สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

สมองของวัยว้าวุ่น

สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญของชีวิต ทำหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการควบคุม สั่งการอวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ ตามวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์

สมองส่วนที่เกิดขึ้นมาก่อนคือสมองส่วนที่เรียกว่า สมองสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilian Brain) อยู่บริเวณใกล้ท้ายทอย สั่งการระบบพื้นฐานต่างๆภายในร่างกาย ตั้งแต่การเต้นของหัวใจ การหายใจ ระบบการย่อยอาหาร ความดันโลหิต อุณหภูมิและสมดุลของเหลวในร่างกาย รวมทั้งการทรงตัว และระบบสืบพันธุ์ 

ต่อมาเมื่อวิวัฒนาการมาถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีสมองส่วนสำคัญที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ สมองส่วนที่อยู่บริเวณส่วนกลางของกะโหลก สมองส่วนนี้ที่เรียกว่า สมองส่วนกลาง (Limbic Brain) ทำงานเกี่ยวกับความจำระยะยาว ควบคุมพฤติกรรมที่ตอบสนองความรู้สึกและการเรียนรู้ ความผูกพัน ความรู้สึกปลอดภัย มั่นคง  ความพึงพอใจเป็นเป้าหมายของสมองส่วนนี้

และสุดท้ายสมองที่เกิดขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือสมองชั้นนอกสุดที่เรียกว่า Neocortex อยู่ในบริเวณเปลือกสมอง ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่ประสาทสัมผัสรับจากสิ่งเร้าภายนอก เรียนรู้ จำเพื่อใช้งาน คิด สื่อสาร และการใช้ภาษา สมองส่วนนี้มีสมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ในบริเวณหน้าผากทำหน้าที่คล้ายผู้บริหารสูงสุดของสมอง มีทักษะบริหารจัดการ (Executive Function: EF) ทำให้เรามีความสามารถคิดในระดับสูง (High-Level Cognitive Function) และความสามารถในการกำกับตนเอง (Self-Regulation)

ภายในสมองส่วนต่างๆ ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทหรือ Neuron ประมาณแสนล้านเซลล์ประสาทที่เบียดอัดแน่นจนเห็นเป็นรอยหยักมากมายในกะโหลก เซลล์ประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่ส่งและประมวลข้อมูลผ่านสัญญานไฟฟ้าและเคมีในสมอง โดยเกิดการเชื่อมต่อกันอย่างมหาศาลตั้งแต่อยู่ในครรภ์และช่วงปฐมวัย ไปจนถึงอายุประมาณ 11 ขวบในเด็กผู้หญิงและอายุประมาณ 12 ปีครึ่งในเด็กผู้ชาย ทำให้เด็กในช่วงปฐมวัยเรียนรู้และจดจำเรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

หลังจากนั้น ธรรมชาติได้สร้างกระบวนการ Synaptic pruning ซึ่งเป็นกระบวนการตัดแต่งของวงจรประสาทที่ไม่ถูกใช้งาน โดยเริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 12 ปีและไปสิ้นสุดในช่วงวัยรุ่นตอนกลางคือประมาณอายุ 15 ปี  กระบวนการตัดแต่งวงจรประสาทเป็นกระบวนการช่วยจัดการข้อมูลมหาศาลที่ได้รับมาตลอดในช่วงเด็ก โดยข้อมูลที่สมองได้รับประสบการณ์มากหรือได้ใช้งาน สมองจะเก็บไว้ตอบสนองต่อสิ่งที่เราสนใจ กระตุ้นและส่งข้อมูล รวมทั้งพลังงาน ทำให้วงจรประสาทที่ทำงานในส่วนนั้นแข็งแรงขึ้น ส่วนข้อมูลใดที่ไม่ค่อยได้ใช้สมองจะทำการกำจัดทิ้งไป การตัดแต่งวงจรประสาทที่เกิดขึ้นตลอดเวลานี้ ทำให้โครงสร้างสมองของวัยรุ่นเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่เป็นเด็ก

