สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

บทที่ 9 ตอนที่ 3 : วินัยเชิงบวกดีกว่าการสั่งบังคับอย่างไร อธิบายได้ด้วย Neuroscience

วินัยเชิงบวกดีกว่าการสั่งบังคับอย่างไร อธิบายได้ด้วย Neuroscience

พ่อแม่หรือครูแค่รู้วิธีการใช้วินัยเชิงบวกอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องเข้าใจไปถึงเรื่องพัฒนาการของเด็ก การทำงานของสมองในแต่ละช่วงวัย เช่น พัฒนาการของเด็กตอนนั้น ภาวะจิตใจอยู่ในขั้นตอนใด เพื่อจะได้ใช้วิธีที่ตรงกับธรรมชาติของสมอง ของจิตใจ และธรรมชาติพัฒนาการ ซึ่งตรงข้ามกับการฝึกวินัยที่ใช้อำนาจอย่างมาก ที่กำกับพฤติกรรมเด็กให้ได้ผลตามที่ผู้ใหญ่ต้องการด้วยการใช้อำนาจโดยไม่คำนึงถึงพัฒนาการของเด็กหรือปัจจัยอะไรทั้งสิ้น ซึ่งส่งผลเสียให้กับเด็กในระยะยาว

วินัยเชิงบวก (Positive Disciplines) เป็นแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นจากการบูรณาการองค์ความรู้ ข้อมูลการทดลอง งานวิจัย และแนวคิดของพัฒนาการแต่ละด้านของเด็ก ได้แก่ จิตวิทยา สังคมวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์  ในช่วงเริ่มแรก ได้รับความสนใจว่าเป็นแนวความคิดที่ทำให้เห็นว่าเด็กเติบโตขึ้นมาจากสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่เด็กๆ ได้รับจากผู้ใหญ่ที่อยู่รอบตัว อันจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมเหมาะสมตามธรรมชาติและพัฒนาการมนุษย์ แต่ก็ยังเป็นแนวความคิดที่เป็นนามธรรม และในบางกรณีเมื่อนำไปใช้ก็เลิกใช้กลางคัน เพราะคิดว่าไม่ได้ผลหรือไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้

ต่อมาเมื่อองค์ความรู้ทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) ที่บอกว่ามนุษย์เรียนรู้อย่างไร ถูกนำมาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาเพื่อช่วยให้ครูสามารถออกแบบการเรียนการสอนให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม โดยยึดถือข้อเท็จจริงเรื่องการเรียนรู้ของสมองและการตอบสนองทางจิตใจมนุษย์ที่เรียกว่า Neuroeducationเป็นสำคัญ วินัยเชิงบวกจึงได้รับการพัฒนาขึ้นโดยใช้หลักการทำงานของสมองเข้ามาอธิบายถึงการเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็กได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

Neuroeducation ทำให้เรามีวิธีคิด เช่น เมื่อเด็กคนหนึ่งวิ่งมาหาเราด้วยพฤติกรรมอะไรบางอย่าง เราจะมองว่าสมองส่วนใด พัฒนาการทางจิตใจอะไรที่กำลังทำงานกำลังส่งผลกับพฤติกรรมนี้ (Brain : Mind : Behavior) รวมทั้งมองพัฒนาการทางด้านร่างกายด้วย เช่น ในเด็กทารก ทำไมเด็กต้องส่งเสียงร้อง-ร้องไห้ เป็นเพราะพัฒนาการทางด้านอื่นๆ ยังไม่พร้อม แต่มีแรงขับที่อยากจะสื่อสาร อยากจะบอกความต้องการ ซึ่งคือความต้องการทางจิตใจ ทางจิตวิทยา ขณะที่ทางสมองยังไม่มีข้อมูล กล้ามเนื้อปากยังไม่แข็งแรงมากพอที่จะพูดออกมาได้

ความรู้ทางด้าน Neuroeducation ทำให้เรามองพฤติกรรมเด็กคนหนึ่งด้วยชุดความคิดเช่นนี้ แล้วเข้าใจ ทำการตอบสนองได้อย่างเหมาะสม ช่วยเหลือเด็กให้มีพฤติกรรมหรือเกิดทักษะได้อย่างเต็มศักยภาพ ด้วยการใช้วินัยเชิงบวกให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย สมอง (Brain) และ จิตใจ (Mind) ทำงานไปด้วยกันแล้วจึงออกมาเป็นพฤติกรรม จึงไม่ควรมองแค่ด้านใดอย่างหนึ่ง ไม่ควรคิดว่าเด็กตั้งใจจะมีพฤติกรรมนั้นๆ  ผู้ใหญ่ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่ง (Input) ที่ทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมหนึ่งๆ เสมอ

ดังนั้น การเป็นครูปฐมวัย นอกจากจะต้องเรียนรู้เรื่องหลักการต่างๆ ทางด้านศึกษาศาสตร์ ซึ่งมีทั้งเรื่อง Milestones หรือขั้นตอนพัฒนาการ และหลักการทางด้านการเรียนการสอนต่างๆ แล้ว ยังต้องมีความรู้ทางด้าน Educational Neuroscience ซึ่งสำคัญมาก ได้แก่ เรื่องการทำงานของสมอง เรื่องทักษะสมอง EF  เช่นข้อเท็จจริงที่ว่าช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะสมอง EF ก็มาจากความรู้ในศาสตร์นี้ จนทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนหลักสูตรการสอนในต่างประเทศ โดยให้ครูฝึกพัฒนาทักษะสมอง EF ในช่วงอนุบาลทันที รวมทั้งเรื่องของ self ตามทฤษฎีของอีริคสัน และ Ego ตามทฤษฎีของฟรอยด์  ครูต้องรู้หลักการของ Educational Psychology และ Neuropsychology ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของความสัมพันธ์ (Attachment)

จึงนำมาสู่ข้อข้อสรุปว่า ครูและพ่อแม่มีหน้าที่หลักคือส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวม ให้ความสำคัญกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และไม่ละเลยเรื่องของ brain และ mind 


ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ดร.ปิยวลี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร เขียน
ผาณิต บุญมาก เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...