สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

โควิด-19 ระลอกใหม่ กับ EF ของคุณพ่อคุณแม่

โควิด-19 ระลอกใหม่ กับ EF ของคุณพ่อคุณแม่

สถานการณ์ในเดือนแรกของปีใหม่นี้ไม่ค่อยดีเลยนะครับ จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้หลายๆ ท่านต้องปรับตัวทำงานอยู่ที่บ้าน แถมโรงเรียนก็ยังปิดอีก ทำให้เจ้าตัวน้อย หรือเจ้าตัวยุ่งของหลายๆ ครอบครัวต้องมาเรียนที่บ้านแทน ซึ่งบางทีก็เรียนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ตั้งใจเรียนบ้าง แอบมองไปทางอื่นบ้าง หรือพยายามไปเล่นกับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังทำงานอยู่บ้าง ข้อมูลจากการสำรวจพบว่า คุณพ่อคุณแม่เกินครึ่งมีปัญหาความเครียดทั้งจากปัญหาโควิด-19 ที่กำลังระบาด ปัญหารายได้ที่ลดลง และการเรียนออนไลน์ของลูก ในสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งที่จะทำให้ทุกอย่างพอจะบรรเทาเบาบางไปได้ก็คือ EF ครับ เพียงแต่คนที่ต้องนำหลักของ EF มาใช้ในตอนนี้ ไม่ใช่แค่เด็กๆ เพียงกลุ่มเดียวแล้วครับ แต่เป็นคุณพ่อคุณแม่ด้วยครับ

ดังที่ได้เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับ EF ว่า ตัว EF มีองค์ประกอบพื้นฐานอยู่สามอัน คือ ความจำใช้งาน การยับยั้งชั่งใจ และความยืดหยุ่นในกระบวนการคิด ในสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใช้บ่อยก็คือ “ความยับยั้งชั่งใจ” ครับ เพราะบ่อยครั้งที่การทำงานที่บ้านจะไม่สะดวกเหมือนที่ทำงาน ทั้งปัญหาจากอินเตอร์เน็ต ปัญหาจากการทำงานตามลำพัง และที่สำคัญ ปัญหาจากการที่ลูกๆ มาชวนท่านเล่น ทำให้ท่านไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งต้องยอมรับว่าปัญหานี้ เป็นปัญหาที่ทุกครอบครัวต้องเจอ ตัวหมอเองก็เจอครับ และมันทำให้คุณพ่อคุณแม่เหนื่อยและมีโอกาสหลุดหรือปรี๊ด คือเผลอโวยวาย เสียงดัง กับลูกๆ ของเราได้ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องแปลก เพียงแต่พวกเรา พ่อแม่ต้องพยายาม ในการยับยั้งและควบคุมตนเอง ในการสื่อสารกับลูก ซึ่งการกำหนดช่วงเวลาให้ลูกๆ ทราบว่า ท่านจะว่างตอนกี่โมง รวมถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ทำในช่วงเวลาที่ท่านไม่สะดวก จะเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหานี้ได้ครับ

อีกองค์ประกอบหนึ่งของ EF ที่ท่านต้องใช้ในการแก้ปัญหาก็คือ “ความยืดหยุ่นในกระบวนการคิด” ครับ นั่นคือ ท่านต้องประเมินและวางแผนว่า ท่านจะให้เจ้าตัวน้อยทำอะไร ในขณะที่ท่านต้องทำงานหรือกำลังเข้าประชุมอยู่ โดยที่กิจกรรมนั้น เด็กสามารถทำได้เองและไม่มารบกวนท่าน แต่กิจกรรมดังกล่าวต้องไม่ใช่การเปิดโทรทัศน์หรือโทรศัพท์มือถือให้เด็กดูนะครับ เพราะเด็กเล็กไม่ควรใช้อุปกรณ์เหล่านี้ หรือในกรณีเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย อาจจะใช้ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของท่านเสมอครับ กิจกรรมหนึ่งที่หมอใช้แล้วได้ผล ก็คือ การให้เด็กๆ ระบายสี โดยใช้สีน้ำครับ หมอพบว่าเด็กส่วนใหญ่มักจะสนุกกับการผสมสี และระบายสีได้ค่อนข้างนาน จึงเป็นช่วงที่ท่านพอจะได้ทำงานหรือปลีกตัวไปพักได้บ้างครับ

สุดท้ายนี้ หมอหวังว่าทุกท่านจะนำหลักการของ EF ไปใช้ในการแก้ปัญหานี้ได้สำเร็จนะครับ รวมถึงมีพลังในการสู้กับสถานการณ์ที่ลำบากนี้ไปด้วยกันนะครับ

รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์
กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาศักยภาพสมองเด็ก สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

Related Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

74,430แฟนคลับชอบ
- โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่” -
- EF Development Tools -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...