สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

บทที่ 9 ตอนที่ 8 : ขั้นตอนพัฒนาการจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นตามทฤษฎีอีริคสัน

ขั้นตอนพัฒนาการจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นตามทฤษฎีอีริคสัน

พ่อแม่หรือครูควรเข้าใจเรื่องพัฒนาการ เรื่องความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เรื่อง Self การทำงานของสมอง 3 ส่วน และเรื่องทักษะสมอง EF ด้วย จึงจะสามารถพัฒนาเด็กคนหนึ่งให้เติบโตไปเป็นคนที่เห็นคุณค่าของตัวเอง คุณค่าของการมีชีวิตอยู่

ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กคนหนึ่งมีพฤติกรรมแย่งของเล่นจากเพื่อน ครูปฐมวัยต้องนึกถึงวัย นึกถึงพัฒนาการเด็ก นึกถึงพัฒนาการทางสมอง นึกถึงสมอง 3 ส่วน นึกถึงทักษะสมอง EF ว่าเด็กวัยนี้มีการยับยั้งชั่งใจเป็นอย่างไร ทำได้แค่ไหน  หรือหากก่อนหน้านี้เด็กคนนี้ไม่เคยแย่งของเล่น เพราะอยู่ในวัยที่มีทักษะสมอง EF ด้านการยับยั้งชั่งใจแล้ว แต่ทำไมตอนนี้แย่ง แสดงว่ามีบางอย่างเกิดขึ้น อาจจะมีปัญหาจากทางบ้าน เช่น แม่มีน้องใช่หรือไม่ เมื่อครูเข้าใจภาพรวม เข้าใจกระบวนการทำงานร่วมกันของสมอง จิตใจ และพฤติกรรมมนุษย์ ก็จะสามารถแก้ปัญหา ช่วยเหลือส่งเสริมได้ถูกจุด ไม่ไปลงโทษ ดุว่าเด็ก 

ตามทฤษฎีของอีริคสันถ้ามนุษย์จะพัฒนาต้องมีตัวกระตุ้น 2 ส่วน คือความต้องการด้านจิตใจกับความคาดหวังทางสังคม ซึ่งต้องประสานกันให้ดีจึงจะผ่านไปได้ในแต่ละช่วงวัย และมีพัฒนาการ มี Self มีตัวตนในทางที่ควรจะเป็นของแต่ละวัย แต่ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนที่เป็น “คนสำคัญ” ที่อยู่รอบตัว เด็กจะก็จะมีพัฒนาการ Self และมีพฤติกรรมในทางตรงกันข้าม ในแต่ละขั้นของพัฒนาตามทฤษฎี / หลักการของอีริคสัน จะมีบุคคลและสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาดังนี้

ขั้นที่ 1 Trust vs Mistrust (วัยทารกแรกเกิด – 18 เดือน)

ในช่วงวัยนี้เด็กต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นในการดูแลเอาใจใส่ทุกด้าน ถ้าได้รับการดูแลเอาใจใส่ ได้รับสัมผัสอ่อนโยนอบอุ่น ได้รับความรักความพอใจทั้งทางร่างกายและจิตใจ และได้รับความรักความอบอุ่นผูกพันจากพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูอย่างเต็มที่ เด็กจะเรียนรู้ที่จะไว้วางใจในสิ่งแวดล้อม ในคนที่ใกล้ชิด ซึ่งก็คือแม่ ในทางตรงข้าม ถ้าหากความต้องการไม่ได้รับการตอบสนองเด็กจะเติบโตไปอย่างไม่ไว้วางใจผู้ใด และมองโลกในแง่ร้าย คนที่มองโลกในแง่ร้ายจะคิดลบไว้ก่อน ป้องกันตัวเองไว้ก่อน เอาเปรียบไว้ก่อน เห็นใจคนอื่นยาก

ในขวบปีแรก หรือขั้นตอนแรกของชีวิต จึงมีความสำคัญมากต่อการสร้างคนๆ หนึ่งให้มีคุณภาพ มีความสุขได้มากน้อยแค่ไหน นอกจากนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กในช่วงนี้จะฝังลึกมาก และกลายเป็นแรงขับที่ส่งผลกับพฤติกรรมไปจนตลอดชีวิต ในขณะเดียวกันผู้ที่เลี้ยงดูเด็กในช่วงวัยนี้หากไม่มีความเข้าใจมากพอก็จะทำสิ่งที่ไม่ดีกับเด็กได้ง่าย หรือไม่ได้ดูแลส่งเสริมเท่าที่ควร เพราะคิดว่า เด็กยังเล็ก ไม่รู้อะไร ยังจำอะไรไม่ได้ บอกใครก็ไม่ได้ ดังกรณีตัวอย่างของเด็กวัย 4 ขวบในสหรัฐอเมริกาที่ทำร้ายน้องชายตัวเองอย่างรุนแรง ซึ่งในเบื้องต้นหาสาเหตุไม่ได้ เพราะเด็กไม่สามารถบอกเล่าได้ จนต้องใช้วิธีสะกดจิต จึงได้รู้ว่าเป็นเพราะเคยถูกพ่อล่วงเกินทางเพศในขวบปีแรก

ขั้นที่ 1 คนที่สำคัญที่สุดคือแม่ สิ่งสำคัญต่อพัฒนาการในช่วงวัยนี้คือการสร้างความผูกพัน และที่แม่ต้องทำคือการให้นมลูก ทำให้ลูกรู้สึกสบายตัว กอดลูก ใกล้ชิดลูก ถ้าทำได้ ลูกจะมีความหวัง มีแรงขับ แต่ถ้าทำไม่ได้ หรือ “แม่ไม่มีอยู่จริง” ไม่มีคนที่ทำหน้าที่สำคัญนี้แทนแม่ หรือแม่อารมณ์ไม่มั่นคง ไม่สม่ำเสมอในการดูแลลูก เด็กจะไม่ไว้วางใจโลก ระแวดระวัง ชอบแยกตัวออกมา และพัฒนาทักษะสมอง EF ได้ยาก เพราะสมองส่วนอารมณ์และสัญชาตญาณทำงานมากกว่า

ขั้นที่ 2 Autonomy vs Shame and Doubt (วัยเตาะแตะ 2 – 3 ปี)

หากเด็กพัฒนาขั้นที่ 1 มาดี เมื่อถึงขวบปีต่อมา พัฒนาการทางด้านร่างกายเพิ่มขึ้น เด็กจะเริ่มมีตัวตน เริ่มรู้ตัวว่าสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้เอง ควบคุมร่างกายตัวเองได้ คิดได้ เลือกได้ หากได้รับการสนับสนุนและกระตุ้นให้ได้ช่วยเหลือตัวเอง เด็กจะมีความมั่นใจในตัวเอง กล้าที่จะลองและเลือก แต่ถ้าเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป ผู้ใหญ่ไม่ยอมรับสิ่งที่เด็กทำขึ้นมาด้วยตนเอง ไม่ให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเอง เด็กจะพัฒนาตัวเองไปเป็นเด็กที่ขี้อาย สงสัยในความสามารถของตนเอง ไม่แน่ใจว่าจะทำหรือไม่ทำตลอดเวลา

เป็นช่วงวัยที่เหมาะกับการใช้วินัยเชิงบวกที่แนะนำไม่ให้ใช้คำว่า “ห้าม ไม่ อย่า หยุด” เพราะถ้าห้ามมาก จะไปกระตุ้นพฤติกรรมด้านลบ 2 แบบ แบบแรกคือเด็กทำเร็วขึ้น ทำลับหลัง หรือรีบทำ แบบที่สอง คือ ไม่กล้าทำ ไม่กล้าคิดเลย ซึ่งไม่ได้พัฒนาความเป็นอิสระ (Autonomy) แต่เกิดความไม่มั่นใจ ขี้อาย (Shame & Doubt) ขึ้นมาแทน

พ่อแม่ของลูกวัยนี้ จึงควรฝึกตัวเองให้เคยชินที่จะไม่พูด “ห้าม ไม่ อย่า หยุด”กับลูก เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกได้เติบโตไปด้วยความรู้สึกว่าสามารถทำอะไรเองได้ พึ่งตัวเองได้ ดูแลตัวเองได้

ขั้นที่ 2 คนสำคัญต่อพัฒนาการช่วงนี้คือพ่อแม่ เด็กวัยนี้เริ่มรู้แล้วว่ามนุษย์มีพ่อและแม่ ถ้าเริ่มรู้ว่ามีแต่พ่อ จะส่งผลต่อ Autonomy มองตัวเองว่าไม่เหมือนเด็กทั่วไป สิ่งสำคัญต่อพัฒนาการในช่วงวัยนี้คือการให้เด็กได้ดูแลตัวเอง สอนให้ดูแลตัวเองให้เป็น เช่นสอนให้ติดกระดุม ฝึกเข้าห้องน้ำ ฝึกใช้กล้ามเนื้อ ได้เดินเอง ให้ลูกรู้สึกว่า ทำได้ ดังนั้นการช่วยลูกทำสิ่งต่างๆ เท่ากับตัดโอกาสที่ลูกจะพัฒนาself ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ Self-esteem, Self-confidence, Self-actualization ดังนั้นถ้า Self ไม่ได้ถูกพัฒนาหรือต้นทุนต่ำ ก็จะส่งผลต่อการพัฒนาด้านอื่นทั้งหมด ในขั้นตอนนี้ถ้าดูแลไม่ดี เด็กจะรู้สึกไม่มีตัวตน ควบคุมตัวเองไม่ได้ หุนหันพลันแล่น

ขั้นที่ 3 Initiative vs Guilt (เด็กก่อนวัยเรียน 3 – 6 ปี)

เป็นช่วงที่เด็กมีการเรียนรู้มากมาย มีความสัมพันธ์กับเพื่อนที่โรงเรียน เพื่อนบ้าน อยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง อยากสำรวจ ชอบเล่นตามความคิดจินตนาการ ถ้าเด็กได้รับความรักความเข้าใจได้รับการสนับสนุนในการทำกิจกรรมต่างๆ จะมีความมั่นใจในตนเอง กล้าซักถาม มีความคิดริเริ่ม แต่ถ้าพ่อแม่เข้มงวดควบคุมตลอดเวลา เด็กจะเกิดความรู้สึกว่าตนเองทำผิดเมื่อพยายามทำอะไรด้วยตัวเอง

