สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

บทที่ 9 ตอนที่ 1 : “ตีเด็ก” การฝึกวินัยที่ไร้ผล

“ตีเด็ก” การฝึกวินัยที่ไร้ผล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยเทคนิควินัยเชิงบวน กล่าวว่า การลงโทษด้วยการตี การดุด่าว่ากล่าว บังคับ ใช้อำนาจ เป็นวิถีการเลี้ยงดูเด็กที่ฝังรากลึกในสังคมไทยกันมาช้านาน เนื่องจากฐานวัฒนธรรมของไทยที่ผู้น้อยต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่รู้สึกว่าถ้าไม่ได้ตีคือไม่ได้ทำหน้าที่พ่อแม่ ไม่ได้สั่งสอนลูก ดังสุภาษิตไทยที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” การตีจึงเป็นเรื่องถูกต้องเป็นเรื่องที่ต้องทำ ส่วนครูคิดว่าการใช้การตี บังคับควบคุมเด็กได้ผลทันที 

แม้ปัจจุบันความรู้เรื่องจิตวิทยาพัฒนาการจะให้ความรู้แก่สังคมว่าการตี การใช้ความรุนแรงกับเด็กเป็นเรื่องไม่สมควร ส่งผลร้ายมากกว่าผลดี แต่ก็ยังมีพ่อแม่จำนวนมากและครูในโรงเรียนที่ใช้ความรุนแรงในการควบคุมวินัยเด็ก ดังกระแสข่าวที่พ่อแม่ครูตี ทำโทษเด็กอย่างรุนแรงจนเด็กได้รับบาดเจ็บ ปรากฏอยู่เนืองๆ ข่าวนำเสนอแต่อาการบาดเจ็บทางกาย ยังไม่มีใครกล่าวถึงบาดแผลทางใจที่เด็กได้รับจากการลงโทษแบบนั้น แสดงให้เห็นว่าสังคมยังขาดความตระหนักถึงความร้ายแรง ผลเสียของการใช้ความรุนแรงกับเด็ก

ยิ่งสังคมในศตวรรษที่ 21 มีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวแปรทำให้ความสัมพันธ์พ่อแม่ลูกห่างเหินกันมากขึ้น เด็กมีความแข็งกระด้างกับพ่อแม่ พ่อแม่พูดไม่ฟัง การตัดสินใจที่จะใช้ความรุนแรงกับเด็กจึงเกิดขึ้นได้ง่าย ต่างกับในอดีตที่ผลกระทบไม่รุนแรงเท่า เพราะเด็กได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัวซึ่งมักเป็นครอบครัวขยาย มีความผูกพันกับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย พ่อแม่ปู่ย่าตายายได้พูดคุย ปลูกฝัง บ่มเพาะลักษณะนิสัยที่ดีไปตามธรรมชาติ

การลงโทษเด็กด้วยการตี ใช้ความรุนแรง การบังคับควบคุม เป็นเรื่องที่ทำให้หยุดพฤติกรรมได้ง่ายก็จริง แต่ได้ผลในระยะสั้น ไม่ใช่วินัยที่แท้ ไม่ใช่ในระยะยาวที่เด็กควรต้องมีสำนึกด้วยตัวเอง รู้รับผิดชอบ รู้อะไรเหมาะควร และส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ ต่อพัฒนาการ ต่อการส่งเสริมทักษะสมอง EF การพัฒนาทักษะทางอารมณ์-สังคมของเด็ก

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่า เด็กที่ถูกตีถี่ๆ เช่น สัปดาห์ละครั้ง สองสามครั้ง หรือเดือนละครั้งจะส่งผลเสียระยะยาวทั้งหมด และเมื่อเติบโตไปเป็นวัยรุ่นมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคทางจิตเวช หรือส่งผลต่อการพัฒนาไอคิว           และงานวิจัยพบว่าเด็กในช่วงอายุที่ถูกตีมากที่สุดคือ 3-4 ปี

นอกจากจะสร้างบาดแผลทางด้านจิตใจแล้วเด็กจะซึมซับเอาวิธีการที่ผู้ใหญ่ใช้ไปใช้ด้วย  เด็กในช่วง 3-4 ปีแรก กระบวนการเรียนรู้มาจาก 2 ทางคือจากการเลียนแบบและจากการลองผิดลองถูก ซึ่งถ้าเห็นการตีของพ่อแม่จะเอาแบบอย่างนี้ไปใช้บ้าง กับน้อง กับพ่อแม่ กับเพื่อนที่โรงเรียน และกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ใช้ความรุนแรงกับเด็กต่อไป

“ไม่ตี” แล้วจะสอนกันอย่างไร

จากการศึกษาของนักพฤติกรรมศาสตร์และจากงานวิจัยทั่วโลกยืนยันว่าการลงโทษหรือการใช้ความรุนแรงไม่ได้ช่วยพัฒนาประชากร ทำให้ประชากรมีคุณภาพ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาวได้ เพราะไม่ได้เกิดมาจากจิตสำนึกของตัวเอง การใช้ “วินัยเชิงบวก” ต่างหากที่จะฝึกเด็กให้กำกับควบคุมตัวเองได้