นอกจากการตัดแต่งของวงจรประสาทดังกล่าว สมองของวัยรุ่นยังเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการคือ กระบวนการสร้างปลอกประสาท (Prefrontal Myelination) ในบริเวณสมองส่วนหน้า ที่ทำให้การสื่อนำประสาทเชื่อมโยงแต่ละเซลล์ประสาทอย่างรวดเร็ว และเชื่อมโยงสมองส่วนต่างๆได้ดีขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้จะไปสิ้นสุดในอายุราว 20-25 ปี โดยสมองจะสร้างปลอกไมอีลิน (Myeline Sheath) ในแขนงประสาทที่ส่งข้อมูลไปยังอีกเซลล์ประสาท ทำให้สัญญาณประสาทส่งผ่านไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นและต่อเนื่องกันมากขึ้น

กระบวนการทั้งสองอย่างนี้ทำให้เกิดการปรับโครงสร้าง (Remodeling) และการเชื่อมโยงของสมอง ทำให้วัยรุ่นมีความสามารถในการเรียนรู้อย่างฉับไวมากกว่าวัยอื่นๆที่ผ่านมา มีความสามารถในการคิดที่ซับซ้อนขึ้น เข้าใจเรื่องนามธรรม ทำให้มีความสามารถในการไตร่ตรองเรื่องที่ลึกซึ้งขึ้น รวมทั้งไตร่ตรองสิ่งที่ตนคิด สิ่งที่ตนรู้สึก ซึ่งวัยเด็กไม่สามารถเข้าใจได้

การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสมองในช่วงวัยรุ่น ผ่านเข้าสู่คุณภาพใหม่ ทำให้วัยรุ่นสามารถเข้าใจตนเองได้ด้วยวิธีการใหม่ๆ เกิดการแสวงหาและพยายามสร้างสรรค์หรือหาหนทางของตน อัตลักษณ์ รวมทั้งเป้าหมายของชีวิตที่ต้องการไปถึง และความหมายของการเกิดมา คำถามที่ลึกซึ้งเกิดขึ้นในชีวิตช่วงนี้ เช่น คำถามว่า  ความจริงแท้ของชีวิตคืออะไร

ในช่วงวัยประถม เด็กคิดจากสิ่งที่เป็นรูปธรรม การเรียนรู้มาจากข้อเท็จจริงหรือความเป็นจริงที่เห็นอยู่ตรงหน้า  ในวัยเด็กเป็นวัยที่รับทุกอย่างเข้ามาเป็นการเรียนรู้หรือเก็บข้อมูล เมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่นความสนใจและการใช้เวลาทำสิ่งใดมาก จะกระตุ้นวงจรสมองที่รับผิดชอบส่วนนั้นให้ทำงานมากขึ้นและแข็งแรงขึ้น เมื่อวงจรเซลล์ประสาทถูกตัดแต่ง จากเด็กที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง จะเปลี่ยนเป็นคนที่สนใจหรือเชี่ยวชาญในบางเรื่อง การตัดแต่งเซลล์ประสาท การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน เป็นปัจจัยกำหนดการทำงานของเซลล์ประสาทและจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์

จึงไม่แปลที่ชีวิตของวัยรุ่นจะดูเหมือนถูกขับเคลื่อนด้วย “พลังแห่งอารมณ์ ความรัก ความเกลียดชัง ความคลั่งไคล้อย่างเอาเป็นเอาตาย หรือหงอยเหงา” (thematter.com) และการตัดสินใจชั่ววูบ ไม่คิดหน้าคิดหลัง

แม้ว่าสมองส่วนลิมบิก ซิสเต็ม ทำให้วัยรุ่นถูกกระตุ้นจากความตื่นเต้น เสี่ยงภัยได้มากกว่าผู้ใหญ่ แต่ก็มีคุณในแง่ของความกล้าได้กล้าเสีย พร้อมออกไปเผชิญและค้นหาสิ่งใหม่ๆ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเอาตัวรอดของมนุษย์ การห้ามปรามหรือการบังคับ ห้ามทดลองไปเสียทั้งหมดนั้น ฝืนธรรมชาติของวัยรุ่น หากแต่การหนุนเสริมให้วัยรุ่นได้เรียนรู้ธรรมชาติของตน และและการได้ฝึกทักษะสมองส่วนหน้า EF มาตั้งแต่ยังเยาว์วัยอย่างต่อเนื่อง จะทำให้วัยรุ่นเรียนรู้ที่จะทำการทดลองสิ่งใหม่ๆ โดยยังมีการกำกับการคิด  อารมณ์ ความปรารถนา การกระทำเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้

การรับและประมวลข้อมูลของสมอง มีเส้นทาง 2 ทาง

ทางสายหนึ่งเป็นทางสายด่วน ที่ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าจากภายนอกเข้ามา แล้วส่งกระแสรับรู้พุ่งตรงไปที่อมิกดาลาซึ่งอยู่ตรงสมองส่วนกลาง ซึ่งโตเต็มที่ในช่วงวัยรุ่นดังได้กล่าวไปแล้ว วัยรุ่นจึงมีโอกาสอย่างมากที่จะใช้เส้นทางด่วนนี้ สิ่งที่เราจะได้เห็นคือ อาการฉุนเฉียว รุนแรงของวัยรุ่น

แต่อีกเส้นทางหนึ่ง ข้อมูลของสิ่งเร้าจากภายนอกส่งไปให้อมิกดาลาโดยใช้เวลามากกว่าเส้นทางแรก โดยข้อมูลถูกส่งไปที่สมองส่วนหน้าก่อน ด้วยกระบวนการของทักษะการคิดชั้นสูง สมองส่วนหน้าจะดึงข้อมูลจากความจำเดิม มากลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับ ไตร่ตรอง คิดเหตุคิดผลก่อนส่งสัญญาณต่อไปยังอมิกดาลา

การที่จะช่วยให้วัยรุ่นจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้นั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทักษะสมองส่วนหน้าหรือ EF (Executive Functions) ต้องได้รับการฝึกฝนตั้งแต่เด็กอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นนิสัยในการชะลอการตัดสินใจ ไม่หุนหันพลันแล่น ก็จะช่วยให้ความรุนแรงของอารมณ์ลดน้อยลงได้

สิ่งที่จะหนุนช่วยวัยรุ่นได้อีกทาง คือ การเปิดโอกาสให้วัยรุ่นสามารถพูดถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาได้ บอกได้ว่า ความรู้สึกนั้นเรียกว่าอะไร วัยรุ่นจึงจะสามารถจัดการกับอารมณ์นั้นของตนได้ ในงานวิจัยได้พบว่า การใช้คำพูดเรียกสิ่งที่เรารู้สึกภายในใจเรา ลดการสับสนและทำให้เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนง่ายขึ้น การได้เล่าออกมาและมีคนฟังอย่างตั้งใจ ทำให้สมองส่วนกลางได้รับความเติมเต็ม และเป็นการกระตุ้นให้สมองส่วนหน้าได้ทำงาน ผ่านการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น และประเมินตนเอง

 สมองเป็นตัวกำกับพฤติกรรมและนิสัย การเข้าใจสมองของวัยรุ่น ช่วยทำให้ผู้ใหญ่และวัยรุ่น ไม่ว้าวุ่น แต่กลับจะทำให้สามารถใช้ช่วงเวลาที่แสนมหัศจรรย์แห่งชีวิตนี้ เป็นฐานที่มั่นคงและสวยงาม สู่การเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ได้ดียิ่ง


อ้างอิง:

          Daniel J. Siegel,M.D.เขียน อิฏฐพร ภู่เจริญ แปล, BRAINSTORM: The Power and Purpose of the Teenage Brain (เปิดสมองวัยว้าวุ่น), สำนักพิมพ์สารคดี, กรุงเทพฯ, 1 ตค. 2559

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...