สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก ข่าว มรภ.

ข่าว มรภ.

รายชื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏคณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรรายวิชา “สมองกับการเรียนรู้” รุ่นที่ 2

ลำดับรายชื่อสังกัด1ผู้ช่วยศาสตราจารย์กมลรัตน์  คนองเดชมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา2อาจารย์สุนิศา  ธรรมบัญชา3อาจารย์เสาวลักษณ์  สมวงษ์4ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรุงใจ มนต์เลี้ยงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช5อาจารย์สุชาดา จิตกล้า6อาจารย์สุทธิชา  มาลีเลศ7อาจารย์สุดา เจ๊ะอุมา8อาจารย์จุฬาลักษณ์  สุตระ9อาจารย์เบญจพร ชนะกุล10ผู้ช่วยศาสตราจารย์นัยนา ยีหมะมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา11อาจารย์นิศารัตน์ บุญมี12อาจารย์ภักดิ์ศานณัฎฐ์ หอยสกุล13อาจารย์ชนกพร ประทุมทอง14อาจารย์รัศมิ์ดาว สุขมาตย์15นางวรรณี พลสมัครมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต16นางวนิดา รัตนมงคล17นางสาวธีรารัตน์ ศรีวิรัตน์18นางสาวนพวรรณ ยอดธรรม 19นางสาวเบญจกาญจน์ ใส่ละม้าย20อาจารย์อัจฉรา ...

สถาบัน RLG โดยการสนับสนุนของ สสส.จัดอบรมหลักสูตรสมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

วันนี้ ( 24 พ.ค.) ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ (สครภ) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สครภได้ร่วมมือกับสถาบัน RLG หรือรักลูก เลิร์นนิ่ง กรู๊ฟ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)จัดอบรมหลักสูตรทักษะสมอง เพื่อการบริหารจัดการชีวิต(Executive Functions : EF) ให้แก่อาจารย์สาขาปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)ทั่วประเทศ ซึ่งสอนรายวิชาเกี่ยวกับสมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยทักษะสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิตมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูปฐมวัยรุ่นใหม่ทุกคนจะต้องเข้าใจธรรมชาติของสมองของเด็กปฐมวัยให้ชัดเจนและลึกซึ้ง...

วิพากษ์หลักสูตรสมองกับการเรียนรู้

    สถาบัน RLG เชิญนักวิชาการสหสาขา ร่วมวิพากษ์หลักสูตรรายวิชา “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” มีผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการจากหลากหลายสาขาวิชาเข้าร่วม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมกัลยาณมิตร กลุ่มบริษัท RLG ถนนประชาชื่น กรุงเทพฯ สนับสนุนโดย สสส. เพื่อให้หลักสูตร “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” และคู่มือการสอนรายวิชา“สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ถูกต้อง อาจารย์ผู้สอนสามารถนำไปเป็นคู่มือเป็นแนวทางในการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาได้...

พันธมิตรปฐมวัย ร่วมพัฒนาหลักสูตรราชภัฏ “สมองกับการเรียนรู้”

มีนาคม 2562สถาบัน RLG โดยการสนับสนุนของ สสส. ภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership และสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชิญตัวแทนคณาจารย์ราชภัฏ สาขาการศึกษาปฐมวัยทั่วประเทศ ใช้เวลา 5 วันร่วมออกแบบและพัฒนาหลักสูตรครู 4 ปี บรรยากาศการเรียนรู้และความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรเป็นไปด้วยความราบรื่น บรรลุเป้าหมายนำองค์ความรู้และกระบวนการพัฒนาทักษะ EF บรรจุเข้าไว้ในรายวิชาชื่อ “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการวิพากษ์หลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จะนำไปใช้สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในปีการศึกษา 2562 ที่จะถึงนี้ต่อไป

สสส. ร่วมพัฒนาหลักสูตร “ครูราชภัฏพันธุ์ใหม่ ใส่ใจทักษะสมอง EF เด็กปฐมวัย”

เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2562 ที่ ห้องประชุมศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) มีพิธีลงนามความร่วมมือเพื่อพัฒนาหลักสูตรครูการศึกษาปฐมวัย (4 ปี) และฝึกอบรมอาจารย์ เสริมศักยภาพอาจารย์และนักศึกษาครู ระหว่างสภาคณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่งกรุ๊ป) และภาคีวิชาการ...
74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...