ดร.แคทธารีน เคอร์ซี่ “ผู้พัฒนาหลักสูตร 101 วินัยเชิงบวก” (หรือที่ ดร.ปิยวลี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกรใช้ว่า เทคนิค 101 วินัยเชิงบวก) ได้กล่าวว่า “It’s never o.k. to hit a child” ไม่ว่ากรณีใดๆ ดร. เคอร์ซี่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการตีเด็ก ในขณะที่ผู้ที่ตีเด็กมักให้เหตุผลว่า “ถ้าไม่ตี เด็กจะไม่หยุด” “ถ้าไม่เจ็บ เด็กจะไม่จำ” “เด็กบางคนก็ต้องโดนบ้าง” “ตอนเป็นเด็กเคยถูกตีมา โตขึ้นก็ยังโอเค” นั่นแสดงว่าคนๆ นั้นยังไม่ได้ตระหนักถึงผลระยะยาวของสิ่งที่ทำลงไป การที่คนๆ หนึ่งบอกว่า ตอนเป็นเด็กเคยถูกตีมา โตมาก็โอเค แสดงว่าคนๆ นั้นเห็นเรื่องความรุนแรงเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ซึ่ง ดร.เคอร์ซี่ มองว่า ถ้าจะปลูกฝังเด็กแบบนี้ก็แปลว่า ความรุนแรงเป็นเรื่อง “รับได้” ในบางกรณี

ดร.เคอร์ซี่ เน้นว่า การฝึกวินัยหมายถึงการสอนและการฝึกฝน เป็นกระบวนการที่ช้า และต้องใช้เวลาที่จะค่อยๆ ช่วยให้เด็กรู้สึกในสิ่งนั้นๆ เพราะแค่บอกหรือแค่เห็นไม่สามารถทำให้เกิดวินัยได้ การสร้างวินัยเชิงบวกคือการปลูกฝังจิตสำนึก เมื่อมีจิตสำนึกจึงจะเกิดเป็นพฤติกรรม วินัยเชิงบวก คือ การสอนและฝึกฝนลูก โดยปราศจากความรุนแรงทางกายวาจา เน้นการส่งเสริมวิธีการสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ไม่บังคับหรือควบคุมลูก รวมถึงลงโทษหรือทำร้ายร่างกายและจิตใจ สอนให้ลูกประสบความสำเร็จโดยให้ความรู้และความรักควบคู่กัน

พบว่าวินัยเชิงบวกส่งผลต่อการมีชีวิตที่ดีหรือประสบความสำเร็จ ซึ่งการมีชีวิตที่ดีนั้นหมายถึงต้องเป็นมนุษย์ที่เติบโตขึ้นมาแล้วมีความรู้สึกนับถือตัวเอง มองว่าตัวเองมีคุณค่าที่จะดำรงชีวิตอยู่ในบางประเทศใช้ “วินัยเชิงบวก” ในการดูแลฟื้นฟูนักโทษ เพราะมีความเชื่อพื้นฐานว่ามนุษย์ทุกคนอยากจะเป็นคนดี และเชื่อว่าถ้านักโทษได้รับการทำนุบำรุงจิตใจ ความรู้สึก จะทำให้อยากเปลี่ยนแปลงตัวเองและอยากกลับคืนสู่สังคม         

สังคม         

Take a break และ Time out
           Take a break คือการพาเด็กออกไปอยู่ในมุมหรือในห้อง เพื่อให้เด็กได้พักอารมณ์ ได้จัดการอารมณ์ โดยมีผู้ใหญ่อยู่ด้วย และมีวิธีพูดที่ไม่ทำให้เด็กรู้สึกว่าถูกลงโทษ แต่เป็นการช่วยเด็ก เช่น “หนูรอตรงนี้ก่อน take a break ก่อน พร้อมเมื่อไหร่ค่อยกลับมา” “ครูรู้ว่าหนูอยากกลับมาเล่นกับเพื่อน” ซึ่งเด็กจะฟัง ไม่คิดว่าเป็นการถูกทำโทษ แต่คิดได้ว่า ตัวเองต้องเป็นผู้จัดการอารมณ์ตัวเองจริงๆ และเป็นการสร้างทักษะให้เด็กด้วย

ครูไม่จำเป็นต้องบอกให้เด็ก “สำนึกผิด” เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม หากถูกแยกออกมาจากกลุ่มจะเหมือนถูกเนรเทศ เด็กจะค่อยๆ คิดได้เองและหยุดพฤติกรรมนั้นๆ ซึ่งแสดงว่ารู้ตัวแล้ว ควบคุมตัวเองได้แล้ว
Take a break จึงเป็นทั้งการสอนและสร้างทักษะทางอารมณ์ให้กับเด็ก ไม่ใช่การทำโทษ หากใช้วิธีนี้สองสามครั้งในห้องเรียน เด็กๆ จะรู้ตัวในที่สุดว่าต้องควบคุมตัวเองทันทีถ้าอยากจะกลับมาร่วมกิจกรรม

Time out คือการแยกเด็กออกไปจากกลุ่ม ให้เด็กนั่งคนเดียว อาจจะนั่งมุมห้องหรือในห้องอื่นโดยผู้ใหญ่ไม่ได้อยู่ด้วย เพื่อให้สำนึกผิด นั่งคิดว่าทำพฤติกรรมใดที่ไม่เหมาะสมและสงบสติอารณ์ โดยมีการกำหนดว่าให้เด็กนั่งกี่นาทีเช่น “หนูทำเพื่อนล้ม ไปนั่ง Time out 5 นาที แล้วค่อยกลับมาเมื่อครบ 5 นาทีแล้ว” ซึ่งไม่ได้ช่วยสร้างทักษะแต่เป็นการทำโทษ และครูคือผู้จัดการ ไม่ใช่เด็กจัดการตัวเอง


ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ดร.ปิยวลี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร เขียน

ผาณิต บุญมาก เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...