สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

บทที่ 9 ตอนที่ 4 : เด็กแบเบาะก็เรียนรู้จักอารมณ์ได้

เด็กแบเบาะก็เรียนรู้จักอารมณ์ได้

อย่าละเลยที่จะสอนเด็กเล็กๆ ให้รู้จักอารมณ์ ทักษะอารมณ์เป็นทักษะที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของทักษะสังคม ส่งผลซึ่งกันและกัน แต่ผู้ใหญ่มักมองข้ามและไม่ได้ส่งเสริมเด็ก เพราะเข้าใจว่าจะเกิดขึ้นเองเมื่อเด็กโตขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เด็กอาจจะมีทักษะเอง แต่มีแบบไม่มีคุณภาพ

ถ้าพิจารณาถึงพัฒนาการทางสมอง เด็กสามารถเรียนรู้เรื่องทักษะทางอารมณ์ได้ตั้งแต่อายุ 8 เดือน เพราะฉะนั้นวิธีการเลี้ยงดูที่บอกว่า “ยังเด็กอยู่ ปล่อยไปก่อน” สวนทางกับพัฒนาการทางสังคม

มีการศึกษาทดลองในห้องทดลองที่สหรัฐอเมริกา เพื่อดูว่าเด็กในวัย 8 เดือนเมื่อมีอารมณ์แล้วจะตามอารมณ์ตัวเองได้ทัน ยับยั้งได้ แล้วยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ จึงสอนภาษามือง่ายๆ ให้เด็ก เช่น more, please, mom, dad ปรากฏว่าเด็กทำได้จริงๆ เมื่อต้องการอะไร จากที่เคยร้องก็ไม่ร้อง หยุดได้ และปรับเปลี่ยน (Shifting) พฤติกรรมได้

 ถ้าไม่สอนเรื่องอารมณ์ เมื่อเด็กร้อง ผู้ใหญ่ที่คิดว่าเด็กยังเล็กอยู่ก็จะตัดใจ ตามใจให้ในสิ่งที่เด็กต้องการไปก่อน จะได้เงียบ เด็กก็ไม่ได้เรียนรู้ เมื่อเข้าสู่วัย 2 ขวบ ซึ่งมีพัฒนาการเรื่อง Self มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย ยืนได้ วิ่งได้ ขว้างของได้ ปฏิเสธได้ แล้ววันหนึ่งเมื่อเด็กมีอารมณ์ มีพฤติกรรมตามมา กลับถูกดุ ผู้ใหญ่ไม่ตามใจอีกต่อไป เพราะคิดว่าโตแล้ว รู้เรื่องแล้ว สิ่งนี้แสดงถึงความไม่เข้าใจพัฒนาการทั้งทางร่างกายและตัวตนของเด็ก  เด็กที่เมื่อก่อนเคยถูกตามใจ ไม่เคยถูกดุ ทำอะไรก็ได้ จึงสับสน บางคนแสดงออกทางดื้อ ที่เรียกว่า Terrible Two บางคนอาจจะยอมแล้วสูญเสียตัวตน ส่วนบางคนอาจจะแอบทำ

ในกรณีนี้ ถ้าเด็กวัย 2 ขวบได้ฝึกมาตั้งแต่อายุ 8 เดือน เมื่ออายุ 2 ขวบก็จะบอกคนอื่นได้ว่ากำลังรู้สึกอย่างไร แต่ถ้าเด็กไม่ได้ฝึก จะไม่บอก บอกไม่ได้ จะพูดแต่เหตุผลของตัวเองว่าทำไมถึงทำ เริ่มมีพฤติกรรมแก้ตัว โกหก ซึ่งถ้าโกหกพ่อแม่ก็จะไม่ชอบมากๆ อีก

ข้อดีของการสอนเด็กให้เข้าใจเรื่องอารมณ์มาตั้งแต่ยังเล็กๆ จะทำให้เด็กบอกระดับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้ เช่น เด็กอายุ 3 ขวบคนหนึ่งที่บอกกับครูได้ว่า ไม่ได้ “เศร้า” แต่แค่กำลังรู้สึก “ไม่พอใจ”

การเรียนรู้เรื่องอารมณ์ ตามทันอารมณ์ ทำให้เด็กสามารถจัดการอารมณ์ตัวเองได้เร็ว จะมีประโยชน์มาก เปรียบเสมือนไฟ ถ้าเรารู้ตัวว่าไฟกำลังจะมาก็ดับได้ ไม่เหมือนไฟป่าที่โหมมาโดยไม่รู้ตัว จะดับยาก อย่างเช่น การกราดยิงที่สหรัฐอเมริกาที่เด็กเป็นผู้ก่อเหตุซึ่งเกิดขึ้นบ่อยมาก เพราะมีการใช้ความรุนแรงในหมู่เด็กเป็นเรื่องปกติธรรมดา เด็กไปโรงเรียนแล้วถูกรังแก ครูก็รับมือได้ไม่เหมาะสม แม้จะลงโทษเด็กที่รังแกคนอื่นไปตามกฎของโรงเรียน แต่ไม่ได้ทำให้คนถูกรังแกรู้สึกดีขึ้น มีคุณค่ามากขึ้น ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนไม่ได้ใช้หลักการของวินัยเชิงบวกในการแก้ปัญหา เด็กเก็บกดอารมณ์จนในที่สุดระเบิดออกมาเป็นพฤติกรรมรุนแรง


ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ดร.ปิยวลี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร เขียน
ผาณิต บุญมาก เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...