สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

วิกฤตไวรัสโควิด-19 กับโอกาสที่ขาดหายไปของเด็ก

ตอนนี้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยของเรานั้นจัดว่าค่อนข้างรุนแรงมากทีเดียวนะครับ เพราะทั้งยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ และยอดผู้เสียชีวิตนั้นยังคงดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อันนำไปสู่การออกมาตรการต่างๆ ของภาครัฐที่ดูจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน โดยเฉพาะการปิดสถานศึกษาในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดสูง ทำให้เด็กๆ ของเราในยุคนี้ต้องเรียนจากที่บ้านเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์หรือการไปเอาอุปกรณ์การเรียนจากโรงเรียนที่คุณครูเตรียมให้มาเรียนรู้ที่บ้าน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวถือเป็นความพยายามในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่ยากลำบากอย่างเช่นตอนนี้ ซึ่งก็แน่นอนว่า ไม่สามารถทดแทนการเรียนตามวิถีปกติเดิมในโรงเรียนได้ ไม่นับความรู้ทางวิชาการที่เด็กๆ จะไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่เหมือนกับตอนเรียนที่โรงเรียนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการขาดโอกาสในการเรียนรู้ชีวิตและกระบวนการต่างๆ ที่สำคัญอันจะได้กล่าวถึงต่อไป

การเรียนที่บ้านโดยผ่านระบบออนไลน์จะทำให้เด็กขาดโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คุณครู และบุคลากรอื่นๆ ในโรงเรียน เพราะการดำเนินชีวิตตามแนวชีวิตวิถีใหม่หรือความปกติใหม่ (new normal) จะทำให้เด็กๆ ขาดโอกาสสำคัญในการเรียนรู้ชีวิตในส่วนนี้ เนื่องจากชีวิตในโรงเรียนไม่ได้มีเพียงการเรียนรู้ในแง่วิชาการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการฝึกการมีปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับเพื่อนๆ คุณครู และบุคลากรอื่นๆ ในโรงเรียน หรือเป็นการปรับตัวต่อสถานการณ์ใหม่และบ่อยครั้งเป็นสถานการณ์ที่ลำบากหรือทำให้เด็กไม่ค่อยชอบใจ รวมไปถึงการฝึกการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันที่โรงเรียน เช่น ปัญหาทะเลาะกับเพื่อน ปัญหาการบ้านเยอะ หรือปัญหาเพื่อนในกลุ่มไม่ยอมช่วยทำงาน เป็นต้น

“การแก้ไขปัญหาหรือปรับตัวกับปัญหาเหล่านี้

ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม

ก็ถือเป็นบทเรียนชีวิตที่สำคัญของเด็ก ที่จะสอนตัวเขา

ในการใช้ชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมต่อไปในอนาคต

ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้ ไม่สามารถเรียนรู้ได้จากการเรียนออนไลน์จากบ้าน

ทำให้เด็กๆ ของเราในยุคนี้จะขาดทักษะในส่วนนี้ไป”

นอกจากนี้ การสื่อสารยังเป็นปัจจัยที่ได้รับผลกระทบจากแนวชีวิตวิถีใหม่นี้ เพราะมนุษย์สื่อสารโดยใช้ทั้งภาษาพูดและภาษากาย อันหมายถึงสีหน้า แววตา และท่าทางต่างๆ ที่ปรากฏออกมาในระหว่างการติดต่อสื่อสาร การที่คนเราในยุคนี้ต้องใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส ทำให้เด็กๆ ขาดโอกาสในการเรียนรู้การแสดงออกของใบหน้าที่สมบูรณ์ เพราะเหลือเพียงคำพูดและแววตาในการติดต่อสื่อสารกันเท่านั้น นอกจากนี้ ในขณะที่เรียนออนไลน์ เด็กๆ จะเห็นคุณครูเพียงแต่ใบหน้าและร่างกายส่วนบนเพียงอย่างเดียว ซึ่งต่างจากการเรียนในห้องเรียนปกติที่จะเห็นคุณครูทั้งตัว ทำให้การรับรู้ภาษากายต่างๆ ในระหว่างการสื่อสารนั้นทำได้ลำบากมากขึ้น ซึ่งการเรียนรู้กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นในระดับที่เราไม่รู้ตัว ทำให้วันที่มันขาดหายไป เราก็ไม่ทันได้รู้ตัวเช่นกัน

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การใช้ชีวิตในโรงเรียนจะมีความแตกต่างจากชีวิตในบ้าน เพราะที่โรงเรียนจะเสมือนกับการย่อส่วนของสังคมที่ตัวเขาอยู่อาศัย มาให้เด็กได้ทดลองปรับตัวในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมที่นอกเหนือจากครอบครัวของตน ผู้คนหลากหลายที่เด็กที่ต้องพบเจอในโรงเรียนจึงเหมือนกับตัวอย่างที่จะทำให้เด็กได้เห็นและเรียนรู้ ทั้งตัวอย่างที่ดีและตัวอย่างที่ไม่ดี ทั้งชอบและไม่ชอบ ทั้งหวังดีและมุ่งหวังเอาเปรียบ แต่มันก็เป็นชีวิตจริงที่ตัวเขาจะต้องได้เจอเมื่อเขาเติบโตขึ้น ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ การเรียนจากที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์หรือการไปเอาอุปกรณ์การเรียนจากโรงเรียนที่คุณครูเตรียมให้ ก็ยังไม่สามารถทดแทนได้ นำไปสู่คำถามคือ แล้วเราจะช่วยเด็กๆ ของเราได้อย่างไร หากสถานการณ์ยังคงเป็นแบบนี้ไปอีกสัก 1-2 ปี หรือแม้แต่นานกว่านั้น

คำตอบก็คือ แม้การเรียนที่โรงเรียนจะยังไม่สามารถดำเนินการได้ในตอนนี้ แต่คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง สามารถช่วยเหลือเด็กๆ ได้ครับ และแน่นอนว่าท่านผู้ปกครองทั้งหลายล้วนมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่หนักอึ้งไม่แพ้กันในสถานการณ์ตอนนี้ การจะให้ท่านทั้งหลายมาสอนหนังสือให้กับลูกๆ ของท่านโดยตรง แม้จะฟังดูดีในทางทฤษฎี แต่ก็ทำได้ยากในทางปฏิบัติ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาก็คือ การสอนและการพัฒนาทักษะสมอง EF ให้กับลูกๆ ของเราทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เพราะทักษะสมอง EF จะประกอบไปด้วยกระบวนการต่างๆ อันเป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยในการเรียน ไม่ว่าจะเป็น EF ขั้นพื้นฐาน เช่น ความยับยั้งชั่งใจ ไม่ไปสนใจสิ่งอื่นระหว่างการเรียน และความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจจะเกิดขึ้น หรือ EF ขั้นสูง เช่น การจดจ่อใส่ใจกับบทเรียน การควบคุมตัวเอง การริเริ่มลงมือทำ หรือการวางแผนในการทำงานส่งคุณครูให้ทันกำหนด เหล่านี้เป็นต้น

“ซึ่งการสอนทักษะสมอง EF สามารถกระทำได้ผ่านการใช้ชีวิตประจำวันในแต่ละวัน

ที่เด็กๆ จะค่อยเรียนรู้และซึมซับสิ่งเหล่านี้เข้าไปโดยไม่รู้ตัว”

หรือจะเป็นการสอนโดยตรงผ่านการเล่านิทานหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำร่วมกันระหว่างพ่อแม่กับลูกก็ได้เช่นกันครับ โดยในบทความตอนหน้าเราจะมาคุยกันถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะสมอง EF เหล่านี้กันอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ของเราให้ผ่านวิกฤตในครั้งนี้ไปได้อย่างราบรื่นเท่าที่จะทำได้กันนะครับ

รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์
กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาศักยภาพสมองเด็ก สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...