. The...
งานวิจัยของเราแนะนำว่า การโฟกัสไปที่ EF ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิชาการ จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่เด็กจะประสบความสำเร็จในการเรียน
Clancy Blair, Early Childhood Education That Focuses On Executive Function Improves Later School Performance,www.medical daily.com Nov 12, 2014 03:08 PM
การฝึกอย่างเป็นระบบสามารถพัฒนาความสามารถของ”ความจำเพื่อใช้งาน”( working memory) ได้ทั้งในเด็ก วัยรุ่นและผู้ใหญ่ จากภาพถ่ายทางสมองแสดงว่า การฝึก working memory จะทำให้มีกิจกรรมเกิดในสมองมากขึ้นTorkel Klingberg, Training of Working Memory,http://www.cogmed.com/training-of-working-memory
การออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอมีศักยภาพช่วยพัฒนา EF งานวิจัยพบว่าในกลุ่มผู้สูงวัยจะช่วยมากในเรื่องการปรับเปลี่ยน การจดจ่อใส่ใจ การยั้งคิดไตร่ตรอง และความจำขณะใช้งาน ในกลุ่มหนุ่มสาวและเด็กพบว่าการฝึกแอโรบิคสม่ำเสมอจะช่วยพัฒนามากในเรื่องความจำเพื่อใช้งาน แม้ว่ายังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมต่อไปเพื่อระบุให้ชัดเจนขึ้นว่าจะช่วยพัฒนาในด้านใดอีกบ้างนั้น ในภาพรวม ถือได้ว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอเป็นวิธีง่ายๆ ที่ทำให้คนที่มีสุขภาพปกติได้รับการพัฒนา EF
Hayley Guiney and Liana Machado, “Benefits of Regular Aerobic Exercise for Executive Functioning...
ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...
ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...
โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...