สอบถามการใช้งานระบบ?

(02)913 - 7555 กด 4104

ฝ่ายบริการสมาชิกเว็บไซต์

หน้าแรก แท็ก ลูกประสบความสำเร็จ

Tag: ลูกประสบความสำเร็จ

ความจำเพื่อใช้งาน” คืออะไร?

ทำไมต้อง EF (Executive Function) Working Memory (ความจำเพื่อใช้งาน) คือ อะไรสำคัญแค่ไหนกับชีวิตของเรา ความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่จำข้อมูล จัดระบบแล้วเก็บรักษาข้อมูลไว้ในคลังสมอง เมื่อถึงเวลาที่เราต้องการใช้งาน สามารถนำข้อมูลในสมองออกมาใช้งานได้อัตโนมัติ เป็นความจำที่เรียกข้อมูลกลับมาเพื่อใช้อย่างถูกที่ถูกเวลา วันทั้งวันเราต้องใช้ Working Memory อยู่ตลอดเวลา มันช่วยให้เราจำได้เมื่อลืมตาตื่นว่า เช้านี้จะต้องทำอะไรบ้าง เมนูอาหารเช้าที่เคยทำ ทำอย่างไร...

ทำไมเราต้องฝึกยืดหยุ่นความคิดมันสำคัญต่อชีวิตอย่างไร?

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าลูกเรา”หัวสี่เหลี่ยม” ไม่รู้จักการยืดหยุ่นพลิกแพลง การยืดหยุ่นความคิด (Shifting/Cognitive Flexibility) เป็น 'ทักษะสมอง' EF ที่ว่าด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนจุดสนใจ เปลี่ยนโฟกัสหรือเปลี่ยนทิศทางไปตามที่ตนต้องการ หรือไปตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยน คนที่สมองไม่มีทักษะยืดหยุ่น มักมีปัญหาในเรื่องการปรับตัว ทุกข์ง่าย อึดอัดคับข้องเพราะติดอยู่กับสิ่งเดิมๆ เรื่องเดิมๆ พลิกแพลงไม่เป็น คิดว่าโลกนี้มีทางออกแค่ทางเดียว ถ้าจะเปรียบ Shift/Cognitive Flexibility หรือการยืดหยุ่นความคิด ก็เสมือนการ “เปลี่ยนเกียร์” เวลาที่ขับรถ เราขับมาด้วยความเร็ว...

ริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คืออะไร สำคัญตรงไหน

EF ด้านการริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อชีวิต Initiating (การริเริ่มและลงมือทำ) เป็น ‘ทักษะสมอง’ EF ที่ว่าด้วยการ “ริ” ทำเรื่องใหม่ๆ ที่ควรทำ และลงมือทำสิ่งที่ “ริ” ให้เกิดผลโดยไม่รีรอ ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบอย่างไรก็ตาม ในชีวิตจริง คนเราทุกคนมีทั้งเรื่องที่เราชอบทำ-ไม่ชอบทำ อยากทำ-ไม่อยากทำ แต่เราก็รู้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างนั้นเลี่ยงไม่ได้ เพราะถ้าไม่ทำ เราก็ไม่สามารถที่จะเติบโตต่อไปได้อย่างเหมาะสม แต่การจะเป็นคนที่มี...

Plan and Organize จึงส่งผลต่อความสำเร็จของชีวิต

ทำเป็น ต้องได้ฝึกฝนเรื่องการวางแผนและจัดระบบมาตั้งแต่เด็ก ทุกวันในชีวิตเราต้องมีการวางแผนและจัดการเรื่องต่างๆ ตลอดทั้งวัน ตั้งแต่เรื่องเล็กจนถึงเรื่องใหญ่ Planning คือ การวางแผนวางกระบวนการขั้นตอนที่จะไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมองเห็นภาพรวม แล้วนำเอาส่วนประกอบสำคัญต่างๆ มาเชื่อมต่อกัน มีการจัดลำดับความสำคัญแยกแยะทำก่อน-หลัง จัดทำตารางเวลาการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อใช้แผนเป็นเครื่องมือกำกับการทำงานไปจนถึงความสำเร็จที่ตั้งไว้ คนที่วางแผนเก่ง มักจะเป็นคนที่มองภาพรวมได้ดี เห็นรายละเอียดแต่ละช่วงแต่ละขั้นตอน และเป็นคนที่สามารถมองไปข้างหน้าได้ สามารถคาดการณ์ในอนาคตได้ หากมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาก็สามารถวางแผนที่จะรับมือป้องกันล่วงหน้าได้ Organizing คือ ความสามารถในการจัดระบบให้ดำเนินการตามแผนการที่วางไว้ ตั้งแต่การแตกเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นขั้นตอนย่อยๆ จัดกระบวนการต่าง เช่น ระบบเวลา...

พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยการอ่าน

หลายปีที่ผ่านมาสังคมไทยเราพูดกันมาก ถึงการเตรียมความพร้อมเด็กไทยสู่โลกศตวรรษที่ 21 ด้วยสถานการณ์ทุกแง่มุมในปัจจุบันต่างชี้ไปในทิศทางที่บอกเราว่าโลกข้างหน้านั้น “อยู่ยาก” ท้าทาย อัดแน่นไปด้วยข้อมูลมหาศาล หากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความรู้หาได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส คนรู้มากที่สุดจะไม่ใช่คนที่เก่งที่สุดอีกต่อไปความพยายามในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กไทยก็พูด และแก้กันอย่างหนักมาโดยตลอด แต่สภาวะความเป็นจริงของเด็กไทยวันนี้ก็ยังสาหัส นี่ยังไม่นับประเด็นที่ประเทศไทยเรานั้นกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบในปี 2573 เด็กไทยของเราที่จะเติบโตเป็นพลเมืองรุ่นใหม่จะต้องแบกรับภาระหนักกว่าคนรุ่นพ่อแม่เป็นเท่าตัว ประเทศไทยวันนี้จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาเด็กๆของเรา เพื่อสร้าง “คนคุณภาพ” ที่ไม่ใช่แค่ผู้มีความรู้มากเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นผู้มีทักษะความคิด ความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตของตนเอง ไม่ตกเป็นเหยื่อของกระแสสังคมที่คงจะเชี่ยวกรากกว่าทุกวันนี้ไปให้ได้ดาวน์โหลดเอกสาร คลิก

Stay Connected

22,878แฟนคลับชอบ
2,506ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -

Latest Articles

นางกษมน มังคละคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อ จ.สกลนคร

โรงเรียนบ้านกลางนาเดื่อเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ผอ.กษมน ได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่องEF จากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แล้วศึกษาเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตและเข้าอบรมกับสถาบันRLG เมื่อเดือนเมษายน 2564 โดยให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนเข้ารับการอบรมด้วย ซึ่งเป็นครูที่จบเอกปฐมวัยมาโดยตรง และมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เมื่อตระหนักถึงความสำคัญของ EF ตรงกัน ผอ.กษมนจึงให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้ครูปฐมวัยได้จัดการเรียนการสอนส่งเสริม EF โดยไม่ได้รอความเห็นชอบจากศน.เขตพื้นที่ฯ เพราะเห็นว่า EF เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับหลักการศึกษาปฐมวัยอยู่แล้ว สามารถบูรณาการไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ...

นางเปรมศิริ เนื้อเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบ้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย  จ.เพชรบุรี

ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา...

นายทวิต ราษี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูล จ.สุโขทัย

ผอ.ทวิต ราษี มีประสบการณ์บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับชั้นปฐมวัยมานานโดยมีความตั้งใจในการพัฒนาอนุบาลให้มีคุณภาพเพราะเป็นการสร้างรากฐานให้เด็กไปจนโต และมีความสนใจในเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อเข้าร่วมอบรมเรื่อง EF จากสถาบัน RLG ก็ได้เข้าใจว่าพัฒนาการของเด็กนั้นเกิดจากการทำงานของสมอง และยังเห็นว่าเรื่อง EF มีความสอดคล้องกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียนบ้านป้อมประชานุกูลดำเนินการอยู่ จึงสนใจที่จะขับเคลื่อนความรู้ EF ในโรงเรียน(ที่เพิ่งเข้ามาบริหาร) ผอ.ทวิตนำความรู้ EF มาถ่ายทอดแก่ครู ให้ครูนำความรู้ EF บูรณาการกับโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน เพียงครูเปลี่ยนวิธีการ ไม่ใช่ครูสั่งให้เด็กทำ แต่ให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเอง...

นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข...

นายจรูญ น้อยสำราญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบอน จ.ตราด

โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล...