สสส. เฮ…สนับสนุนราชภัฏประสบความสำเร็จ ผลิต นศ.ครูชั้นปี 1 ผ่านหลักสูตรสมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยรุ่นแรกของไทย กว่า 1,300 คน

โดย | 4 ตุลาคม 2019 | ข่าว มรภ.

นับเป็นความสำเร็จก้าวสำคัญของภาคีเครือข่ายทั้ง 3 องค์กร ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สภาคณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ที่ได้ร่วมกันยกระดับขีดความสามารถของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันหลักในการผลิตครูของชาติจนเกิดผลสำเร็จ โดยภายหลังการลงนามความร่วมมือทางวิชาการในเดือนมีนาคม 2562 ที่ผ่านมา มีการพัฒนาหลักสูตรครูการศึกษาปฐมวัย (4 ปี) รายวิชา “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” ขึ้น แล้วนำไปจัดอบรมให้กับอาจารย์คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง จำนวนกว่า 165 คน ให้เข้าใจถึงหลักการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า Executive Functions (EF) และธรรมชาติการเรียนรู้ของสมอง พบว่า เมื่ออาจารย์เปลี่ยนกระบวนการสอน บรรยากาศในชั้นก็เปลี่ยนไป นักศึกษาเห็นคุณค่าในตัวเอง เห็นเป้าหมายปลายทาง ต่างสะท้อนเป็นเสียงเดียวกัน “หนูรู้แล้วว่า…ความหมายของวิชาชีพครูคืออะไร”

[vc_single_image image=”13765″ img_size=”full” alignment=”center”]

ความรู้เกี่ยวกับทักษะสมอง Executive Functions หรือ EF ซึ่งหมายถึงความสามารถระดับสูงของสมองมนุษย์ที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ชี้ชัดว่า การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (EF) ของคนเราใช้ระยะเวลายาวนานจากขวบปีแรก จนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุประมาณ 25-30 ปี โดยช่วงปฐมวัย อายุ3-6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญเพราะมีอัตราการพัฒนาได้ดีที่สุด ที่จะปลูกฝังทักษะ EF ให้มีประสิทธิภาพจนเป็นบุคลิกภาพและรากฐานของทักษะการเรียนรู้ของคนๆ นั้นไปตลอดชีวิต หากพ้นช่วงเวลานี้ไปแล้ว โอกาสพัฒนาทักษะสมองที่จะนำชีวิตให้มีสุขภาวะที่ดีได้ในทุกมิติก็จะลดลง

[vc_row][vc_column width=”1/2″][vc_single_image image=”13766″ img_size=”full” add_caption=”yes” alignment=”center”][/vc_column][vc_column width=”1/2″]

นางสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี ในฐานะภาคีเครือข่ายและตัวแทนของ สสส. ในการบริหารโครงการความร่วมมือกับราชภัฏในครั้งนี้ เปิดเผยว่า หลังจากการอบรมหลักสูตร มีมหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 24 แห่งที่ได้จัดทำหลักสูตรครูการศึกษาปฐมวัย 4 ปีแล้วเสร็จ ได้เปิดสอนรายวิชา “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ทันที มีนักศึกษาชุดแรกของรายวิชาใหม่นี้เข้าเรียนจำนวนไม่น้อยกว่า 1,300 คน โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏอีก 7 แห่งเปิดสอนในภาคเรียนที่ 2 และอีก 3 แห่งนำไปบูรณาการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
ในการนี้เราได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership ด้านวิชาการ อาทิ อ.ธิดา พิทักษ์สินสุข ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาปฐมวัย ผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ปี 2562 ทำหน้าที่ครูใหญ่ของโครงการฯ มี ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองกับการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัย จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหลักในการวางโครงสร้างของหลักสูตรและนำหลักการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง หรือ Transformative Learning มาเสริมหลักสูตร รวมถึงการทำการวิจัยประเมินผล อีกทั้งยังมี ผศ.วิริยาภรณ์ อุดมระติ ผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตวิทยาพัฒนาการ ดร.ปิยวลี ธนเศรษฐกร ผู้เชี่ยวชาญเทคนิค 101 วินัยเชิงบวก และอีกหลายๆ ท่านร่วมกันในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การพัฒนาหลักสูตรฯ ช่วงเดือนพฤษภาคม การอบรมหลักสูตรฯ ให้กับอาจารย์ราชภัฏสาขาปฐมวัยช่วงเดือนมิถุนายน และการ Monitor ติดตามการเรียนการสอนของอาจารย์ราชภัฏในภาคเรียนที่ 1 ปี 2562 ที่ผ่านมา

[vc_row][vc_column][vc_single_image image=”13770″ img_size=”full” alignment=”center”]

จากการถอดบทเรียนและการลงพื้นที่ติดตามผล พบว่าแม้อาจารย์และนักศึกษาราชภัฏจะมีความกังวลในช่วงต้น เพราะเป็นรายวิชาใหม่ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสมองซึ่งเป็นเรื่องยาก แต่อาจารย์ราชภัฏสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับตัวเองได้ โดยเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนกระบวนการสอน จากการเน้นสอนเนื้อหา เป็นการมุ่งสร้างเจตคติที่ดี การเห็นคุณค่าในตนเองต่อวิชาชีพครูและต่อเด็กปฐมวัยให้กับนักศึกษาก่อน เปลี่ยนจากจะสอน “อะไร” เป็น “นักศึกษาจะได้เรียนรู้อย่างไร” เปลี่ยนจากการบรรยายประกอบ power point หันมาสร้างการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมลงมือปฏิบัติที่นักศึกษามีโอกาสเป็นผู้เลือกเองได้มากขึ้น ทำให้ห้องเรียนวิชาสมองกับการเรียนรู้ที่คิดว่าจะยาก เปลี่ยนเป็นห้องเรียนที่มีความสุข สนุก น่าค้นหา

[vc_single_image image=”13771″ img_size=”full”]

ซึ่งผลกระทบต่อตัวนักศึกษา พบว่านักศึกษามีวินัยที่เกิดจากตัวผู้เรียนเอง ไม่มาสาย ไม่ขาดเรียน กระตือรือร้น ทำงานร่วมกันได้ เปิดใจทั้งกับเพื่อนและอาจารย์ เชื่อมโยงความรู้เรื่อง EF จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติได้ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ ไม่ลอกเลียนใคร และสามารถนำไปทดลองใช้กับเด็กปฐมวัย แล้วกลับมาวิเคราะห์เชื่อมโยงองค์ความรู้เรื่องการทำงานของสมองส่วนคิด พัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กได้อย่างเข้าใจ ทั้งนี้ เป็นผลิตผลที่เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสอนของอาจารย์ตามหลักการ Transformative Learning ที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงมาจากภายใน เป็นการเรียนรู้ที่จะสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับผู้เรียนได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

[vc_single_image image=”13772″ img_size=”full” alignment=”center”]

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ผลการวิจัย พบว่า หลังจากนักศึกษาครูปฐมวัยเข้าเรียนวิชา สมองและการเรียนรู้ ตามหลักการบูรณาการสมองและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง นอกจากนักศึกษาจะมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องทักษะสมอง EF มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแล้ว นักศึกษายังตระหนักในความสำคัญของวิชาชีพครูปฐมวัยมากขึ้น และมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามหลักการบูรณาการสมองและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ในเด็กปฐมวัยมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอีกด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่า ช่วงปฐมวัย เป็นเวลาทองที่สำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการ และทักษะสมอง EF การเตรียมครูปฐมวัยให้มีความพร้อมในการส่งเสริมพัฒนาการทักษะสมอง EF เด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

[vc_single_image image=”13773″ img_size=”full” add_caption=”yes” alignment=”center”]

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐกรณ์ คิดการ ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กล่าวถึงการบรรลุความสำเร็จข้อแรกของการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง สสส. สถาบันอาร์แอลจี และสภาคณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาสมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยว่า เป็นความสำเร็จที่น่าพอใจและน่ายินดียิ่ง ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีสำหรับก้าวต่อๆ ไปของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในการสร้างมาตรฐานคุณภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สมกับที่เป็นสถาบันหลักในการผลิตครูของชาติ ที่บุคลากรมีคุณภาพ มีศักยภาพและขีดความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมด้านการจัดการศึกษา ที่มีหลักวิชาการทันยุคทันสมัย มีงานวิจัยรองรับเชื่อถือได้ ตอบโจทย์นโยบายของชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อๆ ไป

[vc_single_image image=”13775″ img_size=”full” alignment=”center”]

สำหรับความร่วมมือ 3 ฝ่ายในระยะที่สองนั้น แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ (1) ปี 2563 พัฒนาอาจารย์ที่ผ่านการอบรมเพื่อเป็นวิทยากรด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF จำนวนประมาณ 38 คน เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมองค์ความรู้และทักษะกระบวนการ EF ให้กับคณาจารย์ราชภัฏต่อเชื่อมกับสถาบันอาร์แอลจี และภาคีวิชาการ Thailand EF Partnership ให้เข้าใจเรื่องสมองกับการเรียนรู้ให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น (2) ปี 2564 ร่วมพัฒนาหลักสูตรและจัดการอบรมให้กับอาจารย์สาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมอง EF เช่น ประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อทำให้ “รอยเชื่อมต่อ” ของการศึกษาไทยเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาพลเมืองคุณภาพของไทยอย่างแท้จริง โอกาสนี้สภาคณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ขอขอบคุณ สสส. และสถาบันอาร์แอลจี ที่เป็นกัลยาณมิตร สนับสนุนและร่วมกันขับเคลื่อนโครงการฯ นี้ด้วยดีมาโดยตลอด เมื่อโครงการฯ นี้สำเร็จลงได้ครบถ้วนสมบูรณ์ เชื่อว่าจะเกิดคุณูปการแก่การศึกษาของชาติเป็นอย่างยิ่งต่อไปในอนาคตแน่นอน

Related Posts: