สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

Stay Connected

69,770แฟนคลับชอบ

ดร.ปิยวลี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

9 โพสต์0 ความคิดเห็น
https://www.facebook.com/101educarecenter/

บทที่ 9 ตอนที่ 9 : ลูกจะมีทักษะสมอง EF ดี พ่อแม่ต้องมีทักษะสมอง EF ดีด้วย

ลูกจะมีทักษะสมอง EF ดี พ่อแม่ต้องมีทักษะสมอง EF ดีด้วย ลูกจะมีทักษะสมอง EF ที่ดี พ่อแม่ต้องใช้หลักการวินัยเชิงบวก และพ่อแม่จะใช้วินัยเชิงบวกได้ดี พ่อแม่ก็ต้องมีทักษะสมอง EF ที่ดีด้วย ทักษะสมอง EF ด้านที่สำคัญที่สุดที่พ่อแม่ต้องมี คือ Cognitive Flexibility หรือทักษะคิดยืดหยุ่น เพราะพ่อแม่มักเคยชินกับการใช้คำว่า “ไม่” กับเด็ก ซึ่งไม่ใช่การสร้างวินัยเชิงบวก...

บทที่ 9 ตอนที่ 8 : ขั้นตอนพัฒนาการจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นตามทฤษฎีอีริคสัน

ขั้นตอนพัฒนาการจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นตามทฤษฎีอีริคสัน พ่อแม่หรือครูควรเข้าใจเรื่องพัฒนาการ เรื่องความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เรื่อง Self การทำงานของสมอง 3 ส่วน และเรื่องทักษะสมอง EF ด้วย จึงจะสามารถพัฒนาเด็กคนหนึ่งให้เติบโตไปเป็นคนที่เห็นคุณค่าของตัวเอง คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กคนหนึ่งมีพฤติกรรมแย่งของเล่นจากเพื่อน ครูปฐมวัยต้องนึกถึงวัย นึกถึงพัฒนาการเด็ก นึกถึงพัฒนาการทางสมอง นึกถึงสมอง 3 ส่วน นึกถึงทักษะสมอง EF ว่าเด็กวัยนี้มีการยับยั้งชั่งใจเป็นอย่างไร ทำได้แค่ไหน  หรือหากก่อนหน้านี้เด็กคนนี้ไม่เคยแย่งของเล่น...

บทที่ 9 ตอนที่ 7 : พฤติกรรมไม่ดี เด็กดื้อ เกิดจากอะไร

พฤติกรรมไม่ดี เด็กดื้อ เกิดจากอะไร ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการทำงานร่วมกันของสมอง จิตใจ และพฤติกรรมมนุษย์ จะเห็นว่าก่อนที่เด็กคนหนึ่งจะแสดงพฤติกรรมอะไรออกมา มีเรื่องของจิตใจ (Mind) เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ คือเด็กต้องรู้สึกอะไรบางอย่างก่อนจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม และความรู้สึกนั้นอาจมาจากการไม่ได้รับการสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อพ่อแม่หรือครูเห็นพฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกมา จะตัดสินเด็กทันที แล้วอบรมสั่งสอนเด็กที่แสดงพฤติกรรมนั้นๆ โดยไม่ได้ทบทวน ไม่ได้มองที่ต้นเหตุว่าเกิดจากอะไร กลับแก้ที่ปลายเหตุ โดยลงโทษที่พฤติกรรม ซึ่งยิ่งทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาและบานปลายออกไปอีก เวลาผู้ใหญ่มองเด็กดื้อ มักจะเห็นพฤติกรรมไม่ดีที่แสดงออกมา ไม่มีความรู้ว่าที่เด็กแสดงออกมานั้นเกิดจากสมองที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ ไม่เข้าใจเรื่องการทำงานของสมอง...

บทที่ 9 ตอนที่ 6 : การใช้อำนาจในห้องเรียนกระทบ Self และการเรียนรู้ของเด็ก

การใช้อำนาจในห้องเรียนกระทบ Self และการเรียนรู้ของเด็ก เมื่อเด็กรู้สึกปลอดภัย อารมณ์สงบ เด็กจะเรียนรู้ได้ดี พัฒนาการดี แต่การจะทำให้ห้องเรียนปลอดภัย ส่วนใหญ่ทำกันเพียงทางด้านกายภาพเท่านั้น เด็กยังไม่รู้สึก “อบอุ่นปลอดภัย” เพราะครูยังใช้อำนาจ ใช้อารมณ์ มากกว่าให้โอกาส เด็กรู้สึกไม่ปลอดภัยเพราะว่าไม่รู้ว่าวันนี้ถ้าเจอครูคนนี้แล้วจะโดนอะไรอีก เมื่อรู้สึกเช่นนี้อารมณ์จะไม่นิ่ง แทนที่สมอง EF ที่จะพัฒนาเป็นทักษะต่างๆ จะทำงาน  กลับเป็นสมองส่วนสัญชาตญาณทำงานเพื่อปกป้องตัวเอง สมอง EF จึงไม่พัฒนา ในห้องเรียน นอกจากการตี...

