นายสวัสดิ์ เมฆสุนทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์ จ.นครราชสีมา 

ผอ.สวัสดิ์ได้รับการแนะนำจากอาจารย์วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้รู้จัก EF รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง EF ในการประชุมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง(TSQP)อยู่เสมอ และเข้ารับการอบรมกับสถาบัน RLG เพิ่มเติม  แล้วเห็นว่า EF เป็นความรู้พื้นฐานหรือความรู้ปฐมบทที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ว่าสถานะใดควรต้องรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองชนชั้นกลางขึ้นไปที่มีความรู้ หรือเป็นความรู้ในหมู่ครูอาจารย์หรือแพทย์เท่านั้น  ครอบครัวที่ด้อยโอกาสก็ควรต้องรู้ สรุปคือสังคมไทยควรต้องเรียนรู้เรื่อง EF เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันจึงสนับสนุนให้ครูปฐมวัยในโรงเรียนได้รับการอบรม EF จากสถาบัน RLG และดำเนินการปรับสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กได้เล่นอิสระอย่างปลอดภัยและมีความสุข ท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่น เป็นสิ่งแวดล้อมที่จะพัฒนาทักษะ EF ให้เด็กนักเรียน ขณะนี้ผอ.สวัสดิ์ได้นำเสนอกสศ.ทำโครงการวิจัยในเด็กปฐมวัยและประถม 2-3เรื่องการพัฒนาทักษะสมอง EF ในสถานการณ์โควิดโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้จิตปัญญาศึกษา Child-Based Learning รวมทั้งจะร่วมกับศึกษานิเทศน์ขยายความรู้ EF ให้ครูทั้งโรงเรียน

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • สนับสนุนให้ครูปฐมวัยโรงเรียนบ้านหนองโพธิ์เข้าอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG
  • สนับสนุนให้ครูปฐมวัยใช้ความรู้ EF จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริม EF ให้เด็ก
  • ดำเนินการปรับปรุงสนามเด็กเล่นของโรงเรียนเพื่อให้เด็กนักเรียนได้เล่นอิสระอย่างมีความสุขและปลอดภัยเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

  • สื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายจิตศึกษา โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
  • ประสานกับศน.พื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5 ในการให้ความรู้ EF แก่ครูทั้งโรงเรียน

การติดตามนิเทศ coaching

ติดตาม สนับสนุน ให้คำแนะนำในการจัดการเรียนการสอนของครูปฐมวัย

การต่อยอดนวัตกรรม วิจัย

  • เสนอโครงการวิจัยต่อกสศ.เมื่อเดือนตุลาคม 2564  เรื่อง “การพัฒนาทักษะสมอง EF ในสถานการณ์โควิดโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้จิตศึกษา Child-Based Learning ในเด็กปฐมวัยและประถม 2-3”
  • จะร่วมกับศน.ขยายความรู้เรื่อง EF สู่ครูทั้งโรงเรียน ผ่านการประชุมการจัดการเรียน On hand- Online

การแก้ปัญหา

การนำความรู้ EF สู่ครูเพื่อให้เกิดการปฏิบัติในชั้นเรียนทั้งโรงเรียนยังทำได้ยากหากไม่ใช่นโยบายที่มาจากกระทรวงฯ  แต่ถ้าศน.ร่วมให้ข้อมูล แนะนำ ครูจะเชื่อถือเพราะศน.เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิชาการ รวมทั้งพัฒนาร่วมไปกับโรงเรียนเครือข่าย ก็จะทำให้ครูเกิดความเชื่อมั่น เห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม นำความรู้ EF ไปสู่การปฏิบัติได้

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

ครูปฐมวัยมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กมากขึ้น พูดจาอ่อนโยนมากขึ้น