การที่เด็กมีความกล้าที่จะเริ่มสนทนาหรือกล้าเดินเข้าไปชวนเพื่อนเล่น เป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจที่สำคัญ ซึ่งถ้าถูกควบคุมอย่างเข้มงวดมา จะรู้สึกไม่กล้า เช่นไม่กล้าถามเพราะกลัวว่าจะถูกปฏิเสธ เด็กบางคนจะรับมือกับการโดนปฏิเสธได้ไม่ดี เพราะถ้าเพื่อนบอกว่าไม่เอา จะเจ็บ รับมือกับความรู้สึกเจ็บไม่ได้ ซึ่งส่งผลต่อทักษะทางอารมณ์ สังคม ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข โตขึ้นจะมีเพื่อนน้อย หรือเริ่มไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง

ขั้นที่ 3 สิ่งที่สำคัญต่อพัฒนาการในช่วงวัยนี้ คือการสร้างเพื่อน คนที่สำคัญที่สุดคือครอบครัวที่ต้องสนับสนุนส่งเสริมให้เด็กได้เล่น ได้เล่นกับเพื่อน ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ได้ลงมือทำ ได้สำรวจ ได้ค้นพบด้วยตัวเองซึ่งถ้าไม่ได้รับการส่งเสริม เด็กจะเป็นคนที่ไม่เข้าใจ ไม่เห็นใจคนอื่น และไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้

ขั้นที่ 4 Industry vs Inferiority (เด็กวัยเรียน 6 – 12 ปี) 

ร่างกายมีศักยภาพมาก มีความพร้อมมาก จึงขยันขันแข็ง อยากรู้ อยากทำ ไม่รู้จักเหนื่อย ดังนั้นถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนให้ทำ ก็จะรู้สึกว่าไม่ได้ทำอะไรที่ประสบผลสำเร็จเลย จนรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่า ถ้า “ทำได้ จะไปต่อ” ในขั้นนี้ต้องให้เด็กลงมือทำให้มาก ให้ได้เรียนรู้จากการลงมือทำ จากการเล่น จากสิ่งที่ผิดพลาด จากการทำงานกับกลุ่มเพื่อน เป็นขั้นที่ต้องส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกฝนพัฒนาทักษะสังคม

ขั้นที่ 4 สิ่งที่สำคัญต่อพัฒนาการในช่วงวัยนี้คือการเข้าสังคม สร้างเพื่อน สร้างเครือข่าย ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ โรงเรียน ครู เพื่อน เพื่อนบ้าน ถ้าทำไม่ได้ดี เด็กจะเป็นคนเฉื่อยชา ไม่อยากทำอะไร         

ขั้นที่ 5 Identity vs Role Confusion (เด็กโต 12 – 20 ปี)

เป็นช่วงที่เด็กเข้าไปผูกพันกับสังคมและต้องการการยอมรับจากสังคม จากกลุ่ม มีความรู้สึกเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง มีความเชื่อ มีความคิดของตัวเอง รู้ว่าต้องการอะไร โดดเด่น แตกต่างจากคนอื่นตรงไหน พยายามที่จะหาอัตลักษณ์ หาตัวตนของตัวเองถ้าการพัฒนาในขั้นก่อนหน้านั้นไม่ดี มาถึงขั้นนี้เด็กจะสับสนรู้สึกขัดแย้ง และหาไม่พบว่ามีความสามารถอะไร ต่างจากคนอื่นหรือโดดเด่นจากคนอื่นอย่างไร

เด็กบางคนหาตัวตนไม่เจอ หรือรู้สึกไม่เป็นที่ยอมรับ จะแสวงหาไปเรื่อยจนอาจเข้าไปหาในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมจนเกิดปัญหา เช่น ติดเกม ติดกลุ่มเพื่อนที่ร่วมกันทำสิ่งที่ไม่ดี เพราะรู้สึกว่าตรงนั้นตัวเองมีตัวตน ได้รับการยกย่อง ความสำเร็จ ต่างจากเมื่ออยู่ที่บ้านหรือที่โรงเรียน

ขั้นที่ 5 สิ่งที่สำคัญต่อพัฒนาการในช่วงวัยนี้คือความผูกพันและสัมพันธภาพกับเพื่อน ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ กลุ่มเพื่อน

หลักการของอีริคสันเป็นหลักให้พ่อแม่ ผู้ที่ดูแลเด็กนำไปใช้เป็นหลักในการดูแลเด็กแต่ละวัยให้ผ่านขั้นตอนพัฒนาการไปได้ด้วยดี หากเจออุปสรรคปัญหาที่อาจมีในแต่ละช่วงวัยเด็กก็จะสามารถฝ่าฟันไปได้


ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ผาณิต บุญมาก เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ บรรณาธิการ

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...