สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

Stay Connected

69,770แฟนคลับชอบ

รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์

14 โพสต์0 ความคิดเห็น
กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาศักยภาพสมองเด็ก สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลดีในระยะยาวของการพัฒนาทักษะสมอง EF

ในบทความก่อนหน้า หมอมักจะพูดเกี่ยวกับผลดีของการฝึกทักษะสมอง EF ต่อการพัฒนาศักยภาพของตัวเด็ก ซึ่งมักจะเน้นไปที่พัฒนาการด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กเป็นหลัก อย่างไรก็ดี ผลของการพัฒนาทักษะสมอง EF ไม่ได้มีเพียงแค่ผลในระยะสั้นที่เกิดขึ้นในวัยเด็กเท่านั้น แต่ยังไปมีผลถึงกระบวนการต่างๆ ของทั้งสมองและร่างกายเมื่อเด็กคนนั้นเติบโตขึ้นมาอีกด้วย ในบทความอันนี้ ซึ่งเป็นอันสุดท้ายแล้ว เราจะมาคุยกันว่า การฝึกทักษะสมอง EF ส่งผลดีในระยะยาวสำหรับเด็กคนหนึ่งได้อย่างไรบ้าง มาลองติดตามอ่านกันนะครับ การศึกษาผลระยะยาวของทักษะสมอง EF มักจะอ้างอิงจากการทดลองที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งก็คือ การทดสอบมาร์ชเมลโลว์ (Marshmallow...

สุขภาพจิตกับทักษะสมอง EF

สุขภาพจิตกับทักษะสมอง EF ในบทความก่อนหน้า หมอได้กล่าวถึงวิธีการส่งเสริมทักษะสมอง EF ในด้านต่างๆ ไว้หลายวิธี เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองได้นำไปใช้กับบุตรหลานของท่าน อย่างไรก็ดี มีอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF ไม่น้อย แต่มักจะไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงสักเท่าไร นั่นก็คือ สุขภาพจิต โดยในบทความนี้เราจะมาเน้นที่สุขภาพจิตกับทักษะสมอง EF กันนะครับ เวลากล่าวถึงสุขภาพจิต ทุกท่านก็มักจะคิดไปถึงคนไข้ในโรงพยาบาลจิตเวช ไม่ว่าจะเป็นคนไข้โรคจิตเภท คนไข้โรคซึมเศร้า หรือที่ได้ยินกันบ่อยในช่วงนี้ อย่างผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว ซึ่งจริงๆ แล้ว...

โควิด-19 ก็กลัว…EF ก็ต้องฝึก เอาไงดี

โควิด-19 ก็กลัว...EF ก็ต้องฝึก เอาไงดี สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในตอนนี้ถือว่าเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีบ้างแล้วนะครับ จากการที่ยอดผู้ป่วยรายใหม่ภายในประเทศเริ่มลดลง รวมไปถึงการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ของทางภาครัฐ ที่ทำให้พวกเราเริ่มสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่ใกล้เคียงกับสมัยก่อนหน้าที่จะมีการระบาดของโรคได้บ้าง แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังต้องถือว่าสถานการณ์การระบาดยังไม่ได้จบลงซะทีเดียว พวกเราคงยังต้องระมัดระวังตัวกันต่อไปอีกสักพัก ด้วยความคาดหวังว่าทุกอย่างจะดีขึ้นกว่านี้ในปีหน้า ...

สมองของเด็กปฐมวัย และความจำเป็นในการพัฒนาทักษะสมอง EF

สมองของเด็กปฐมวัย และความจำเป็นในการพัฒนาทักษะสมอง EF สมองของเด็กมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น กล่าวได้ว่าสมองเป็นอวัยวะที่สร้างเป็นอันดับแรกในตัวอ่อน และพัฒนาเสร็จสิ้นเป็นอันดับสุดท้าย จึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความซับซ้อนของสมอง และระบบประสาทที่มีต่อร่างกายมนุษย์ การทำงานของสมองเกิดขึ้นในทุกๆ ขณะที่คนเรายังมีลมหายใจ ไม่มีกิจกรรมใดในหนึ่งวันที่เกิดขึ้นโดยปราศจากการทำงานทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากสมอง เพราะไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับก็ต้องอาศัยการทำงานของสมองในส่วนที่กระตุ้นให้เกิดการหลับ การหายใจเข้าและหายใจออกก็เป็นการกำหนดจากก้านสมอง ความอิ่มหรือความหิวก็เป็นผลมาจากการสั่งการของสมองด้วยเช่นกัน หรือแม้แต่การอ่านบทความนี้ ท่านก็ต้องใช้สมองหลายส่วนในการทำงาน สมองส่วนหลังจะทำหน้าที่รับรู้สัญลักษณ์ภาษา...

เทคนิคการฝึกความจำใช้งาน

เทคนิคการฝึกความจำใช้งาน ในบทความครั้งก่อน หมอได้พูดถึงเทคนิคที่ช่วยในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ให้กับเด็กๆ ของเราในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งก็ได้เน้นเกี่ยวกับการนำสถานการณ์ที่เด็กๆ ต้องได้พบเจอในหนึ่งวัน สิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็กมาใช้ในการฝึกกระตุ้นทักษะสมอง EF ในภาพรวม อย่างไรก็ดี ตัวทักษะสมอง EF เองยังมีองค์ประกอบพื้นฐาน อันจัดเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะสมอง EF ไปสู่กระบวนการขั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การควบคุมตนเอง และการลงมือปฏิบัติ โดยองค์ประกอบพื้นฐานของทักษะสมอง EF เหล่านี้จะประกอบไปด้วย (1)...

กิจกรรมง่ายๆ เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF และการเรียนรู้ของเด็กๆ ในยุคโควิด-19

กิจกรรมง่ายๆ เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF และการเรียนรู้ของเด็กๆ ในยุคโควิด-19 ตามที่ได้กล่าวไว้ในบทความของเดือนก่อนว่า รอบนี้เราจะมาคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยส่งเสริมทักษะสมอง EF และการเรียนรู้ให้กับลูกๆ ของพวกเรา อันจะไปช่วยแก้ปัญหาการเสียโอกาสในการเรียนรู้ของเด็กๆ และปัญหาความเหนื่อยล้าในการดูแลลูกๆ ของคุณพ่อคุณแม่ในยุคนี้ได้ กิจกรรมและหลักในการดูแลเด็กดังกล่าวมีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลยครับ “โลกนี้คือละคร” โดยหลักการแล้วเป็นการกระตุ้นเตือนให้คุณพ่อคุณแม่พึงระลึกว่า ทุกๆ การกระทำของท่าน จะมีสายตา (อย่างน้อย) คู่หนึ่งคอยดูอยู่ตลอด เปรียบเสมือนละครชีวิตที่มีคนเฝ้าติดตาม ดังนั้น ทุกๆ พฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่จะถูกลูกๆ...

วิกฤตไวรัสโควิด-19 กับโอกาสที่ขาดหายไปของเด็ก

ตอนนี้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยของเรานั้นจัดว่าค่อนข้างรุนแรงมากทีเดียวนะครับ เพราะทั้งยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ และยอดผู้เสียชีวิตนั้นยังคงดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อันนำไปสู่การออกมาตรการต่างๆ ของภาครัฐที่ดูจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน โดยเฉพาะการปิดสถานศึกษาในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดสูง ทำให้เด็กๆ ของเราในยุคนี้ต้องเรียนจากที่บ้านเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์หรือการไปเอาอุปกรณ์การเรียนจากโรงเรียนที่คุณครูเตรียมให้มาเรียนรู้ที่บ้าน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวถือเป็นความพยายามในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่ยากลำบากอย่างเช่นตอนนี้ ซึ่งก็แน่นอนว่า ไม่สามารถทดแทนการเรียนตามวิถีปกติเดิมในโรงเรียนได้ ไม่นับความรู้ทางวิชาการที่เด็กๆ จะไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่เหมือนกับตอนเรียนที่โรงเรียนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการขาดโอกาสในการเรียนรู้ชีวิตและกระบวนการต่างๆ ที่สำคัญอันจะได้กล่าวถึงต่อไป การเรียนที่บ้านโดยผ่านระบบออนไลน์จะทำให้เด็กขาดโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คุณครู และบุคลากรอื่นๆ ในโรงเรียน เพราะการดำเนินชีวิตตามแนวชีวิตวิถีใหม่หรือความปกติใหม่ (new...

การนอนหลับกับการพัฒนาสมองและ EF

การนอนหลับกับการพัฒนาสมองและ EF โดยปกติแล้ว เดือนมิถุนายนมักจะเป็นเดือนแห่งการเปิดภาคการศึกษาของเหล่านักเรียนและนักศึกษา เป็นเดือนแห่งความแปลกใหม่กับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไปจากการอยู่บ้าน ความสนุกในการได้พบปะกับเพื่อนๆ รวมถึงความกังวล (บ้าง) ในการได้เจอกับคุณครูประจำชั้นคนใหม่ แต่ในปีนี้ ซึ่งกำหนดการเปิดภาคเรียนอย่างเป็นทางการยังไม่แน่ชัดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไรในหลายพื้นที่ของประเทศ ทำให้บรรยากาศการเปิดภาคการศึกษาในปีนี้ดูจะแปลกไปพอสมควรนะครับ หวังว่าทุกอย่างจะค่อยๆ กลับมาเป็นปกติในเร็ววัน เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กๆ สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมต่อไปครับ เมื่อพูดถึงช่วงเวลาของการเปิดภาคการศึกษา สิ่งหนึ่งที่มักจะพบได้บ่อยๆ ในช่วงเปิดภาคเรียนก็คือ รถติดหนักมาก ทำให้เด็กๆ มักจะต้องตื่นแต่เช้าเพื่อมาโรงเรียน ทำให้ระยะเวลาการนอนหลับไม่เพียงพอ หรือแม้แต่ในตอนนี้ที่ยังไม่ได้ไปเรียนที่โรงเรียน แต่เป็นการเรียนออนไลน์ ก็พบว่าเด็กๆ...
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...