บทที่ 9 ตอนที่ 5 : สอนเด็กรู้จักอารมณ์ตัวเอง สร้าง Self และทักษะสังคม

สอนเด็กรู้จักอารมณ์ตัวเอง สร้าง Self และทักษะสังคม การที่ผู้ใหญ่สะท้อนอารมณ์ของเด็ก บอกให้เด็กรู้ว่าตัวเด็กกำลังรู้สึกอย่างไร จะทำให้เด็กรู้สึกมี Self มีตัวตน เพราะความรู้สึกนึกคิดและสิ่งที่เขาแสดงออกมานั้น ผู้ใหญ่เห็น ได้ยิน ให้ความสนใจ และการที่ผู้ใหญ่บอกว่าอารมณ์นั้นเรียกว่าอะไร เป็นการสอนให้เด็กรู้จักอารมณ์ อย่างเช่นที่สถาบัน 101 Educare Center ในวันเปิดเทอมแรกๆ เมื่อเด็กมาเรียนแล้วร้องไห้ ครูจะสะท้อนอารมณ์เด็ก โดยพูดว่า “หนูร้องไห้ เพราะคิดถึงคุณพ่อคุณแม่ อยากไปหาคุณพ่อคุณแม่ใช่ไหม”...

บทที่ 9 ตอนที่ 4 : เด็กแบเบาะก็เรียนรู้จักอารมณ์ได้

เด็กแบเบาะก็เรียนรู้จักอารมณ์ได้ อย่าละเลยที่จะสอนเด็กเล็กๆ ให้รู้จักอารมณ์ ทักษะอารมณ์เป็นทักษะที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของทักษะสังคม ส่งผลซึ่งกันและกัน แต่ผู้ใหญ่มักมองข้ามและไม่ได้ส่งเสริมเด็ก เพราะเข้าใจว่าจะเกิดขึ้นเองเมื่อเด็กโตขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เด็กอาจจะมีทักษะเอง แต่มีแบบไม่มีคุณภาพ ถ้าพิจารณาถึงพัฒนาการทางสมอง เด็กสามารถเรียนรู้เรื่องทักษะทางอารมณ์ได้ตั้งแต่อายุ 8 เดือน เพราะฉะนั้นวิธีการเลี้ยงดูที่บอกว่า “ยังเด็กอยู่ ปล่อยไปก่อน” สวนทางกับพัฒนาการทางสังคม มีการศึกษาทดลองในห้องทดลองที่สหรัฐอเมริกา เพื่อดูว่าเด็กในวัย 8 เดือนเมื่อมีอารมณ์แล้วจะตามอารมณ์ตัวเองได้ทัน ยับยั้งได้ แล้วยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ จึงสอนภาษามือง่ายๆ ให้เด็ก เช่น...

บทที่ 9 ตอนที่ 3 : วินัยเชิงบวกดีกว่าการสั่งบังคับอย่างไร อธิบายได้ด้วย Neuroscience

วินัยเชิงบวกดีกว่าการสั่งบังคับอย่างไร อธิบายได้ด้วย Neuroscience พ่อแม่หรือครูแค่รู้วิธีการใช้วินัยเชิงบวกอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องเข้าใจไปถึงเรื่องพัฒนาการของเด็ก การทำงานของสมองในแต่ละช่วงวัย เช่น พัฒนาการของเด็กตอนนั้น ภาวะจิตใจอยู่ในขั้นตอนใด เพื่อจะได้ใช้วิธีที่ตรงกับธรรมชาติของสมอง ของจิตใจ และธรรมชาติพัฒนาการ ซึ่งตรงข้ามกับการฝึกวินัยที่ใช้อำนาจอย่างมาก ที่กำกับพฤติกรรมเด็กให้ได้ผลตามที่ผู้ใหญ่ต้องการด้วยการใช้อำนาจโดยไม่คำนึงถึงพัฒนาการของเด็กหรือปัจจัยอะไรทั้งสิ้น ซึ่งส่งผลเสียให้กับเด็กในระยะยาว วินัยเชิงบวก (Positive Disciplines) เป็นแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นจากการบูรณาการองค์ความรู้ ข้อมูลการทดลอง งานวิจัย และแนวคิดของพัฒนาการแต่ละด้านของเด็ก ได้แก่ จิตวิทยา สังคมวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์  ในช่วงเริ่มแรก...

บทที่ 9 ตอนที่ 2 : เทคนิค “วินัยเชิงบวก” ฝึกเด็กให้มีวินัยด้วยตัวเอง

เทคนิค “วินัยเชิงบวก” ฝึกเด็กให้มีวินัยด้วยตัวเอง ในอดีตมีการฝึกวินัยให้กับเด็กด้วยความปรารถนาดี เพื่อให้อยู่ในกติกา อยู่ในสังคมได้ และได้ผล โดยการให้รางวัลหรือลงโทษ เช่น ให้รางวัลด้วยขนม แต้ม หรือดาว และลงโทษถ้าไม่มีวินัยด้วยวิธีการ Time out   สำหรับการให้รางวัล ให้ได้ในเด็กบางประเภท เช่น เด็กสมาธิสั้น เด็กเล็กในระยะแรกๆ เพราะเด็กเรียนรู้ได้จากประสาทสัมผัส การสอน การบอก การทำให้เห็น เด็กอาจจะจำไม่ได้...
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...